xs
xsm
sm
md
lg

“ทนายนกเขา” ยื่น กมธ.สิทธิฯ สอบ 17 ปมสงสัย คดีแตงโม จี้รื้อ พ.ร.บ.ตำรวจฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ทนายนกเขา” บุกสภา ยื่น กมธ.สิทธิฯ ร้องตรวจสอบ 17 ปมสงสัย คดีแตงโม พร้อมเรียกร้องปฎิรูป พ.ร.บ.ตำรวจในด้านนิติวิทยาศาสตร์
วันนี้ (28 มี.ค.) ที่รัฐสภา กลุ่มประชาชนคนไทย นำโดย นายนิติธร ล้ำเหลือ และ นายพิชิต ชัยมงคล พร้อมคณะ เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เพื่อขอให้พิจารณาดำเนินการสอบหาข้อเท็จจริงต่อกรณีการเสียชีวิตของนางสาวภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ และขอให้แก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พร้อมเร่งรัดติดตามการแก้ไข พ.ร.บ.การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559 เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

นายนิติธร กล่าวว่า สำหรับการเข้ามายื่นเรื่องวันนี้เนื่องจากส่วนตัวได้ติดตามการทำงานของ กมธ. และพบว่า มีกระเเสข่าวจากหลายส่วนมองว่าการทำหน้าที่ของ กมธ. เองเป็นการแทรกแซงการทำงานของหน่วยงานอื่น ซึ่งตนมองว่าไม่ใช่ จึงอยากจะเข้ามายื่นเรื่องให้กับทาง กมธ. ได้เดินหน้าจรวจสอบใน 2 ประเด็น

ประเด็นแรก เป็นเรื่องของการตรวจสอบค้นหาความจริงโดยละเอียด ตามอำนาจหน้าที่และที่กฎหมายกำหนดไว้ ในกรณีการเสียชีวิตของ “แตงโม นิดา” โดยจะต้องมีการตรวจสอบในส่วนของพยานหลักฐานที่ละเอียดทุกประเภท ทั้งที่ปรากฏในสำนวนสอบสวน และที่ปรากฏตามที่อื่นๆ รวมถึงเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริง และดำเนินการตามอำนาจของ กมธ.

โดยมีการตั้งข้อสงสัยในจำนวน 17 ประเด็น คือ

1. การเสียชีวิตดังกล่าวเป็นการตายโดยผิดธรรมชาติ

2. การกระทำใดใดอันมีผลการกระทำตามความผิดประมวลกฎหมายอาญาย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล ถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

3. ภายหลังเกิดเหตุการณ์ มีการแจ้งไปยังกู้ภัยจริง แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นเวลาที่เกิดเหตุจริง

4. หลังเกิดเหตุการณ์บุคคลที่อยู่ในเรือกลับไม่แจ้งความให้ข้อมูลต่อพนักงานสอบสวนโดยทันทีมองกรณีดังกล่าวเป็นการจงใจหลบหนี

5. การเปลี่ยนสถานที่ชันสูตรโดยกะทันหัน รวมถึงการให้ดำเนินการเอาศพมาที่ สภ.เมืองนนทบุรี มีข้อสงสัย

6. การควบรวมอายัดตรวจสอบพยานหลักฐานตั้งแต่เริ่มต้น ไม่เป็นไปอย่างรวดเร็ว อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของพยานหลักฐาน

7. มีความล่าช้าในการดำเนินคดีเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยในเรื่องของการตรวจสภาพร่างกาย เครื่องแต่งกายหรือร่องรอยอื่นๆ รวมถึงการปวดของสารเสพติด

8. มองการสืบสวนสอบสวนครั้งแรกเป็นการตั้งประเด็นประมาท หรือตึกอุบัติเหตุซึ่งค่อนข้างเป็นการตั้งประเด็นคับแคบ

9. ยังไม่มีข้อมูลปรากฏชัดเจนว่าผู้เสียชีวิตตกน้ำและอย่างไรและทำไมถึงช่วยเหลือ

10. ไม่ทราบว่าผู้ตาย ตอนที่ตกน้ำมีสติหรือไม่

11. ไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่เองได้มีการตรวจสอบพื้นดินบริเวณที่มีอ้างว่าคุณแตงโมตกน้ำหรือบริเวณที่พบศพหรือไม่

12. การตรวจโรงเก็บเรือมีการตรวจโดยละเอียดหรือไม่หรือมีการเคลื่อนย้าย ถอดถอนกล้องวงจรปิดหรือไม่

13. การตรวจสอบเกี่ยวกับเครื่องมือสื่อสารของบุคคลที่เกี่ยวข้องมีการตรวจอย่างละเอียดและครบหรือไม่ มีการนำเครื่องมือสื่อสารเครื่องอื่นๆ ที่ไม่เปิดเผยอยู่ในข่วงนั้นหรือไม่

14. ประเด็นเรื่องการอายัดเรือในประเภทและลักษณะเดียวกับลำที่เกิดเหตุ ตอนนี้มาการอายัดหรือไม่และตรวจสอบรวบรวมหรือไม่

15. มองว่า การสืบสวนโดยพนักงานสืบสวนสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่กำลังดำเนินการอยู่ตอนนี้ คล้ายว่าไม่ได้เป็นการค้นหาความจริงจามที่สังคมเครือบแคลงใจ จนยากที่สังคมจะเชื่อมั่นและยอมรับ

16. จากข้อมูลข้างต้น ความเห็นส่วนตัวมองว่ากรณีพบผู้เสียชีวิตภายในน้ำทางเจ้าหน้าที่ควรจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่า การจมน้ำอาจจะไม่ใช่สาเหตุการเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว ตลอดจนไม่ควรคิดว่าจุดที่พบศพคือจุดที่เกิดเหตุเสมอไป

17. กรณีที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้ประกอบกันหลายๆ ด้าน จะอาศัยเพียงเเพทย์อย่างเดียวคงไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์พยานหลักฐาน ดังนั้น กมธ.เองควรเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่มีความเป็นกลางและอิสระมาให้ข้อมูล เพื่อจะได้นำข้อมูลมาควบคู่ขนานในการพิจารณาคดี

นายนิติธร กล่าวต่อว่า จากประสบการณ์การทำคดีวิสามัญฆาตกรรม การซ้อมทรมานด้านสิทธิมนุษยชน ค่อนข้างมั่นใจว่า บนร่างของคุณแตงโม ดูจากสภาพด้านหน้า น่าจะมีบาดแผลด้านหลังด้วย แต่ไม่มั่นใจว่าเป็นบริเวณใด ซึ่งเป็นเรื่องที่พนักงานสืบสวนสอบสวนสามารถเปิดเผยให้ประชาชนทราบได้ ไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อคดีใดๆ แต่จะทำให้ประชาชนติดตามคดีได้ และสามารถช่วยหาร่องรอยของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การดำเนินการทุกอย่างไม่จำเป็นจะต้องเป็นความลับทุกอย่าง อีกทั้งการที่กรรมาธิการลงพื้นที่ตรวจสอบเรือที่เกิดเหตุก็จำเป็นจะต้องตรวจสอบได้อย่างใกล้ชิด และตำรวจต้องทำให้อย่างโปร่งใส เพราะสังคมเองยังคาใจอยู่หลายเรื่อง และอยากให้กรรมาธิการได้เชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเป็นคณะทำงาน เพราะการอาศัยแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจตอบคำถามได้ไม่หมด โดยเฉพาะเรื่องเรือที่ต้องอาศัยผู้ชำนาญการ

ด้าน นายสมชาย แสวงการ ส.ว. ในฐานะประธาน กมธ.สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่าจะพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ต่อไปหลังจากนี้ โดยอาจจะมีการนำเรื่องเข้าที่ประชุมทันทีในช่วงบ่ายของวันนี้ด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น