xs
xsm
sm
md
lg

ราชกิจจาฯ ออกประกาศ 6 ข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินเดินทางเข้าไทยสกัด"โอมิครอน"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 6 ข้อ การเดินทางเข้าไทย ป้องกันเชื้อโควิดโอมิครอน มี ผล 1 ก.พ.2565

วันนี้ (29 ม.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 4/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 22)

ประกาศฉบับดังกล่าว ระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 กำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสอดรับกับนโยบายการเปิดประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล และออกคำสั่งเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่นำไปดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด

โดยมีคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 25/2564

เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2564 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 2/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564 นั้น

โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลกเนื่องจากปรากฏกรณีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างไรก็ดี ด้วยพบว่า ไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอน ไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดอาการป่วยที่รุนแรง และจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มีจำนวนลดลงตามลำดับ

จึงเห็นควรปรับมาตรการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจควบคู่กับความมั่นคงด้านสาธารณสุข เพื่อให้การดำเนินการตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว












กำลังโหลดความคิดเห็น