“ประยุทธ์” แถลงผลการเยือนซาอุฯ เป็นจุดเริ่มต้นฟื้นความสัมพันธ์กว่า 30 ปี ของสองประเทศ เตรียมตั้งเอกอัครราชทูต จัดตั้งกลไกทวิภาคีหารือในทุกมิติ ทั้งการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ เดินหน้าส่งแรงงานไทยสู่ซาอุฯในภาคก่อสร้าง
วันนี้ (26 ม.ค.) ภายหลังที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 25 มกราคม 2565 ตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบีย/ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนซาอุดีอาระเบีย ว่า ซึ่งเป็นการเยือนในระดับผู้นำรัฐบาลระหว่างสองประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี ตนเองได้เข้าเฝ้าฯ และได้หารือกับ คณะรัฐมนตรี หลายคน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะปรับสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและซาอุฯ ให็เป็นปกติอย่างสมบูรณ์แล้ว และพร้อมที่จะเปิดศักราชใหม่ ของความสัมพันธ์ ระหว่างกันต่อจากนี้ไป สืบเนื่องจากความพยายามในในหลายระดับของทั้งสองฝ่ายในช่วงหลายปีและได้มีการหารือดำเนินความความสัมพันธ์ตั้งแต่บัดนี้ โดยระยะแรกจะแต่งตั้งเอกอัครราชทูต และจัดตั้งกลไกลการทวิภาคี เพื่อจะรื้อฟื้นตกลงความร่วมมือในมิติต่างๆเพื่อเป็นผลประโยชน์ร่วมมือกันของทั้งสองประเทศ อาทิ การค้าการลงทุน ความมั่นคง ด้านอาหาร ด้านพลังงาน ด้านสาธารณสุขและการท่องเที่ยวร่วมทั้งแสวงหาร่วมมือใหม่ๆ ที่ต่างมีศักยภาพ อาทิ สิ่งแวดล้อม พลังงานหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยืนยันจะร่วมมือกันและสนับสนุนกันในกรอบหพุภาคีต่างๆ อาทิ โอไอซี อาเซียน จีซีซี รวมถึงการเป็นเจ้าภาพเอเปกของไทยในปีนี้ด้วย
สำหรับการเดินทางมาเยือนในครั้งนี้ ตนเองได้มีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเดินทางมาด้วย ติดตามผลักดันให้เกิดความร่วมมือในด้านที่เกี่วข้องต่อไป แฃะทั้งสองฝ่ายได้เริ่มหารือกันแล้ว
โอกาสนี้ กำลังหารือจัดหากลไกการตั้งทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ วางแผนกำหนดความเร่งด่วน จัดทำแผนแม่บท ไทม์ไลน์ กำหนดสาขาความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศอย่างเป็นระบบ ให้มีกลไกในการติดตามและประเมินผลงาน ให้เป็นรูปธรรม ขณะที่การหารือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับการอนุญาติแรงงงานไทยกลับมาทำงานที่ซาอุฯและการส่งเสริมฝีมือเฉพาะทางของไทย คาดว่า จะทำได้เร็วขึ้น
นายกฯย้ำกับประชาชนคนไทย ว่า วันนี้เป็นวันประวัติศาสตร์ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับซาอุฯ จะเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ ทั้งมิติการเมือง ความมั่นคง ความปลอดภัย เศรษฐกิจ สังคม ทั้งสองประเทศจะช่วยกันสนับสนุนเป้าหมาย ในการพัฒนาของกันและะกัน โดยเฉพาะว่าระเศรษฐกิจ BCG ของไทยที่เป็นวาระแห่งชาติ ไปแล้ว และวิสัยทัศน์ซาอุฯ ค.ศ. 2030 ซึ่งมีความประสานสอดคล้องกันอยู่แล้ว
พลเอก ประยุทธ์ ยังชี้ว่า การฟื้นฟูความสัมพันธ์ครั้งนี้ ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของทั้งสองประเทศ ทั้งด้านการค้า การลงทุนของสองประเทศ ซึ่งซาอุฯถือเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในกลุ่มอาหรับ โดยเฉพาะการเสริมสร้างประวัติของไทยในฐานะครัวโลก เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของซาอุฯ และในฐานะศูนย์กลางทางการแพทย์ และการท่องเที่ยวของไทย ต่างฝ่ายคาดหวังจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ไทยจะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 5 พันล้านบาท อีกทั้งจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของไทย ที่ไทยกำลังประสบปัญหาอยู่พอสมควร ซึ่งซาอุฯถือเป็นประเทศส่งออกน้ำมันในระดับต้นๆ จึงหารือเรื่องพลังงานหมุนเวียน การลงทุนอีกจำนวนมาก
สำหรับการเดินทางในช่วงสถานการณ์โควิด หากปฏิบัตามมาตรการสาธารณสุข ก็จะทำให้การเดินทางกลับมาสู่ปกติ สามารถรื้อฟื้นการกลับเข้ามาของแรงงานไทย ในซาอุฯที่มีฝีมือ แรงงานบริการ แรงงานเฉพาะทางของไทย ซึ่งเดิมมีแรงงานเดินทางมาทำงานที่ซาอุฯกว่า 3 แสนราย และสร้างรายได้ส่งกลับประเทศไทยมากกว่า 9 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งทางมกุฎราชกุมารฯ ทรงพูดว่าทางซาอุฯจะมีการก่อสร้างอีกมากมาย ทั้งห้องพักล้านห้อง ยินดีที่จะรับแรงงานจากประเทศไทย และก่อนเดินทางกลับไทย ได้พบปะสอบถามความเป็นอยู่ของชุมชนไทยในซาอุฯ ยืนยันว่า รัฐบาลไทยจะดูแลคนไทยในที่นี้เป็นอย่างดีอย่างเช่นที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายต้องดูแลซึ่งกันและกัน และพบปะนักศึกษาไทยต่อไป
ท้ายสุด นายกฯแสดงความยินดีกับการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ ครั้งนี้ และการเยือนครั้งนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้น ในการแสวงหาความร่วมมือต่อจากนี้ และทั้งสองประเทศได้ประโยชน์