xs
xsm
sm
md
lg

พม. ผุดศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ตั้งเป้าขยายผล 224 ศูนย์ทุกเรื่องจบที่ตำบล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

พม. บูมขอนแก่นผุดศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ตั้งเป้าขยายผลผุด 224 ศูนย์ทุกเรื่องจบที่ตำบลตามนโยบาย”จุติ” มอบ พอข.หนุนภารกิจเต็มอัตราศึก

เมื่อวันที่ 14 ม.ค.ที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)ขอนแก่น ภายในศากลางจังหวัดขอนแก่น นายสุพัฒน์ จันทนา ผอ.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์การชุมชน (ผช.ผอ.พอช.)และโฆษกพอช.ร่วมประชุมหารือแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ “ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล” ร่วมกับทีม one Home 13 หน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)โดยมีนายศุภวัฒน์ หนูพริก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่นเป็นประธานการประชุม ตามนโยบายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และนางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ เพื่อให้ศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมตำบลเป็นหน่วยบริการและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในระดับพื้นที่ทุกเรื่องครบจบที่ตำบล ตามภารกิจของกระทรวงฯ

ทั้งนี้จังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมจังหวัดเต็มพื้นที่ที่มีเป้าหมายจะดำเนินการให้ได้เต็มพื้นที่ภายในปี 2565 จำนวน 224 ศูนย์ โดยในปัจจุบันมีการดำเนินการขับเคลื่อนไปแล้วจำนวน 10 ศูนย์ประกอบไปด้วยตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ ตำบลโจดหนองแก อำเภอพล ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ ตำบลวังเพิ่ม อำเภอสีชมพู ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง ตำบลกระนวน อำเภอกระนวน และตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี

สำหรับการขับเคลื่อนในแนวทางจัดกระบวนการเรียนรู้ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล จำนวน 5 ตำบลประกอบด้วย ตำบลกระนวน อำเภอกระนวน ตำบลนาหนองทุม อำเภอชุมแพ ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคิรี และตำบลโจดหนองแก อำเภอพล เพื่อดำเนินการจัดการขับเคลื่อนและสร้างการเรียนรู้อย่างเข้มข้นในพื้นที่กำหนด และเชื่อมโยงการเรียนรู้ กับศูนย์การเรียนรู้ที่กำหนด และสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะดำเนินการขยายในศูนย์ จำนวน 224 ศูนย์ ต่อไป ทั้งนี้มอบหมายให้หน่วยงานสังกัด พม.ในพื้นที่ ร่วมกันยกร่างงานวิจัยท้องถิ่นมาประกอบในการสนับสนุนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ มอบให้ พอช.ไปยกร่างกระบวนการในรายละเอียดเพื่อมาหารือกับทีม One Home ในการขับเคลื่อนร่วมกันให้ครบตามแผนงานต่อไป.


กำลังโหลดความคิดเห็น