xs
xsm
sm
md
lg

ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่ง ศบค.ระงับลงทะเบียนเข้าไทย ยกเว้นพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ นักท่องเที่ยวตรวจ RT-PCR 2 ครั้ง ออกประกาศ 6 ข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รับมือโอมิครอน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่ง ศบค. ประกาศมาตรการคุมโรค ระงับลงทะเบียนเข้าราชอาณาจักร ยกเว้นภูเก็ตและพื้นที่แซนด์บ็อกซ์อีก 3 จังหวัด เตรียมความพร้อมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน รองรับช่วยเหลือประชาชน ปรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศตรวจ RT-PCR 2 ครั้ง พร้อมออกประกาศ 6 ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินรับมือสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และ โอมิครอนระลอกใหม่ปี 2565
วันนี้ (8 ม.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 2/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 21) ระบุว่า

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564

กําหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบาดและสอดรับนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจของรัฐบาล และออกคําสั่งเพื่อกําหนดแนวปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่นําไปดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด

โดยมีคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 25/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2564 นั้น

โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหลายประเทศทั่วโลก ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากปรากฏกรณีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายได้เร็วและมีโอกาสทําให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่า สายพันธุ์อื่นๆ

ขณะที่ประเทศไทยเริ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวมากขึ้นเป็นลําดับ เพื่อให้การดําเนินการตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว

และตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์

อาศัยอํานาจตามความ ในข้อ 4 (2) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับการปฏิบัติงาน หัวหน้า ผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จึงมีคําสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการให้เป็นไปตาม มาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้คําสั่งระงับการรับลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ยกเว้นกรณีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตประเภท (2) ที่เดินทางเข้ามา ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และการปรับมาตรการป้องกันโรค สําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ประเภท (1) และ (2) ของข้อ 1 ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 24/2564

เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความ ในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564ตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 25/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความ ในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ข้อ 2 ให้รับการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ประเภท (2) ของข้อ 1 ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความ ในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย) ซึ่งได้กําหนดเป็นพื้นที่นําร่อง ด้านการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ปรับมาตรการป้องกันโรคสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (2) ของข้อ 1 ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564

เฉพาะที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย) ให้มีหลักฐานหรือเอกสารที่ใช้ ในการเดินทางเข้าราชอาณาจักร และให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCB จํานวน 2 ครั้ง ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

(1) ให้มีหลักฐานการชําระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกําหนดเมื่อผู้เดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักร อย่างน้อย 7 วัน และค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT - PCR จํานวน 2 ครั้ง ทั้งนี้ ต้องเป็นโรงแรมหรือสถานที่พักที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกําหนด หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ ทางราชการกําหนด ได้แก่ สถานที่ที่ผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันซึ่งได้ขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงสาธารณสุข

หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณีอนุมัติและตรวจสอบ และให้บังคับใช้เงื่อนไขนี้ กับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรที่แม้จะมีสถานที่พํานักอยู่ในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวด้วย

(2) ให้มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้เดินทางระหว่างวันที่ 5-6 ของระยะเวลาที่พํานักอยู่ในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว หรือเมื่อมีอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่ทางราชการกําหนด

ข้อ 4 สําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (3) (4) (5) และ (6) ของข้อ 1 ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ให้ปฏิบัติตามคําสั่งที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้โดยเคร่งครัด

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น

นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระรำชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 41) ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565 นั้น

โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบำดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหลายประเทศทั่วโลก ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากปรากฏกรณีไวรัสโคโรนำ 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron ) ที่สามารถแพร่กระจายได้เร็วและมีโอกำสทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่า สายพันธุ์อื่นๆ

ขณะที่ประเทศไทยเริ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวมากขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่า จะได้มีการฉีดวัคซีนครอบคลุมกลุ่มประชากรในประเทศเป็นจำนวนมำกแล้วก็ตาม แต่สัดส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) ยังมีจำนวนไม่มากพอและอาจเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคง ของระบบสาธารณสุขหากเกิดการระบาดรุนแรงมากขึ้น
รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุข ที่ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุกำรณ์ดังกล่าว โดยการปรับพื้นที่สถานการณ์ และปรับปรุงมาตรการป้องกัน และควบคุมโรคเพิ่มเติมจากข้อกำหนดและคำสั่งที่ได้ประกำศไว้ก่อนหน้ำ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกำหนดพื้นที่นำร่อง ด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคำสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตำมเขตพื้นที่สถานการณ์ โดยให้ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นพื้นที่ควบคุม ยกเว้นพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามบัญชี รายชื่อจังหวัดแนบท้ำยคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบำดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยให้นำ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่สถานการรณ์ระดับต่างๆ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้

ข้อ 2 การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการควบคุม แบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ รวมทั้งมาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรม การรวมกลุ่มของบุคคลที่สามารถจัดได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต การปฏิบัติงานนอกสถานที่ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ มาตรการควบคุม แบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่อง ด้ำนการท่องเที่ยว รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้ำหน้าที่ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป ในส่วนของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงาน ของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาเพื่อดำเนินมาตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ นอกสถานที่ตั้งหน่วยงานหรือสถานประกอบการ (Work From Home) ตามความเหมาะสมเพื่อการ เฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรค โดยให้ดำเนินมาตรการนี้ต่อเนื่องไป จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565

ข้อ 3 การปรับปรุงมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว สำหรับพื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ เพื่อการเปิดสถานที่ กิจการ และกิจกรรมสำหรับพื้นที่สถานการณ์ที่จำแนกเป็นเขตพื้นที่เฝ้ำระวัง ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 6 (5) และข้อ 8 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 การบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว จะเปิดให้บริการได้เฉพาะร้านที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐาน ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในระดับ SHA PLUS ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID-19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop Covid 2 Plus) ของกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยแล้วเท่านั้น และให้บริการ บริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกินเวลา 21.00 นาฬิกา ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณากำหนดมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ในแต่ละพื้นที่

ข้อ 4 การเตรียมความพร้อมของสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร สถำนบริการ สถำนประกอบกำรที่มีลักษณะคล้ำยสถำนบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกันทั่วราชอาณาจักรยังคงมีความจำเป็นให้ปิดดำเนินการไว้ก่อน หากผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่ตำมวรรคหนึ่งได้มีการเตรียมความพร้อม เพื่อปฏิบัติตามมาตรการด้านสำธำรณสุขแล้ว และประสงค์จะปรับรูปแบบของสถานที่ดังกล่าวเพื่อการ ให้บริการในลักษณะที่เป็นร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม จะต้องได้รับการตรวจสอบและประเมิน ควำมพร้อมของสถานที่ บุคลากร และการจัดการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่กำหนด และต้องได้รับอนุญำตจำกคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมกำรโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565 ก่อนเปิดให้บริการได้ภายใต้การกำกับติดตาม ของพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด การให้บริการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในสถานที่ตำมวรรคหนึ่งที่ได้ปรับรูปแบบ เป็นร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวจะต้องดำเนินการ ตามมาตรการที่กำหนดไว้ในข้อ 3 ด้วย

ข้อ 5 การปรับแนวปฏิบัติเพื่อการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคส าหรับผู้เดินทาง เข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคำสั่งเพื่อปรับปรุงหรือเพิ่มเติมแนวปฏิบัติเพื่อให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงำนเจ้าหน้าที่ดำเนินกำรให้เป็นไปตำมมาตรการ ป้องกันโรคที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาด จากที่ได้ประกาศไว้ในคำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 25/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ข้อ 6 การยกระดับการปฏิบัติงานเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด ด้วยการประเมินสถานการณ์แพร่ระบาดที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และทุกหน่วยงานยกระดับการปฏิบัติงานตามที่ได้มีคำสั่งมอบภารกิจไว้แล้วในคำสั่งศูนย์บริหำรสถานการณ์ การแพร่ระบำดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 (โควิด-19) ที่ 14/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 เพื่อการตรวจสอบและกำกับติดตาม การเปิดดำเนินการของสถานที่ การดำเนินกิจกำรและกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกัน และควบคุมโรค และตามแผนปฏิบัติการรองรับการเปิดประเทศตามนโยบายของรัฐบำล โดยจะได้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงำนตำมภารกิจที่ได้รับมอบหมำยนี้เป็นระยะ ให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ เตรียมความพร้อมโดยจัดให้มีระบบศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operations Center : EOC) เพื่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างบูรณาการ โดยอาจขอรับการสนับสนุนจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบยกระดับการปฏิบัติงานของศูนย์ประสำนงำนข้อมูล (call center) ในทุกระบบเพื่อกำรดำเนินงำนอย่างสอดคล้อง พร้อมรองรับกำรให้ความช่วยเหลือและบริการแก่ประชำชน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2565
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี


กำลังโหลดความคิดเห็น