เป็นรัฐมนตรีสายลุยตัวจริง กับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เวลามีปัญหาด้านสาธารณสุข ท่านรองฯ จะดีดตัวจากโต๊ะระดมทีมลงพื้นที่ แก้ปัญหาจากข้อมูลจริง โดยคนหน้างาน ซึ่งทำให้การปฏิบัติหน้าที่มีความรวดเร็ว และยืดหยุ่นสูง เพราะรัฐมนตรี ก็อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว ไม่ต้องรอลำดับชั้นสั่งการ
การลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง ของนายอนุทิน ได้ใจคนทำงาน เพราะถือว่ามาร่วมทุกข์ ร่วมสุข และร่วมศึก ซึ่งการเห็นปัญหา ณ พื้นที่จริง ก็ยิ่งทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น อย่างช่วงระหว่างวันที่ 10 – 15 ตุลาคม ปลายด้ามขวาน พบการระบาดหนักใน 4 จังหวัดภาคใต้ทั้ง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา ยอดผู้ติดเชื้อแตะ 2 พันคน ท่านรองฯ ลงพื้นที่ทันที
เมื่อถึงพื้นที่ ไม่พูดมาก ถามหาเลขการฉีดวัคซีน จะว่าไปแล้ว ก็ได้ตามเป้า แต่การติดเชื้อยังเพิ่มสูงด้วยหลายปัจจัย ท่านรองฯ เรียกประชุมด่วน สั่งการให้ในเดือนตุลาฯ ยอดการฉีด ต้องไปให้ถึง 70% “ติดได้ แต่จะตายไม่ได้” พร้อมสั่งระดมวัคซีนเข้าพื้นที่โดยด่วน เพราะนโยบาย จะปฏิบัติได้จริง เมื่อทรัพยากรมาถึงแล้วเท่านั้น
การทำงานต้องไม่เก่งแต่พูด แต่ต้องทำได้จริงด้วย
นายอนุทิน ลงพื้นที่ไปพร้อมอำนาจความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สามารถสั่งแก้ปัญหาฉุกเฉิน และบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เข้ามาแก้ไขความขลุกขลักได้ เมื่อรับทราบต้นสายประหลาดเหตุแห่งการระบาด นายอนุทิน เรียกประชุมด่วน ขอทั้งสาธารณสุขจังหวัด และ อสม. ลงไปทำความเข้าใจกับคนในชุมชน เรื่องความรู้พื้นฐานด้านการระมัดระวังตนเองให้ปลอดภัยจากโรค งานนี้ ขอความร่วมมือให้ผู้นำทางศาสนา เข้าไปช่วยด้วยอีกแรง
การทำงานของรัฐมนตรีสาธารณสุขคนนี้ จะไม่มีรั้งรอ แถมยังเชื่อว่า งานจะสำเร็จได้ หากลงมือทำ และต้องช่วยกันคนละไม้ คนละมือ
ดังนั้น อย่าแปลกใจ ที่ท่านรองฯ จะลงไปลุยงานภาคสนาม ถึงขั้นรับผู้ป่วยโควิด กลางดึก ก็เคยทำมาแล้ว
ขณะที่ช่วงเกิดวิกฤติ ที่ กทม. ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่กระทรวงฯคุณหมอ มีอำนาจจำกัดตามกฎหมาย ท่านรองฯ ก็ขอลงไปช่วยเท่าที่ทำได้ ด้วยการเปิดโรงพยาบาลบุษราคัมรับผู้ป่วยอาการปานกลาง – ถึงหนัก ไปจนถึงเปิดศูนย์แรกรับ นอกจากนั้น ยังเปิดศูนย์ให้บริการวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งท่านรองฯ มองว่า ถ้าหยุดการระบาดที่เมืองหลวงได้ จะเท่ากับช่วยคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้น กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้จะอย่างจำกัด แต่ก็ต้องทำให้เต็มที่
ตัวท่านรองชั่วโมงนั้น ถูกแซวว่ามีโรงพยาบาลบุษราคัมเป็นบ้าน เพราะไปตรวจเยี่ยมแทบทุกวัน
กลับมาที่สถานการณ์ภาคใต้ "อนุทิน" มอนิเตอร์แบบ 24 ชั่วโมง ทั้งวางระบบให้โรงพยาบาลในพื้นที่รับมือกับเหตุไม่คาดฝัน หากมีเรื่องฉุกเฉิน ต้องมีระบบแก้ปัญหา ที่มีประสิทธิภาพ แต่ต้องไม่ลืมรายงานให้รัฐมนตรีทราบ เพื่อระดมสมองช่วยกันแก้ปัญหา
และนอกจากการลงพื้นที่แบบที่เป็นข่าว ยังมีอีกบ่อยครั้ง ที่ท่านรองฯ จะแอบไปลุยหน้างาน เพราะนี่คือรัฐมนตรี ที่มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่มากที่สุด ด้วยความสามารถในการขับเครื่องบิน บางครั้ง ถึงขั้นลงไปส่งวัคซีนเองก็ทำมาแล้ว เพราะความเป็นคนใจร้อน จึงทำให้หยุดนิ่งไม่ได้ การทำงานมีไดนามิกตลอดเวลา
หากสังเกตให้ดี จะพบว่า งานนี้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีอนุทิน แม้จะเป็นงานโคตรยาก แต่ก็ มีความคืบหน้า อย่างเป็นรูปธรรม
วันนี้ไทยฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 68 ล้านโดส มีการฉีดวัคซีนให้เด็ก ไปจนถึงการฉีดบูสเตอร์
มียอดสั่งจองวัคซีนถึงปี 2565 กว่า 230 ล้านโดส
และกำลังจะมีวัคซีนแบรนด์ไทย ภายในปีหน้า
อัตราการสูญเสียจากโควิด 19 ของไทยยังอยู่ในระดับ 1% จากยอดผู้ติดเชื้อ ต่ำกว่าทั่วโลกเป็นเท่าตัว
นี่คือความคืบหน้า อันเกิดจากการทำงานสไตล์นักบู๊ จาก “รัฐมนตรีสาธารณสุข” สายลุยของประเทศไทย