โฆษกรัฐบาล เผย ความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือทางการเงินผู้ประกอบการและประชาชน จัดโครงการสินเชื่อ 8.9 หมื่นล้าน ช่วยทั้งมาตรการเยียวยาระยะปานกลาง ระยะยาว
วันนี้ (15 ส.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือทางการเงินผู้ประกอบการและประชาชน โดยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 64 ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานมาตรการทางการเงิน ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ ในโครงการสินเชื่อฟื้นฟู วงเงิน 250,000 บาท ได้รับอนุมัติแล้วจำนวน 89,444 ล้านบาท มีผู้ได้รับความช่วยเหลือ 29,365 ราย โดยมีวงเงินเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาทต่อราย ขณะที่ โครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” วงเงินรวมของ 100,000 ล้านบาท มีมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอน 8,991 ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 50 ราย ซึ่งทั้งสองโครงการเป็นมาตรการที่รัฐบาลตอบสนองต่อภาคเอกชน ให้สามารถเข้าถึงเงินสินเชื่อได้มากขึ้น เสริมสภาพคล่องและการลงทุน สนับสนุนวงเงินในการดูแลสินทรัพย์ให้ภาคธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างรุนแรง ยังสามารถกลับมาทำธุรกิจตามปกติ หลังจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว ตามมติคณะรัฐมนตรี 23 มีนาคม 2564 ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ในส่วน “สินเชื่อ สู้ภัย COVID–19” ของ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เปิดผู้มีรายได้ประจำ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร ที่ได้ผลกระทบจาก COVID-19 สามารถยื่นขอกู้วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท/ราย โดยไม่ต้องมีหลักประกันนั้น ธนาคารออมสิน รายงาน ณ 31 กรกฎาคม 64 มียอดปล่อยสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 กว่า 700,000 ราย วงเงินสินเชื่อ 7,000 ล้านบาท ขณะที่ ธ.ก.ส. รายงานยอดจ่ายสินเชื่อ ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2564 จำนวนเงิน 111.87 ล้านบาท โดยจำนวนผู้กู้ 11,248 ราย ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปและเกษตรกรยังสามารถยื่นขอสินเชื่อได้จนถึงธันวาคม 2564
“จากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชนได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากนั้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าใจถึงความเดือดร้อน และได้หารือร่วมกับทีมเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาความช่วยเหลือช่วยผู้ประกอบการและประชาชนรายกลุ่ม ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาว หลังจากมาตรการเยียวยาช่วงล็อกดาวน์สิ้นสุดลง” นายอนุชา กล่าว
วันนี้ (15 ส.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือทางการเงินผู้ประกอบการและประชาชน โดยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 64 ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานมาตรการทางการเงิน ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ ในโครงการสินเชื่อฟื้นฟู วงเงิน 250,000 บาท ได้รับอนุมัติแล้วจำนวน 89,444 ล้านบาท มีผู้ได้รับความช่วยเหลือ 29,365 ราย โดยมีวงเงินเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาทต่อราย ขณะที่ โครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” วงเงินรวมของ 100,000 ล้านบาท มีมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอน 8,991 ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 50 ราย ซึ่งทั้งสองโครงการเป็นมาตรการที่รัฐบาลตอบสนองต่อภาคเอกชน ให้สามารถเข้าถึงเงินสินเชื่อได้มากขึ้น เสริมสภาพคล่องและการลงทุน สนับสนุนวงเงินในการดูแลสินทรัพย์ให้ภาคธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างรุนแรง ยังสามารถกลับมาทำธุรกิจตามปกติ หลังจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว ตามมติคณะรัฐมนตรี 23 มีนาคม 2564 ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ในส่วน “สินเชื่อ สู้ภัย COVID–19” ของ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เปิดผู้มีรายได้ประจำ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร ที่ได้ผลกระทบจาก COVID-19 สามารถยื่นขอกู้วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท/ราย โดยไม่ต้องมีหลักประกันนั้น ธนาคารออมสิน รายงาน ณ 31 กรกฎาคม 64 มียอดปล่อยสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 กว่า 700,000 ราย วงเงินสินเชื่อ 7,000 ล้านบาท ขณะที่ ธ.ก.ส. รายงานยอดจ่ายสินเชื่อ ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2564 จำนวนเงิน 111.87 ล้านบาท โดยจำนวนผู้กู้ 11,248 ราย ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปและเกษตรกรยังสามารถยื่นขอสินเชื่อได้จนถึงธันวาคม 2564
“จากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชนได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากนั้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าใจถึงความเดือดร้อน และได้หารือร่วมกับทีมเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาความช่วยเหลือช่วยผู้ประกอบการและประชาชนรายกลุ่ม ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาว หลังจากมาตรการเยียวยาช่วงล็อกดาวน์สิ้นสุดลง” นายอนุชา กล่าว