วันนี้(10 ส.ค.)นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ นายกสมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงมาตรการการช่วยเหลือเยียวยาของทางภาครัฐที่ยังไม่ครอบคลุมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เท่าที่ควรว่า ตนเห็นข่าวปรากฏอยู่เรื่อยๆ ว่า ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี หลายรายไม่สามารถเข้าถึงมาตรการการช่วยเหลือเพื่อพยุงสถานภาพทางธุรกิจ ทั้งๆที่รัฐบาลพยายามชี้ให้เห็นว่า การออกพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับ คือ พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563’ และ ‘พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564’ นั้น จะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหา แต่ขณะนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ต่างประสบภาวะหลังแอ่นจนแบกรับภาระไม่ไหว รวมทั้ง หากกิจการใดที่ เล็กๆ เป็น SME ที่สร้างรายได้เล็กๆน้อยๆ ซึ่งหากมองภาพรวม แล้วมีศักยภาพและมีผลกระทบในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือแบบขอไปที และอ้างกฎระเบียบเดิมๆ นำมาใช้ดังนั้น ตนเห็นว่า อยากให้รัฐบาลดำเนินมาตรการที่ ‘ใช้เงินน้อย แต่ได้ผลมาก’ เช่น จากผลการสำรวจ FTI Poll ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในหัวข้อ “มาตรการเยียวยาแบบไหนถูกใจ SME” นั้น ปรากฏว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มองว่า ควรออกมาตรการลดค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การลดค่าเช่าพื้นที่ โดยอาจจะประสานกับกรมธนารักษ์ หากเช่าพื้นที่ของทางราชการ หรือเอกชนห้างร้านต่างๆ ในการช่วยเหลือ มาตรการการลดหย่อนและขยายระยะเวลาชำระภาษี
นายภณวัชร์นันท์ กล่าวต่อว่า อยากให้รัฐบาลแสดงความจริงใจและดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีให้เหมือนกับภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ขณะนี้รัฐบาลได้อำนวยความสะดวกในการช่วยเหลืออย่างมาก จนตนรู้สึกว่า ‘ธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นลูกเมียน้อย’ ประกอบการเยียวยาจากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล 1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะความบันเทิงและนันทนาการ 4.กิจกรรม บริการด้านอื่น ๆ 5.การขายส่ง ปลีก ซ่อมยานยนต์ 6.การขนส่งและสถานที่เก็นสินค้า 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 8.กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ 9.ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร เช่นถ้าเป็น กิจการบริการด้านอื่นๆ เจ้าหน้าที่ตีความ บอกไม่เข้าข่าย เช่น การปรุงแต่งสินค้าเป็นเป็นสินค้าสำเสร็จรูปและการบริการจำหน่ายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นปรับปรุงพืชผักผลไม้ สำเสร็จรูป อุตสหกรรมอื่นๆ ไม่เข้าข่าย แต่ได้รับผลกระทบ เพราะทุกอย่างหยุด เมื่องานไม่ได้ทำกิจกรรมไม่มี แต่พวกเขามีค่าใช้จ่าย แต่เจ้าหน้าที่บอกไม่เข้าข่าย ช่วยเหลือ ส่งผลกระทบไปยัง การพักหนี้ และแรงงานที่อยู่กลุ่ม SME เหล่านี้ จากเจ้าหน้าที่ธนาคาร ต่างๆ นำเอาประกาศ มาตรการการช่วยเหลือ อ้างว่าไม่เข้าข่ายเช่นกัน เราจึงสอบถามว่า แบบนี้ลูกเมียน้อยหรือไม่ เงินสบทบจ่ายค่าแรงต้องจ่ายแต่กิจการไม่สามารถดำเนินกิจการได้ SME ใช้เงินหมุนเวียนจ่ายค่าแรงตั้งแต่ปี 63 ยังจะต้องเสียภาษีปี 2562 เพราะเก็บปี 63 ค่าน้ำค่าไฟ ค่าแรง เงินเดือน ไม่มีรายได้แต่ต้องจ่ายเงินสมทบแบบอัตโนมัติ
นายภณวัชร์นันท์ ยังกล่าวต่อว่า เมื่อกิจกรรมของ SME ทำไม่ได้ สุดท้ายต้องปิดและลอยแพจ้างให้ออกจากงานเพราะเงินหมด จึงไปเพิ่มให้ติดโควิทมากขึ้นเพราะพวกเขาไม่มีเงินที่จะอยู่บ้านเฉยๆ เพราะอดตาย ธุรกิจ SME คือรากฐานในการสร้างธุรกิจของประเทศหากรัฐทิ้งขว้างไม่ดูแล อนาคต ระบบเศรษฐกิจจะทิ้งรัฐบาลและเมื่อรัฐเก็บภาษีไม่ได้เพราะไม่มี SME เหลืออีกต่อไป คนจะตกลงงานความอดยากจะมาเยือนรัฐจะเอาเงินที่ไหนมาแจกและเยียวยา เตือนให้ดังๆ ไปยังรัฐบาลควรใช้งบประมาณสำรวจหน่วยงานของรัฐทั้งระบบ และออกมาตรการณ์ให้สั่งสินค้าที่ใช้ในหน่วยงานของรัฐเก่าทิ้งเปลี่ยนใหม่ แม้รัฐจะจ่ายเงินช้า แต่ก็มีอนาคต ที่ได้เงินธนาคารยังมีความหวัง อย่าสั่งแต่สินค้าต่างประเทศ อย่าปล่อยให้โอกาสเสียไปเฉยๆและไม่ได้อะไรนอกจากแจกเงินเยียวยา ควรปล่อยเงินกู้ระยะยาวปลอดดอกเบี้ยให้ SME รับลูกจ้างมาดูและป้องกันโควิท ใช้มาตรการณ์ป้องกันให้อยู่ในสถานประกอบกิจการ SME ดูแลด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
“ผมรู้สึกอึดอัดและอัดอั้นเป็นอย่างมาก ที่ธุรกิจเอสเอ็มอีถูกมองให้เป็นเหมือนลูกเมียน้อย ทั้งนี้ พวกผมที่ทำธุรกิจเอสเอ็มอี อยากให้รัฐบาลไปดูได้ เพราะแบกภาระในทุกๆด้าน ลูกน้อง คนทำงานที่เขามีภาระข้างหลังเขาก็ประสบปัญหาหนักหนาสาหัสไม่ต่างกัน ซึ่งผมเคยเสนอมาครั้งหนึ่งแล้วว่าธุรกิจเอส.เอ็ม.อี ถือเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่สำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องให้ภาครัฐหามาตรการให้ตรงจุด ซึ่งผลสำรวจจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น ก็เหมือนกับทางสว่างที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการให้กับผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องกับเอสเอ็มอีทั้งหมด เพื่อให้พ้นวิกฤตจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด – 19 เพราะฉะนั้น ทุกคนต้องการให้ฝนตกทั่วฟ้า การที่ให้รัฐบาล เข้ามาดูแล SME อย่างจริงจังคือให้ SME สามารถดูและลูกจ้างได้ ประคองและให้ปรับการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถดูแลเลี้ยงดูลูกจ้างให้อยู่รอด สามารถช่วยให้ลดผู้ติดเชื้อได้ส่วนหนึ่ง เพราะกำหนดมาตรการณ์ด้านความปลอดภัยเข่มงวด ผมก็อยากเห็นน้ำใจของรัฐบาลที่ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี มากกว่า การออกกฎหมายเพื่อให้เงินไปกู้ แต่พอไปยื่นกู้แล้วกลับกลายเป็นว่า SME ไม่เข้ามาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล ต้องรออนุมัติ บางรายบอก เงินหมดต้องใช้เงินปกติดอกเบี้ยโหด SME ที่มองโลกในแง่ดี สงสารลูกจ้างก็ตกลงกู้แต่ไม่มีรายได้เพื่อให้ลูกน้องมีเงินเดือน ต้องมาเสียความรู้สึกเพราะหลักเกณฑ์หยุมหยิมที่ไม่เอื้ออำนวยกับการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี”นายภณวัชร์นันท์ กล่าว