xs
xsm
sm
md
lg

“ดร.พิสิฐ” รองประธานกรรมาธิการฯ เสนอให้ส่งเสริมการใช้ “น้ำบาดาลเพื่อการบริโภค” เพราะสะอาดกว่าน้ำท่า และไม่มีสารเคมี เจือปน ไม่ต้องใช้คลอรีน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ดร.พิสิฐ” รองประธานกรรมาธิการพิจารณางบประมาณ เสนอให้ส่งเสริมการใช้ “น้ำบาดาลเพื่อการบริโภค” เพราะสะอาดกว่าน้ำท่า และไม่มีสารเคมี เจือปน ไม่ต้องใช้คลอรีน แถมประเทศไทยมีปริมาณน้ำบาดาลกักเก็บถึง 1.13 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร

วันนี้ ( 2 ก.ค.)ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 สภาผู้แทนราษฏร ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ในฐานะรองประธานกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า น้ำจืดจะเป็นเรื่องที่จะมีความสำคัญมากขึ้น เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก แต่โชคดีที่ประเทศไทยอยู่ในจุดภูมิศาสตร์ที่ไม่ขาดแคลนน้ำแต่น้ำอาจจะมีให้ใช้อย่างไม่สม่ำเสมอในรอบปีเทียบกับดินแดนอื่นที่อาจจะมีสงครามแย่งชิงน้ำจืดกัน ในกรณีของไทยมีหลายหน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ำ ซึ่งการพิจารณาของกรรมาธิการครั้งต่อไปควรจะเชิญมาพิจารณาพร้อมๆ กัน จึงขอฝากประเด็นให้คณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการได้ไปพิจารณาด้านความซ้ำซ้อน เช่น กรมอุตุนิยม มีงบแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจัดซื้ออุปกรณ์ 209 ล้านบาท ในขณะที่กรมทรัพยากรน้ำ มีงบชื่อคล้ายกัน 122 ล้านบาท

รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ กล่าวต่อว่า ดังนั้น ขอให้มีการพิจารณาทบทวนการใช้เทคโนโลยี เช่น ดาวเทียมในการติดตามสถานการณ์น้ำ รวมทั้งเห็นด้วยที่มีการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในการกระจายน้ำไปยังที่ขาดแคลน อยากให้มีนโยบายนี้ให้เต็มที่เพื่อลดการใช้น้ำมัน แต่ปรากฏว่าในงบประมาณที่เสนอยังมีการซื้อเครื่องสูบน้ำด้วยน้ำมันดีเซลเป็นเงิน 39 ล้านบาท
เท่าที่ผ่านมาเราไปมุ่งใช้น้ำท่า ซึ่งมีปีละ 70,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นหลักแต่ด้วยปัญหาอากาศโลก และการทำลายสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งของเสียและการใช้สารเคมี ทำให้น้ำท่าขาดแคลนและมีต้นทุนสูงขึ้นในการบำบัด

“ดังนั้นเราควรทบทวนนโยบายการใช้น้ำ โดยหันมาใช้น้ำบาดาลให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม ประเทศไทยมีปริมาณน้ำบาดาลกักเก็บ 1.13 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรแต่มีการใช้เพียง 14,741 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเทียบกับน้ำที่เพิ่มเติม 72,987 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีจึงยังมีน้ำเหลือใช้เพิ่มขึ้น จำนวนมหาศาลที่น่าจะนำออกมาใช้ได้ ดังนั้น พื้นที่บางแห่ง อาจจะส่งเสริมให้มีการใช้น้ำบาดาลโดยเฉพาะในที่ห่างไกล ในยุโรป ประชาชนบริโภคน้ำบาดาลเพราะสะอาดกว่าน้ำท่าไม่มีสารเคมี เจือปนและไม่ต้องใช้คลอรีน ดังนั้น จึงเสนอให้ทบทวนแนวคิดเรื่องน้ำบาดาลโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีความเสี่ยงเรื่องแผ่นดินทรุด ปี 2565 กรมทรัพยากรน้ำ ซึ่งดูแลน้ำท่าในพื้นที่นอกเขตชลประทานได้รับงบเพียง 1 ใน 4 ของที่ของบประมาณ และ มีเพียง 52,000 ครอบครัวหรือ 209,000 ไร่ที่ได้รับประโยชน์จากกรมทรัพยากรน้ำ ดังนั้นจึงแนะนำให้ลองของบโควิด1 ล้านล้านบาท มาใช้” ดร.พิสิฐ กล่าวและว่า

สำหรับการใช้น้ำบาดาล นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมน้ำบาดาล ยืนยันว่าน้ำบาดาล เป็นน้ำที่สะอาดและหลายสิบประเทศก็ใช้ในการบริโภค น้ำดื่มที่ขายกันในท้องตลาดล้วนเป็นน้ำบาดาลทั้งสิ้น ซึ่งตนขอให้มีการกำกับดูแลน้ำดื่มที่ขายว่ามีคุณภาพได้มาตรฐาน










กำลังโหลดความคิดเห็น