xs
xsm
sm
md
lg

“พล.อ.ประวิตร “ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จัดการน้ำเชิงรุก วางระบบแก้วิกฤตน้ำแล้ง-น้ำท่วมลดผลกระทบภาคประชาชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รัฐบาล ตระหนักความสำคัญในการบริหารจัดการน้ำทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้น้ำในทุกภาคส่วน รวมทั้งการป้องกันภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อประชาชน จึงนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารน้ำของประเทศ ด้วยความมุ่งมั่น และวิสัยทัศน์ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวเรือใหญ่ในการขับเคลื่อนผ่านโครงการต่างๆ ที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศ

เริ่มจาก แผนป้องกันน้ำท่วมจากฤดูฝน ด้วยการให้มีการขุดลอกดินตะกอน เพื่อเปิดทางแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่คลองเปรมประชากร ตั้งแต่ ต.บางกระสั้น อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยการใช้เรือขุดดินตะกอน เพื่อนำไปปรับตลิ่ง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของน้ำ-ทำให้เกิดประโยชน์ในการบรรเทาปัญหาน้ำเสียในคลองเปรมประชากร และยังสามารถป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ กรุงเทพมหานครได้อีกด้วย

การแก้ไขปัญหาผักตบชวา และวัชพืชในลุ่มน้ำภาคกลาง ในพื้นที่ต่างๆ ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ในลุ่มน้ำต่าง ๆ ทั้งคลองรังสิตประยูรศักดิ์, คลองหกวา, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำน้อย และแม่น้ำท่าจีน โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ GISTDA เข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย สามารถกำจัดผักตบชวามีปริมาณลดลงไปมากถึง 275,000 ตัน จากปริมาณการสำรวจครั้งแรก 285,920 ตัน คิดเป็นร้อยละ 96

ดังนั้นจากอุทุกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆของไทย เพื่อรองรับฤดูน้ำหลาก นำไปสู่แผนการรับมือปริมาณน้ำที่จะเกิดขึ้นใน 8 ด้าน ประกอบด้วย1.การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 2.การปรับแผนการเพาะปลูกพืช ในพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 13 แห่ง 3.จัดทำเกณฑ์บริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝน 4.เร่งตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ และสถานีโทรมาตร ให้พร้อมใช้งานโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง5.เร่งรัดหน่วยงานตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 189 แห่งจากทั้งหมด 625 แห่ง 6.การขุดลอก กำจัดผักตบชวา ซึ่งตั้งแต่ต.ค. 2562 ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 2 ล้านตัน ตามภาพถ่ายดาวเทียมของจิสด้าพบว่ามี 128 จุด รวมพื้นที่ 3,574 ไร่ ปริมาณ 285,920 ตัน 7.การเตรียมพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือให้ความช่วยเหลือ และ 8.แผนการประชาสัมพันธ์

ในมิติการแก้ไขปัญหา ภัยแล้ง เป็นเรื่องที่สำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะภาคเกษตรกร พล.อ.ประวิตร ได้ตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาค เพื่อติดตาม สถานการณ์ และโครงการสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการและเตรียมความพร้อมรองรับปัญหาภัยแล้งโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ในการจัดหางบประมาณเพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ โดยให้กระทรวงมหาดไทย เป็นพี่เลี้ยงในการจัดทำงบประมาณให้กับหน่วยงานในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง โดยแต่ละจังหวัดสำรวจพื้นที่ ปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก เพื่อนำไปสู่การจัดทำโครงการที่จะแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด มีการดำเนินแผนงานด้วยความรอบคอบ รัดกุม และโปร่งใส การโครงการขุดน้ำบาดาล การพัฒนาน้ำบาดาลขนาดใหญ่ และการบริหารจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำบนดินและใต้ดิน จัดการน้ำทำบ่อเติมน้ำใต้ดินต้นแบบเป็นต้น ที่ได้มีการนำไปพัฒนาในหมู่บ้านต่างๆจนเกือบครบทุกหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้วันนี้ประเทศไทย สามารถสร้างความมั่นคงของน้ำในภาคการผลิต ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมมีแหล่งน้ำต้นทุนในการจัดการ โดยการก่อสร้างแหล่งน้ำระบบกระจายน้ำใหม่ พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำพื้นที่เกษตรน้ำฝน เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำเดิม และพัฒนาแหล่งน้ำ รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนได้ถึง 4.3 ล้านครัวเรือน และยังสามารถแก้ไข อุทกภัยน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญๆ นำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพน้ำได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ตามศาสตร์ของพระราชามาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำ


กำลังโหลดความคิดเห็น