วันนี้(16 พ.ค.)นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ นายกสมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย
ถึงสถานการณ์การดำเนินธุรกิจของกลุ่ม
เอส.เอ็ม.อี ในช่วงเวลาการระบาดของไวรัสโควิด - 19 ว่า การระบาดของไวรัสฯ ระลอกใหม่ซึ่งมีตัวเลขผู้ติดเชื้อนับพันรายมาหลายวัน นั้น ถึงแม้ว่า จะไม่มีมาตรการล็อกดาวน์เหมือนกับช่วงของการระบาดใหม่ๆ ในปีที่ผ่านมา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจเอส.เอ็ม.อี มีผลกระทบอย่างมหาศาล เพราะนอกจากจะต้องปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุขในการป้องกันเชื้อไวรัสฯ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังจะต้องเผชิญกับรายจ่ายมากมายที่จะต้องดูแลไม่ให้ธุรกิจเสียหาย ทำให้เกิดหนี้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ที่ผ่านมา ตนได้ปรึกษากับนาย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และได้มองร่วมกันว่า หน่วยงาน ที่ดำเนินการลงไปแก้ไขปัญหาดูเหมือนจะมีเพียงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกมาตรการต่างๆ เช่น สินเชื่อฟื้นฟู โครงการพักทรัพย์ พักหนี้ การเลื่อนระยะเวลาการชำระหนี้ เป็นต้น แต่ทางรัฐบาลและกระทรวงการคลัง กลับไม่มีมาตรการที่ชัดเจน ที่จะช่วยเหลือให้ธุรกิจ เอส.เอ็ม.อี รอดพ้นจากวิกฤตนี้ไปได้ เพราะฉะนั้น ตนจึงขอร้องว่า รัฐบาลควรมีมาตรการสำหรับธุรกิจดังกล่าว โดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ล้มหายตายจากไปกับการระบาดของไวรัสฯ เพราะธุรกิจเอส.เอ็ม.อี ถือเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่สำคัญมากใน ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหากขาดไปแล้ว เศรษฐกิจไทยก็ขับเคลื่อนไปได้แบบติดๆขัดๆ ไม่สามารถหลุดพ้นปัญหาไปได้ แม้ว่า การระบาดอาจ จะมีแนวโน้มลดลงในวันข้างหน้า
“ผมว่า ขณะนี้เอส.เอ็ม.อี. เป็นธุรกิจที่ถูกโดดเดี่ยวจากการดูแลของรัฐบาลมากที่สุด เพราะมาตรการกระตุ้นและช่วยเหลือทาง เศรษฐกิจส่วนใหญ่มักทุ่มเทไปยังภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ มากกว่าจะดูแลบรรดาเอส.เอ็ม.อี ที่มีความตั้งใจในการดูแลช่วยเหลือประชาชนในการสร้างงานและสร้างรายได้ ดังนั้น ในเมื่อรัฐบาลต้องการจะให้ทุกคนรอดพ้น กระบวนการดูแลภาครัฐไม่ทั่วถึงภาคการผลิต ภาพรวมในการส่งออกส่วนใหญ่เป็นผลไม้เสียส่วนมาก แต่สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ทุกอย่างหยุดนิ่งสงบ แต่เจ้าของ SME ไทย ยังต้องรับภาระในการจ่ายค่าแรงแม้ไม่ได้ผลิตเพื่อให้ลูกจ้างยังอยู่กับธุรกิจ เพราะยังมีความหวังว่าสถานการณ์ไวรัสโควิด – 19 จะจะคลี่คลายลง แต่ เมื่อคบ 1 ปี สถานการณ์ไวรัสโควิด – 19 ยังระบาดมากขึ้น สุดท้ายสภาพล่อง ไม่มีเหลือแต่ยังจะต้องมีภาระมีค่าใช้จ่ายทุกเดือน ผมจึงขอพิจารณาให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อช่วยเอส.เอ็ม.อี อย่างตรงจุดและจริงจัง โดยให้มี มาตรการ พักชำระหนี้ อย่างน้อย 1 ปี กับทุกธนาคาร และอัดเงินเข้าระบบเอส.เอ็ม.อี ให้เกิดการหมุนเวียนและส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้งบประมาณสั่งซื้อสินค้าที่ผลิตโดยเอส.เอ็ม.อี ไทย เพื่อให้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของหน่วยงานรัฐมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยและใหม่เพื่อใช้ทำงานในอนาคต ยังจะช่วยให้ อัดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ในประเทศให้เกิดการจ้างงานและเศรษฐกิจหมุนเวียน รัฐยังจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ด้วย มาตรการนี้จะช่วยให้ ธุรกิจ SME ไทย ไม่พังทั้งระบบ” หากรัฐบาลไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา ถ้า ธุรกิจ SME ไทย พัง ธุรกิจอื่นๆจะพังตามไปไปด้วย” นายภณวัชร์นันท์กล่าว