xs
xsm
sm
md
lg

สตง.ชำแหละ! “มหานครปลอดภัย” แผนพัฒนา 20 ปี กทม. “กล้องซีซีทีวี” ยังตามหลอน 2,367 แห่งชำรุด แถมพื้นที่น้ำท่วมขัง เพิ่มทวีคูณ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สตง.ชำแหละ! “มหานครปลอดภัย” นโยบาย กทม. 5 ด้าน ตามแผนพัฒนา 20 ปี พบ 5 ปีแรก แผนปลอดอาชญากรรม จุดติดตั้งซีซีทีวี 2,367 แห่ง ยังชำรุด ทำคน กทม.ขาดโอกาส เข้าถึงนำข้อมูลภาพไปใช้ประโยชน์ แถมกล้องแบบบันทึกเหตุการณ์ 24 ตัว ใช้ได้แค่ 6 ตัว ส่วนแผนคนกรุงปลอดโรค พบ ลานกีฬา 27 แห่ง จาก 155 แห่ง ไม่เอื้อต่อการเข้าไปใช้บริการ สุดท้ายปัญหา “คลาสสิก” น้ำฝนท่วมขัง เทียบปี 61-62 พบ จุดน้ำท่วมขังไม่ลด ระดับความลึกไม่ลด แถมพื้นที่ท่วมขังเพิ่มกว่า 100 จุด

วันนี้ (16 มี.ค. 64) มีรายงานจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สตง.ได้สรุปผลตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงาน “มหานครปลอดภัย” ของกรุงเทพมหานคร พบว่า มีการตรวจสอบใน 2 ส่วน ได้แก่ 1. ด้านปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด และด้านปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย และ 2. ด้านปลอดอุบัติเหตุ ด้านปลอดภัยพิบัติ และด้านสิ่งก่อสร้างปลอดภัย

การรวจสอบ เป็นไปตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ( พ.ศ. 2556-2575) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2556-2560) เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาให้กรุงเทพมหานครก้าวขึ้นสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ในปี 2575 โดยในช่วง 5 ปีแรก (พ.ศ. 2556-2560) มีเป้าหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ย่อย จำนวน 6 ด้าน

สตง. พุ่งเป้าไปที่หน่วยงานสังกัด กทม. ที่รับผิดชอบโครงการ ประกอบด้วย สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักอนามัย สำนักการระบายน้ำ และ สำนักการโยธา โดยมีการตรวจสอบและการรายงานผลถึง 3 ครั้ง

โดยเฉพาะด้านปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด และด้านปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย สตง.สังเกตการณ์การทางานของ “ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด” ในพื้นที่รับผิดชอบ 50 เขต ใน กทม.

สตง. พบว่า การให้บริการสืบค้นข้อมูลภาพจากศูนย์บริหารจัดการกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) 3 แห่ง ซึ่งมีผู้ขอรับบริการ ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2560 - ก.ย. 2561 จำนวน 8,977 จุดติดตั้ง พบว่า กทม.มีข้อมูลภาพให้บริการ เพียง 6,363 จุดติดตั้ง และไม่มีข้อมูลภาพให้กับผู้ขอรับบริการ 2,614 จุดติดตั้ง

“ขณะที่จุดติดตั้งที่ไม่ปรากฎข้อมูลภาพ” เกิดจากอุปกรณ์บันทึกภาพ (CCTV) ชำรุด 2,367 จุดติดตั้ง

ส่วนการทำงานของระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดแบบบันทึกเหตุการณ์ที่จุดติดตั้ง (Stand Alone) 15 จุดติดตั้ง 59 กล้อง พบว่าบางจุดติดตั้งชำรุด ไม่สามารถบันทึกภาพได้ครบถ้วน โดยมีจุดติดตั้งฯ ที่กล้องสามารถบันทึกภาพได้ครบทุกกล้อง แค่ 6 จุดติดตั้ง รวม 24 กล้อง

ขณะที่มีจุดติดตั้งที่กล้องชำรุดไม่สามารถบันทึกภาพได้ครบถ้วน ถึง 9 จุดติดตั้ง ได้แก่ จุดติดตั้งที่กล้องโทรทัศน์วงจรปิดชำรุดหรือไม่พร้อมใช้งานทุกกล้อง 5 จุดติดตั้ง รวม 20 กล้อง และจุดติดตั้งที่กล้องโทรทัศน์วงจรปิดชำรุดหรือไม่พร้อมใช้งานบางกล้อง 4 จุดติดตั้ง

“โดยมีกล้องที่ชำรุด ไม่พร้อมใช้งาน จำนวน 4 กล้อง และกล้องที่พร้อมใช้งาน จำนวน 11 กล้อง เท่านั้น”

สตง.สรุปว่า การที่ กทม.บริหารจัดการระบบ CCTV เพื่อความปลอดภัยในพื้นที่ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทำให้ประชาชนผู้ขอรับบริการสืบค้นข้อมูลภาพสูญเสียโอกาสในการนาข้อมูลภาพเหตุการณ์ไปใช้เป็นหลักฐานสาคัญ และย่อมส่งผลให้ประชาชนในกทม.ขาดความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้

โดยสาเหตุสำคัญมาจากขั้นตอนวิธีการควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานบำรุงรักษาก CCTV ไม่รัดกุมเพียงพอ และการกำหนดรูปแบบการรายงานผลการให้บริการสืบค้นข้อมูลภาพยังไม่ครอบคลุมข้อมูลสำคัญบางประการ

ส่วนด้านปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย ด้านปลอดโรคคนเมือง ที่สตง. มุ่งเป้าไปที่ ศูนย์กีฬา ศูนย์เยาวชน และลานกีฬาในชุมชน พบว่า กทม. ได้ กำหนดมาตรฐานไว้เพียงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2558 เท่านั้น

“พบว่า มีลานกีฬาที่ได้มาตรฐานเพียง 155 แห่ง หรือ ร้อยละ 12.85 ของจำนวนลานกีฬาทั้งหมด แต่มีลานกีฬาถึง 27 แห่ง ที่สภาพลานและอุปกรณ์ออกกำลังกาย ที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ และบางแห่งไม่สามารถจัดกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำโดยบางแห่ง รายงานฉบับนี้ของ สตง. ถึงกับระบุว่า ไม่เอื้อต่อการเข้าไปใช้บริการ”

สำหรับประเด็น อาหารปลอดภัย ที่ สตง. มุ่งเป้าไปที่ สถานประกอบการอาหารที่เปิดดำเนินกิจการบนถนนสายหลัก พบว่า การตรวจสอบเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ไม่ครอบคลุมสถานประกอบการอาหารกลุ่ม ที่ไม่มีใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องสถานที่จาหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2545

ขณะที่ การเก็บและสุ่มจำนวนตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารของสำนักงานเขตบางแห่งไม่เป็นไปตามแนวทางที่กทม.กำหนด

เช่นดียวกับการเก็บและสุ่มตัวอย่างประเภทภาชนะสัมผัสอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ด้านจุลินทรีย์ด้วยชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) ของสำนักงานเขต ยังไม่สอดคล้องตามคู่มือการใช้ชุดทดสอบ

ขณะที่ ด้านปลอดอุบัติเหตุ สตง. พบว่าการลดอุบัติเหตุทางถนนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะ ระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) และรถบริการสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นไม่เป็นตามเป้าหมาย โดยเฉพาะ จำนวนอุบัติเหตุ 156 ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560–2562 แม้หน่วยงานที่รับผิดชอบ จะมีโครงการ/กิจกรรม “ลดอุบัติเหตุ” ที่ได้รับงบประมาณ ให้ดำเนินการ ถึง 78 โครงการ

โดยเฉพาะ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้รับจัดสรรงบประมาณในโครงการจัดหาพร้อมติดตั้งระบบเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนบริเวณ แหล่งชุมชนและสถานที่สำคัญ หรือ กิจกรรมส่งเสริมสถานศึกษาร่วมใจสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ในปีงบ 2561 เป็นต้น

ขณะที่ ด้านปลอดภัยพิบัติ เฉพาะปัญหา “คลาสสิก” น้ำท่วมขังจากน้ำฝน พบว่า ยังมีความเสี่ยงต่อการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ พลังจากตรวจสอบ ข้อมูล ระหว่าง พ.ค.- ต.ค. 2561-2562 ของสำนักการระบายน้้ำ เทียบกับสองปี พบว่า ในปี 2562 จุดน้ำท่วมขังไม่ลดลง ระดับความลึกของน้ำท่วมขังในแต่ละระดับไม่ลดลง อีกทั้งจำนวนครั้งในการเกิดน้ำท่วมขังยังเพิ่มขึ้น และระยะเวลาในการระบายน้ำเพิ่มขึ้น

“เช่น ในปี 2562 มีจำนวนจุดน้ำท่วมขัง ที่ยังคงอยู่หรือเกิดขึ้นใหม่ เมื่อเทียบจากปี 2561 รวมจำนวน 105 จุด หรือ ปี 2562 มีเหตุการณ์การเกิดน้้ำท่วมขัง แล้วมีระดับความลึกของน้ำเท่าเดิม จำนวน 28 เหตุการณ์ ซึ่งเป็นระดับความลึกของน้ำท่วมตั้งแต่ระดับ 5–10 เซนติเมตร และมีเหตุการณ์การเกิดน้ำท่วมขังแล้วระดับความลึกของน้ำเพิ่มขึ้น รวมจำนวน 117 ครั้ง ยังพบอีกว่า การระบายน้ำปี 2562 นานเกินกว่า 210 นาที จำนวน 8 เหตุการณ์เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จำนวน 5 เหตุการณ์”

ด้ำนสิ่งก่อสร้างปลอดภัย จากการตรวจสอบปรับปรุงและบูรณะซ่อมแซมถนน ทางเท้าและสะพานข้ามคลอง ของศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน ยังขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน

พบปัญหา “การซ่อมบำรุง” หากเป็นการซ่อมแซม “เร่งด่วน” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในกรณีที่มีเรื่องร้องเรียนจากประชาชน "ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน" สังกัด สำนักการโยธา กทม. จะสามารถซ่อมแซมได้เองด้วยวิธีการอุดรอย ฉาบ ปะซ่อมผิวจราจร หรือการเสริมผิวแอสฟัลต์ เท่านั้น

“ส่วนการขอจัดสรรงบประมาณ เพื่อจ้างปรับปรุง ซ่อมแซม ในกรณีที่มีความเสียหายมาก และขยายตัวเป็นวงกว้างตลอดทั้งสายทาง และ/หรือสายทางมีอายุการใช้งานมายาวนาน ซึ่งศูนย์ฯ ไม่สามารถดำเนินการซ่อมบารุงเองได้ ต้องมี "ฝ่ายตรวจเกณฑ์" เข้ามาประเมินความเสียหายก่อน ส่งผลให้การกำหนด วิธีซ่อมและการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อขอจัดสรรงบประมาณในการซ่อมบารุงไม่สอดคล้องกับสภาพความเสียหาย”

เช่นเดียวกับ กรณีปรับปรุงและบูรณะซ่อมแซมถนน ทางเท้า และสะพานข้ามคลอง หรือ งานนบำรุงรักษาทางและสะพาน ที่ กทม.ไม่สามารถนำข้อมูลการตรวจสอบและประเมินสภาพความเสียหายไปใช้ในการวางแผนและกำหนดวิธีการซ่อมบำรุง ตลอดจนการนำไปใช้ในการพิจารณาขอจัดสรรงบประมาณ ส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

เช่นเดียวกับประเด็นการประมาณราคาซ่อม ที่พบว่า ข้อมูลในระบบบริหารงานบำรุงรักษาทาง เมื่อคำนวณงบประมาณ ยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น ถนนลาดพร้าว 101 ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณในปี พ.ศ. 2562 วงเงินโครงการ 18,538,000.00 บาท แต่ในระบบบริหารงานบำรุงรักษาทาง ประเมินราคาค่าซ่อม เป็นเงิน 66,060.29 บาท

สุดท้าย สตง. พบว่า การจัดทำฐานข้อมูลอาคารใน กทม. 9 ประเภท ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะ การจัดทำระบบและนำเข้าฐานข้อมูลอาคารของข้อมูลอาคาร 9 ประเภท ในพื้นที่ความรับผิดชอบของกลุ่มเขต 12 เขต ให้ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 อาคาร แต่ยังไม่ครอบคลุมอาคาร 9 ประเภท ทั้งหมด ในความรับผิดชอบของกทม. รวมถึงอาคารนอกเหนืออาคาร 9 ประเภทที่มีความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม สตง. ได้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำไปแก้ไขแล้ว


กำลังโหลดความคิดเห็น