xs
xsm
sm
md
lg

สธ.จับโกหกฝ่ายค้าน ยันประเทศไทยได้วัคซีนโควิด 63 ล้านโดส ยันแอสตราเซเนกาไม่เคยทำคนถึงตาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พรรคภูมิใจไทยนำคณะ สธ.แจงปี 64 ไทยได้วัคซีน 63 ล้านโดส ยันแอสตราเซเนกาไม่เคยทำคนตาย ขณะที่ “วิโรจน์” ที่เพิ่งซักฟอกโจมตีจัดหนัก “อนุทิน” ดอดแอบฟังท้ายห้องแถลง

วันนี้ (17 ก.พ.) เมื่อเวลา 15.15 น.ที่รัฐสภานายศุภชัยใจสมุทรส.ส.พรรคภูมิใจไทยนพ.เกียรติภูมิวงศ์รจิตปลัดกระทรวงสาธารณสุขนพ.โอภาสการย์กวินพงศ์อธิบดีกรมควบคุมโรคนพ.นครเปรมศรีผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติร่วมแถลงข่าวประเด็นวัคซีนโควิด-19

นายแพทย์เกียรติภูมิวงศรจิตปลัดกระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวเรื่องความคืบหน้าการบริหารการจัดการวัคซีนของประเทศไทยชี้แจงฝ่ายการเมืองระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการด้านวัคซีนโควิด 19มาประมาณ 1ปีกว่าควบคู่ไปกับการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคสามารถทำได้ดีจนได้รับการยอมรับจากนานาชาติทั้งระลอกแรกและระลอกใหม่ สิ่งที่จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปคือการใช้วัคซีนโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ในช่วงแรกของการระบาดไม่สามารถหาวัคซีนได้จากบริษัทยาทั่วไปและการจัดหาต้องคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยเป็นอันดับแรกโดยประเทศไทยได้จองและเตรียมให้บริการฉีดให้ประชาชนถึง 63ล้านโดสเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับประเทศวางแผนการฉีดให้แล้วเสร็จภายในปี 2564เพื่อให้ควบคุมการแพร่ระบาดและเพื่อให้สามารถดำเนินเศรษฐกิจต่อไปได้

“ยืนยันว่าขณะนี้ประเทศไทยสามารถควบคุมโรคได้ดีจากการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขเองและความร่วมมือจากประชาชนทำให้อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าค่ามาตรฐาน 20เท่าและการแพร่กระจายโรคต่ำกว่าในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามวัคซีนถือเป็นอีกเครื่องมือที่เข้ามาช่วยควบคุมโรคซึ่งประเทศไทยวางแผนไว้เป็นอย่างดีและทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อไปทั้งนี้เชิญชวนประชาชนฉีดวัคซีนเว้นระยะห่างหมั่นล้างมือแสกนไทยชนะเพื่อช่วยกันลดการแพร่เชื้อต่อไป”

ด้านนายแพทย์นครเปรมศรี กล่าวว่าประเทศไทยมีการวางแผนจัดหาวัคซีนโควิด 19ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563โดยมีการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนภายในประเทศแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อวิจัยพัฒนาร่วมกันและติดตามข้อมูลวามก้าวหน้าของวัคซีนแต่ละชนิดพบว่าวัคซีนรูปแบบ mRNAและไวรัลเวคเตอร์มีการพัฒนาและน่าจะสำเร็จในเวลาใกล้เคียงกันจึงมีการเจรจาขอข้อมูลกับผู้ผลิตประเทศต่างๆมาอย่างต่อเนื่องเช่นจีนอังกฤษเกาหลีใต้ญี่ปุ่นเบลเยียมเป็นต้นโดยประเทศไทยตั้งเป้าว่าจะต้องได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตด้วยเพื่อรับมือกับการระบาดในเวลานี้และในอนาคตกระทั่งช่วงเดือนกรกฎาคม 2563บริษัทแอสตร้าเซนเนก้าได้หาพันธมิตรผู้ร่วมผลิตวัคซีนโควิด 19ในเทคโนโลยีไวรัลเวคเตอร์ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมเป็น Hubการผลิตวัคซีนกว่า 60บริษัทใน 60ประเทศโดยแอสตร้าเซนเนก้าได้ประเมินและคัดเลือก 25บริษัทเป็นผู้ร่วมผลิตซึ่งหนึ่งในนั้นคือบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์จำกัดเนื่องจากประเมินศักยภาพแล้วมีมาตรฐานเหมาะสมที่จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยจำเป็นต้องสนับสนุนพัฒนาศักยภาพเพิ่มอีกเล็กน้อยเพื่อให้พร้อมรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เร็วที่สุดเพื่อผลิตวัคซีนและมีการเจรจาจองซื้อด้วย

"ถ้าจองซื้อวัคซีนกับบริษัทอื่นเป็นการคือซื้ออย่างเดียวแต่การจองซื้อกับแอสตร้าเซนเนก้าเราได้ศักยภาพการผลิตวัคซีนระดับโลกไว้กับเราด้วยไม่ว่าจะอยู่กับภาครัฐหรือเอกชนไม่สำคัญเพราะอยู่ในประเทศไทยที่สำคัญแอสตร้าเซนเนก้ามีความมั่นใจอย่างมากได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีตั้งแต่เดือนตุลาคมแม้ประเทศไทยยังไม่อนุมัติงบในการจองซื้อวัคซีนเนื่องจากบรรลุเงื่อนไขร่วมกันนือการเป็นหน่วยงานผลิตวัคซีนให้ภูมิภาคอาเซียน"นายแพทย์นครกล่าว

นายแพทย์นครกล่าวว่าส่วนการจองซื้อวัคซีนกับแอสตร้าเซนเนก้าและโครงการโคแวกซ์มีความแตกต่างกันเนื่องจากค่าจองของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาวัคซีนแต่การจองกับโคแวกซ์เงินที่เรียกว่า UPFRONT PAYMENTเป็นค่าบริหารจัดการค่าวัคซีนจะกำหนดเมื่อทราบว่าได้วัคซีนของบริษัทใดและต้องจ่ายตามราคาที่ผู้ผลิตกำหนดทั้งนี้ราคาวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่ระบุว่าประเทศไทยซื้อแพงกว่าในราคา 5ดอลลาร์สหรัฐต่อโดสนั้นความจริงคือราคาอ้างอิงวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าในเว็บไซต์ยูนิเซฟหรือสหภาพยุโรปหรือของสหรัฐอเมริกาเป็นราคาที่ไม่รวมเงินสนับสนุนวิจัยราคาจึงอยู่ที่ประมาณ 4ดอลลาร์สหรัฐต่อโดสนอกจากนี้ในแต่ละแหล่งผลิตราคาต้นทุนวัตถุดิบมีความแตกต่างกันตามช่วงเวลาหากเป็นวัตถุดิบตั้งแต่ปีที่แล้วราคาถูกกว่าแต่ช่วงปลายปี 2563มีความต้องการผลิตวัคซีนสูงทำให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นจึงเกิดความต่างเรื่องของราคาแต่อยู่บนหลักการไม่มีกำไรไม่มีขาดทุน

สำหรับข่าวบริษัทอินเดียเสนอขายวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแต่เราไม่ซื้อเป็นข่าวเท็จทางโซเชียลมีเดียข้อเท็จจริงคือเป็นการเสนอความร่วมมือวิจัยวัคซีนกับไทยซึ่งเป็นอีกบริษัทไม่ใช่บริษัทที่เกี่ยวกับแอสตร้าเซนเนก้าซึ่งเราทำข้อตกลงบันทึกความเข้าใจร่วมกันแล้วส่วนโครงการโคแวกซ์ประเทศไทยยังเดินหน้าเจรจาเข้าร่วมถ้าได้เงื่อนไขที่เหมาะสมกับประเทศไทยขณะที่วัคซีนที่จะได้จากโคแวกซ์ในช่วงไตรมาสที่ 1และ 2ของปี 2564ก็เป็นของแอสตร้าเซนเนก้าจึงมองว่าไม่ต้องเข้าร่วมโครงการเพราะเราได้วัคซีนจากการผลิตในประเทศไทยอยู่แล้วซึ่งคุณภาพทัดเทียมกับการผลิตจากบริษัทอื่นๆทั่วโลกส่วนประเด็นการห้ามใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในผู้สูงอายุเรายึดตามความเห็นขององค์การอนามัยโลกที่ระบุว่าวัคซีของนแอสตร้าเซนเนก้าใช้ผู้ที่มีอายุ 65ปีขึ้นไปได้

"เราจัดซื้ออย่างโปร่งใสมีคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาเงื่อนไขสัญญาต่างๆโดยหน่วยงานกำกับกฎหมายของประเทศไม่ได้ปกปิดและขอให้มั่นใจศักยภาพว่าประเทศไทยไม่แพ้ใครในโลกวัคซีนก็ผลิตได้คุณภาพเราไม่ต้องมีวัคซีนหลากหลายชนิดขอให้มีมากพอครอบคลุมประชากรและจัดบริการฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพ"นายแพทย์นครกล่าว

ด้านนายแพทย์โอภาสการย์กวินพงศ์อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวตอบข้อสงสัยฝ่ายการเมืองถึงแผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19ว่านโยบายของรัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนจะต้องได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยโดยมอบให้กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขวางแผนการฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี 2563เป้าหมายสำคัญคือ1.ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตซึ่งวัคซีนของแอสตราเซเนก้าและซิโนแวคได้ทำการพิสูจน์เรียบร้อยแล้วว่าช่วยลดความรุนแรงของโรค 2.เพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศซึ่งบุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการทำงานและ 3.เพื่อให้คนไทยกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติและเกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทยตั้งเป้าฉีดให้ครอบคลุมคนไทยมากที่สุดเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศจะไม่เกิดการระบาดต่อ

ทั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการฉีดมี 3ระยะได้แก่ระยะแรกเมื่อวัคซีนมีปริมาณจำกัด ซึ่งไทยจะได้รับวัคซีนเชื้อตายจากประเทศจีนภายในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อผ่านการควบคุมคุณภาพและตรวจสอบความปลอดภัยจากอย.และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้วจะทำการฉีดให้กับคนไทยทันทีโดยกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการฉีดคือกลุ่มบุคคลเสี่ยงได้แก่ผู้สูงอายุผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเมื่อติดเชื้อแล้วอาจมีอาการป่วยและตายสูง,กลุ่มคนในพื้นที่เสี่ยงได้แก่จ.สมุทรสาครกรุงเทพฯปทุมธานีนนทบุรีและสมุทรปราการรวม 5จังหวัดและกลุ่มอาชีพเสี่ยงได้แก่บุคลากรทางสาธารณสุขหรืออาชีพที่ต้องพบปะกับชาวต่างชาติเช่นผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวผู้ที่ต้องพบปะคนหมู่มากคนที่ต้องเดินทางระหว่างประเทศโดยจะฉีดให้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนซึ่งหากวัคซีนมาเร็วจะทำการฉีดให้เร็วจำนวน 2ล้านโดสจะฉีดระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน

ส่วนระยะที่ 2เมื่อมีวัคซีนมากขึ้นและระยะที่ 3เมื่อมีวัคซีนอย่างกว้างขวางจะเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้เร็วที่สุดและหากมีวัคซีนเพียงพอจะฉีดให้ได้ 10ล้านโดสหรือ 10ล้านคนต่อเดือนที่โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะฉีดตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป 7เดือน กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศจะครบถ้วนภายในปี 2564โดยมีคณะกรรมการฯดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดเก็บกระจายจัดฉีดและการติดตามผลข้างเคียงมีการซักซ้อมการดำเนินงานเรียบร้อยแล้วส่วนกรณีพบการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตจะมีการเยียวยาตามมาตรา 41ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ




กำลังโหลดความคิดเห็น