xs
xsm
sm
md
lg

“สรวุฒิ-อัครเดช” ตรวจโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม จ.อยุธยา หวังเป็นต้นแบบในอนาคต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“สรวุฒิ-อัครเดช” พร้อมด้วยผู้บริหาร ก.อุตฯ ตรวจโรงงานบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม จ.อยุธยา หวังเป็นต้นแบบโรงงานในอนาคต

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี และรองเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวัตถุอันตราย สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย นายอัครเดช วงศ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี นายกฤชนนท์ อัยยะปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีระบบการจัดการที่ดี และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

นายสรวุฒิ กล่าวว่า ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ประกอบด้วย โรงงาน 3 แห่ง ได้แก่ 1.บริษัท รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์ จำกัด ประกอบกิจการโรงไฟฟ้า ใช้ระบบแปรรูปกากอุตสาหกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน Refuse Derived Fuel (RDF) or Solid Recovered Fuel (SRF) โดยคัดแยกและแปรรูปกากอุตสาหกรรมที่มีคุณสมบัติเหมาะสม นำไปผลิตเชื้อเพลิงทดแทน ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรม เช่น เศษไม้ เศษผ้า มาแปรสภาพเป็นพลังงาน ซึ่งมีกำลังการผลิต 7 เมกะวัตต์ต่อวัน เพื่อนำมาใช้ภายในโรงงาน 1.5 เมกะวัตต์ และจำหน่ายให้ กฟผ. 5.5 เมกะวัตต์ 2.บริษัท เบตเตอร์ เวสท์ แคร์ จำกัด ประกอบกิจการ ทำเชื้อเพลิงผสมจากของเหลวที่มีค่าพลังงานความร้อน นำสารละลายเคมีที่ผ่านการใช้งานแล้ว สารเคมีจำพวกกรดและด่างที่ไม่ใช้แล้วมาผ่านกรรมวิธีทางอุตสาหกรรมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และ 3.บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) ประกอบกิจการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า

นายสรวุฒิ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญกับการประกอบกิจการของภาคเอกชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลงพื้นที่ครั้งนี้ก็เพื่อเยี่ยมชมโรงงานที่มีระบบการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ มีระบบการจัดการที่ดี มีมาตรฐานและไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งตรงกับนโยบายรัฐบาล เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) หรือ BCG ซึ่งนับเป็นโรงงานอุตสาหกรรมรายแรกๆที่มีระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมแบบครบวงจร และเป็นต้นแบบให้โรงงานอื่น ๆ ในอนาคตได้.












กำลังโหลดความคิดเห็น