มูลนิธิวอชด็อก ไทยเลนด์ ร้อง กมธ.การที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนฯ แนบ 6 หมื่นรายชื่อ ชงแก้ พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ฯ ให้มีบทลงโทษชัดเจนทัดเทียมอารยประเทศ ยกเคส “เตี้ย มช.” เป็นตัวอย่าง
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่รัฐสภา นายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือร้องเรียนจากนางวรรณทัศน์ แสงดารา ประธานมูลนิธิวอชด็อก ไทยเลนด์ เพื่อขอเรียกร้องเพื่อแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์ในประเทศไทย พร้อมแนบไฟรายชื่อจากประชาชนและคนรักสัตว์มากกว่า 6 หมื่นรายชื่อ ที่เรียกร้องให้ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองสัตว์ โดยมี กรณี “เตี้ย มช.” มาเป็นคดีตัวอย่าง “คืนความเป็นธรรมเพื่อพี่เตี้ย มช.” มาให้ด้วย
นางวรรณทัศน์กล่าวว่า สืบเนื่องในจุบันในประเทศไทยมีการทารุณกรรมสัตว์เพิ่มมากขึ้น แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับไม่มีประสิทธิภาพ สืบเนื่องจากความไม่ชัดเจนของข้อกฎหมาย การไม่เป็นสากล ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล อีกทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเช้าใจในการนำ พ.ร.บ.ป้องกันทารุณกรรมสัตว์มาบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวกับสัตว์ ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะนำมาบังคับใช้อย่างเต็มที่ ในปัจจุบัน พ.ร.บสัตว์ป้องกันทารุณกรรมสัตว์ที่ออกมาไม่มีบทลงโทษชัดเจน ไม่มีการกำหนดโทษขั้นต่ำสุดถึงสูงสุด การตัดสินคดีการประเมินชีวิตของสัตว์เป็นทรัพย์สินที่สามารถจ่ายเป็นสินไหมทดแทนได้ แทนที่จะคำนึงถึงคุณค่าในการดำรงชีวิต และมีบทลงโทษในการกระทำผิดเยี่ยงการกระทำเช่นเดียวกับมนุษย์ การปล่อยให้ผู้กระทำความผิด ทารุณกรรมสัตว์ในรูปแบบต่างๆ แม้จะพ้นผิดหรือได้รับโทษน้อยแทบทุกคดีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทที่เป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา และทำให้ผู้กระทำความผิดเกิดความไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ทำให้เกิดการกระทำทารุณกรรมสัตว์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อจิตใจและเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีต่อเยาวชนไทย
นางวรรณทัศน์กล่าวต่อว่า มูลนิธิวอชด็อก ไทยแลนด์ และกลุ่มคุ้มครองสิทธิสัตว์แห่งประเทศไทย รวมทั้งองค์กร พันธมิตรที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพสัตว์และการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ จึงอยากเรียกร้องให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ในประเทศไทยให้มีความทันสมัยตามหลักสากล และมีการบรรจุบทลงโทษต่อผู้กระทำความผิด ให้เป็นคดีอาญาที่ว่าด้วยการบังคับ เข่นฆ่า ทำร้ายชีวิตสัตว์ ให้มีบทลงโทษฉกเช่นเดียวกับการใช้กฎหมายที่ใช้คุ้มครองชีวิตมนุษย์ ทางกลุ่มฯ เชื้อว่าทุกชีวิตมีคุณค่าเท่าเทียมกัน ดังนั้นพวกเราจึงได้จึงทำหนังสือเพื่อร้องขอให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาในสภา เพื่อให้มีการตั้งกรรมาธิการในการดูแลปกป้องสิทธิสัตว์และสิ่งแวดล้อมในประทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยได้มีบรรทัดฐานเทียบเท่ากับนานาอารยะประเทศที่กำลังขับเคลื่อนเรื่องสิทธิสัตว์และสิ่งแวดล้อมต่อไป
ด้านนายนิติพลกล่าวภายหลังรับหนังสือว่าตนจะได้นำเรื่องเข้าหารือต่อ กมธ.ต่อไป