สวนดุสิตโพล เผย ส่วนใหญ่สนใจประเด็นโควิด-19 เรื่องสถิติการระบาด อยากรับรู้ข่าวสารจากทีวีทุกวัน ส่วนมากเครียดวิตกกังวล เหตุมีทั้งข่าวจริงข่าวปลอม พร้อมหากิจกรรมทำคลายเครียด
วันนี้ (19 เม.ย.) สถานการณ์ของเชื้อโควิด-19 ณ วันนี้ ยังคงเป็นประเด็นที่ประชาชนสนใจและติดตามมากที่สุด การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนจึงมีความสำคัญต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “ข่าวหรือประเด็น” ที่ประชาชนอยากรู้ในช่วงโควิด-19 ระบาด จำนวนทั้งสิ้น 1,243 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-17 เมษายน 2563 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนอยากรับรู้ “ข่าวหรือประเด็นใดบ้าง? เกี่ยวกับโควิด-19”
อันดับ 1สถิติ/ตัวเลข/ข้อมูล เกี่ยวกับการระบาดของโรค 79.85%
อันดับ 2ระยะเวลาที่โรคจะหยุดระบาด 69.94%
อันดับ 3ยาที่รักษาโรคโควิด-1963.50%
อันดับ 4วิธีการ/แนวทางป้องกันโรค 60.03%
อันดับ 5การดูแลรักษาของแพทย์ 55.52%
2. ประชาชนอยากรับรู้ “ข้อมูลข่าวสารหรือประเด็นที่สนใจเกี่ยวกับโควิด-19” จากช่องทางใด?
อันดับ 1โทรทัศน์81.01%
อันดับ 2เฟซบุ๊ก (Facebook) 66.37%
อันดับ 3ไลน์ (Line)58.97%
อันดับ 4บุคลากรทางการแพทย์ 46.74%
อันดับ 5เว็บไซต์ข่าวต่างๆ 44.97%
3. ประชาชนอยากรับรู้ “ข้อมูลข่าวสารหรือประเด็นที่สนใจเกี่ยวกับโควิด-19” บ่อยครั้งเพียงใด?
อันดับ 1ทุกวัน 60.34%
อันดับ 2ทุกครึ่งวัน (ครึ่งวันเช้า-ครึ่งวันเย็น) 27.84%
อันดับ 3ทุกชั่วโมง 5.95%
อันดับ 42-3 วันครั้ง 5.87%
4. จากการเสพข่าวหรือประเด็นเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ทุกวันนี้ ประชาชนเกิด “ความเครียด/วิตกกังวล” หรือไม่?
อันดับ 1เครียด/วิตกกังวล 58.57%
อันดับ 2ไม่เครียด/ไม่วิตกกังวล 41.43%
5. “ความเครียด/วิตกกังวล” จากการเสพข่าวหรือประเด็นเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของประชาชน เกิดจากอะไร?
อันดับ 1มีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอม แยกแยะยาก 60.70%
อันดับ 2ตัวเลข/จำนวนข้อมูลผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก 55.01%
อันดับ 3การนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกัน หลากหลายข่าว44.04%
อันดับ 4การเสพข่าว/ข้อมูลที่มากเกินไป 42.01%
อันดับ 5การนำเสนอข้อมูลที่ทำให้ตื่นตระหนก31.17%
6. เมื่อมี “ความเครียด/วิตกกังวล” จากการเสพข่าวหรือประเด็นเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ประชาชนทำอย่างไร?
ให้หายเครียด
อันดับ 1หากิจกรรมอื่นทำ เช่น เล่นเกม ปลูกต้นไม้ คุยแชต เล่นโซเชียล ฯลฯ72.40%
อันดับ 2เสพข่าวอย่างมีสติ 59.29%
อันดับ 3ใช้วิจารณญาณแยกแยะข่าวจริง ข่าวปลอม 46.04%
อันดับ 4ไม่เสพข่าวมากเกินไป39.89%
อันดับ 5เปลี่ยนไปอ่านข่าวประเภทอื่น เช่น ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา ฯลฯ33.20%