xs
xsm
sm
md
lg

กมธ.การสื่อสาร โทรคมนาคม จัดเสวนา “รู้ทัน...กันข่าวปลอม” ย้ำต้องสร้างความเข้าใจแก่สังคมในการเสพข่าว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานคณะ กมธ.การสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พร้อมด้วยนายศาสตรา ศรีปาน โฆษกคณะ กมธ.การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ร่วมกันรับยื่นข้อเสนอแนะจากการจัดทำโครงงานและจัดเสวนาเรื่อง Fake News กับการเมืองไทย “รู้ทัน...กันข่าวปลอม” จาก น.ส.ชิสา นาราภัทรยศ และ น.ส.สิริรัตน์ สิริอร่ามสกุล ตัวแทนนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า เพื่อให้คณะ กมธ.นำไปเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักและใส่ใจในเรื่องดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้นประธานคณะ กมธ. กล่าวว่าจะนำข้อเสนอแนะที่ได้รับไปพิจารณาศึกษาต่อปัจจุบันการเสพข่าวออนไลน์มีอิทธิพลต่อสังคมเป็นอย่างมาก และทางคณะ กมธ.ให้ความสำคัญต่อประเด็นดังกล่าวเนื่องจากข่าวปลอมสร้างความเสียหายอย่างมาก ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งในสังคมไทย และทั่วโลก โดยจะนำข้อมูลที่ได้รับไปสนับสนุน สร้างความตระหนักให้สังคมและบุคคลในการรับรู้ให้เป็นรูปธรรม รวมถึงนำไปแก้ไข ปรับใช้ในระดับนโยบายของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ การป้องกัน Fake News ได้ดีที่สุด ไม่ใช่การบังคับใช้กฎหมายแต่อย่างเดียว แต่เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเเก่สังคมในการเสพข่าวและข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ ภาครัฐควรมีหน่วยงานที่มีดูแล ด้านการส่งเสริมรณรงค์การให้ความรู้แก่ประชาชน มากขึ้นขอเสริมประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และหน่วยงานเอกชนในการเข้าไปมีส่วนร่วมในศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของภาครัฐเพื่อประกันว่าจะไม่มีการใช้หน่วยงานเหล่านั้นเล่นงานผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง

อีกประเด็นคือ เรื่องการเพิ่มหน้าที่ของ social media ขนาดใหญ่ (เช่นว่ามีสมาชิกตั้งแต่ 1,000,000 คนขึ้นไป) ในการสร้างช่องทางการร้องเรียนของสมาชิกเกี่ยวกับข่าวปลอมที่เกิดขึ้นในสื่อนั้นๆ ซึ่งหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนต้องดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงโดยหากพบว่าเป็นข่าวปลอมจริงต้องดำเนินการลบข่าวหรือบัญชีผู้ใช้ที่เป็นคนสร้างข่าวปลอมขึ้นและทุก 6 เดือน ต้องมีการจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อสาธารณะเกี่ยวกับเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนและผลการดำเนินการ โดยหากไม่จัดทำจะมีโทษปรับอีก

ปัญหาคลาสสิกคือ ความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายต่อข่าวปลอมที่เกิดขึ้น เพราะความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม อันนี้เป็นข้อเสนอว่าทุกวันนี้เรามีเครื่องมือการตลาดชื่อว่า social listening tool เป็น AI ที่สามารถ track keyword ต่างๆ ในโซเชียลมีเดียได้ในหลากหลายแพลตฟอร์ม เช่น FB, IG, TWT และ Pantip ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการ Monitor fake news ในโซเชียลมีเดียได้ เพื่อให้เราสามารถที่จะข่าวปลอมจากต้นตอ และการแพร่กระจาย เพื่อที่จะออก content มาชี้แจง หรือทำมาตรการต่างๆ ในเรื่องนั้นๆ ได้ทันท่วงทีมากขึ้น ก่อนที่ fake neพs จะยิ่งกระจายตัวไปมากกว่าเดิม




กำลังโหลดความคิดเห็น