xs
xsm
sm
md
lg

“สวทช.-เนคเทค” แตะมือ “สอศ.” จัดแข่งขัน “R Cheewa Hackathon 2019” เฟ้นหานักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็น “นวัตกร”

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“เนคเทค - สวทช.” กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ร่วมกับ “สอศ.” กระทรวงศึกษาฯ จัดแข่งขัน “R Cheewa Hackathon 2019” เฟ้นหานักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็น “นวัตกร” เน้นปั้นความเชี่ยวชาญ “Coding – Internet of Things” เสริมความเข้มแข็ง EEC


เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานพันธมิตร จัดประกวดแข่งขันโครงการพัฒนานักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็นนวัตกร “R Cheewa Hackathon 2019” สำหรับสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ EEC ภายใต้หัวข้อ Smart Farm, Smart Home, Smart Factoryระหว่างวันที่ 20-22 ส.ค.62 ณ ห้องออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี เป็นการแข่งขันเพื่อประยุกต์วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงส่งเสริมและกระตุ้นให้นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่ EEC ให้มีความเชี่ยวชาญในการ Coding และ IoT เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรมืออาชีพที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของประเทศในอนาคต โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานกิตติมศักดิ์ KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) ในการนี้ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และ ดร.ประชาคม จันทรชิต รองเลขาธิการ สอศ.ให้การต้อนรับ
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช.โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ให้ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบการคิดเชิงระบบ วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นระบบการคิดที่สำคัญ และจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้กับเยาวชนโดยเฉพาะในช่วงวัยเรียน ซึ่งกระบวนการสร้างให้เกิดการคิดดังกล่าว ไม่สามารถทำได้อย่างตรงไปตรงมาผ่านการสอนทางทฤษฎี เนื่องจากเป็นกระบวนการคิด แต่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการออกแบบเครื่องมือและบทเรียนที่เหมาะสม เนคเทค สวทช. จึงได้พัฒนาบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright เพื่อเป็นเครื่องมือการเรียน Coding และ IoT (Internet of Things) ขึ้น อีกทั้ง KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่มีศักยภาพสูงสามารถพัฒนาเป็นระบบอัตโนมัติต่าง ๆ และควบคุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ด้วยการพัฒนาบอร์ดนี้ สวทช. จึงได้นำบอร์ด KidBright มาพัฒนาและเปิดโอกาสให้นักศึกษานำไปพัฒนาเป็นโครงงานระบบอัตโนมัติเพื่อเป็นการพัฒนา ส่งเสริม และกระตุ้นให้นักศึกษาระดับอาชีวศึกษามีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Coding และ IoT จึงเกิดเป็นโครงการพัฒนานักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็นนวัตกร KidBright: IoT Coding at Vocational Education “R Cheewa Hackathon” ขึ้น

สำหรับโครงการนี้ เกิดจากความร่วมมือของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย เนคเทค สวทช. และ กระทรวงศึกษาธิการ โดย สอศ. ในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคฯ ในพื้นที่ EEC ในการสนับสนุนสร้างสื่อการเรียนการสอนผ่านบอร์ด KidBright IoT และ KidBright IDE จำนวน 9,000 บอร์ด ให้กับวิทยาลัยอาชีวศึกษา 180 แห่ง ซึ่งนักศึกษาในสายอาชีวศึกษาเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากเครื่องมือในการเรียนโปรแกรมมิ่งดังกล่าว รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็ม (STEM) และทักษะการเป็นนวัตกรที่มีความสามารถในการสร้างเครื่องมือและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ อีกทั้งยังเป็นการขยายโอกาสให้กับวิทยาลัยเทคนิคในการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ และสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาด้วยการสร้างจิตนาการผ่านบอร์ด KidBright เป็นนักค้นคว้าและมีทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ โดยสามารถประยุกต์ใช้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสอดรับกับพันธกิจของ สวทช. ที่นอกจากจะเสริมสร้างการวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศกรรมแล้วยังส่งเสริมในด้านการพัฒนากำลังคน (Human Resource Development) และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จำเป็น รวมถึงการให้บริการด้านธุรกิจและการลงทุนต่าง ๆ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

โดยในปีนี้ ได้จัดให้มีการประกวดแข่งขัน“R Cheewa Hackathon 2019”ภายใต้หัวข้อ “Smart Farm, Smart Home, Smart Factory”เฟ้นหาที่สุดของนวัตกรมืออาชีพอาชีวศึกษาที่ประยุกต์วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ผ่านการสร้างจินตนาการด้วยบอร์ด KidBrightในการสร้างโครงงานของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ ปวช. สังกัดสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ EEC ได้แก่ สถาบันอาชีวศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยทีมผู้แข่งขัน ประกอบด้วยอาจารย์และนักศึกษาจำนวน 20 ทีม เข้าร่วมกิจกรรมฯ อย่างเข้มข้นต่อเนื่องตลอด 38 ชั่วโมง ซึ่งทีมที่ชนะการแข่งขัน จะมีโอกาสได้แสดงผลงานในงานวันรวมพลคนคิดไบร์ท ครั้งที่ 2 ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 ณ event gallery ชั้น 8 ห้างสรรพสินค้าเซน ถนนราชดำริต่อไป.


กำลังโหลดความคิดเห็น