xs
xsm
sm
md
lg

ผู้ตรวจฯไทย-ฟิลิปปินส์ จับมือยกระดับความร่วมมือคุ้มครองสิทธิ เล็งผนึก 5 ชาติตั้งผู้ตรวจฯอาเซียน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ปธ.ผู้ตรวจการฯ จับมือผู้ตรวจการแผ่นดินฟิลิปปินส์ ยกระดับความร่วมมือคุ้มครองสิทธิคนของ 2 ประเทศ พร้อมลงพื้นที่ศึกษาการแก้ไขปัญหาอุโมงค์ยักษ์กทม.ขาดประสิทธิภาพระบายน้ำจ่อผนึกกำลัง 5 ประเทศ สมาชิกตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งอาเซียนปี 63

วันนี้ (2ก.ค.) พล.อ. วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานลงนามบันทึกความร่วมมือทวิภาคีระหว่างผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทยและผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
โดยพล.อ.วิทวัส กล่าวตอนหนึ่งว่า

ผู้ตรวจการแผ่นดินมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความยุติธรรม การปฏิบัติหน้าที่นั้นไม่ได้ดูแลเฉพาะประชาชนบนผืนแผ่นดินไทยเท่านั้นยังรวมถึงคนไทยในต่างแดนโดยได้ดำเนินการบูรณาการการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อสร้างความเป็นธรรมและคุ้มครองประชาชนในประชาคมอาเซียนมาโดยตลอด การลงนามใน MOU ว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีร่วมกับนายแซมมูเอล เรเยส มาร์ติเรส ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อร่วมกันผลักดันเป้าหมายในการอำนวยประโยชน์สุขให้กับประชาชนของตนภายใต้กรอบการทำงานร่วมกันในระยะ 10 ปี และที่สำคัญคือการนำไปสู่การจัดประชุม ASEAN Ombudsman Dialogue ที่จะกำหนดขอบเขตและกลไกความร่วมมือภายใต้กรอบ ASEAN Ombudsman Forum : AOF ซึ่งเป็นเวทีความร่วมมือพหุภาคีของ องค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินในประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติอาเซียน ที่ขณะนี้มีจำนวน 5 ประเทศ คือ ผู้ตรวจการแผ่นดินของไทย ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย สำนักเรื่องร้องเรียนภาครัฐแห่งประเทศมาเลเซีย และหน่วยงานตรวจสอบแห่งรัฐ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ถือเป็นการรวมตัวกันตามแนวคิดริเริ่มของผู้ตรวจการแผ่นดินไทยในการก่อตั้งเวทีผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งอาเซียน

ทั้งนี้ที่ผ่านมาผู้ตรวจการแผ่นดินของไทยได้ขยายความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือและสร้างความเป็นธรรมแก่โดยลงนาม MOU ร่วมกับผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศแรก พร้อมทั้งเชิญลงพื้นที่เพื่อศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ที่จ.เชียงใหม่ ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศไทย อีกทั้งให้รับทราบผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นที่ประจักษ์ และยังได้มีโอกาสเดินทางไปเยือนสำนักเรื่องร้องเรียนภาครัฐแห่งประเทศมาเลเซีย และหน่วยงานตรวจสอบแห่งรัฐ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อหารือเชิงนโยบาย แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมถึงรับทราบสภาพปัญหาความเป็นอยู่ของคนไทยในต่างแดนแรงงานไทยที่หลั่งไหลเข้าไปประกอบอาชีพอื่น ๆ ทั้งตามร้านอาหารไทยและร้านนวดแผนไทยซึ่งมีทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย รวมถึงการเข้าไปศึกษาต่อหรือท่องเที่ยว การสร้างช่องทางขึ้นมารองรับให้ประชาชนเข้าถึงกลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนภาครัฐในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละประเทศโดยเฉพาะอาเซียนจึงมีความสำคัญยิ่ง ซึ่งขณะนี้ได้ผลักดันให้เกิดความร่วมมือพหุภาคี 5 ประเทศ เพื่อร่วมกันเป็นผู้ก่อตั้งเวทีผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งอาเซียน(ASEAN Ombudsman Forum : AOF) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่จะถึงนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังลงนามความร่วมมือกับผู้ตรวจการแผ่นดินของฟิลิปปินส์แล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดินของไทย พร้อมด้วยศาสตราจารย์ แอมซูเลียน ริไฟ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และนายแซมมูเอล เรเยส มาร์ติเรส ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ลงพื้นที่ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร สำนักการระบายน้ำ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2

เพื่อศึกษากระบวนการแก้ไขปัญหากรณีประชาชนร้องเรียนให้ตรวจสอบการดำเนินโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำของกทม.เนื่องจากไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพการระบายำของกทม.เพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากผู้ตรวจการแผ่นดินจะศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกทม.อย่างเป็นระบบแล้วก็ได้มีการหยิบยกกรณีที่กทม.บริหารจัดการน้ำท่วมยังไม่มีประสิทธิภาพทำให้เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.62 เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่มาพิจารณา โดยจากการประชุมร่วมกับกทม.ที่ผ่านมาแจ้งว่าปัญหาน้ำท่วมเกิดจากฝนตกหนัก น้ำทะเลหนุนสูง แผ่นดินเกิดการทรุดตัว ปัญหาขยะและสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ การใช้พื้นที่ไม่ตรงตามผังเมือง พื้นที่รองรับน้ำไม่เพียงพอ อีกทั้งหลายพื้นที่เป็นแอ่งกระทะน้ำไม่สามารถไหลจากที่ต่ำไปหาที่สูงได้การระบายน้ำจึงไม่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติจึงต้องใช้วิธีการสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่ และปัจจุบันกทม.ได้แก้ไขด้วยการก่อสร้างคันป้องกันน้ำปิดล้อมพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่คันกั้นริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ และคันกั้นน้ำพระราชดำริ บางส่วนน้ำระบายลงท่อ คู คลอง สถานีสูบน้ำ รวมถึงอุโมงค์ระบายน้ำซึ่งจะเกิดประสิทธิภาพสูงคือรับการระบายจากพื้นที่ลุ่มต่ำซึ่งขณะนี้มีเพียง 4 ตัว คือ คลองเปรมประชา บึงมักกะสัน คลองแสนแสบ คลองลาดพร้าว และคลองบางซื่อ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 แห่ง และมีแผนสร้างเพิ่มอีก 4 แห่ง รวมถึงขุดลอกคูคลอง สร้างขยายท่อระบาย ก่อสร้าง สถานีสูบน้ำ บ่อสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ พื้นที่แก้มลิง และเพื่อหาแนวทางการรับมือไม่ให้เกิดสภาวะวิกฤตเหมือนที่ผ่านมาวันนี้ก็ได้ประชุมร่วมกับนายจักกพันธุ์ ผิวงามรองผู้ว่ากทม. นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอีกครั้งด้วย















กำลังโหลดความคิดเห็น