xs
xsm
sm
md
lg

“ปานเทพ” แนะ “ลุงตู่” เด็ดขาดปราบทุจริต หวั่น ปชช.เกินทนจะเกิดชุมนุมใหญ่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ปานเทพ” ชี้หากรัฐบาลปล่อยทุจริตตรวจสอบไม่ได้ คล้ายสมัยทักษิณ ประชาชนเกินทนจะลงสู่ท้องถนน แนะ “ประยุทธ์” ปราบโกง แม้มีหวังน้อยก็ตาม พร้อมเตือนใช้เกมยุบสภาเป็นอำนาจต่อรองพรรคร่วมอาจไร้ผล เพราะเลือกตั้งใหม่เสี่ยงคะแนนลดฮวบ



วันที่ 6 มิ.ย. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง “นิวส์วัน” ในหัวข้อ “ประยุทธ์” ภาค 2 ความเหมือน-ความต่าง

โดยนายปานเทพกล่าวว่า เมื่อไม่มีมาตรา 44 แล้ว และยังเต็มไปด้วยการต่อรองของพรรคร่วม ยากที่ พล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ในสภาพเดิม มีอำนาจต่อรองอยู่บ้างตรงที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ แน่นอนแล้ว หากอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลย้ายข้าง อำนาจต่อรองขั้นที่สองที่เขาเชื่อกัน คือ การยุบสภา ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ รักษาการต่อได้อีก และเชื่อว่าหากอยู่ฝั่งตรงข้ามก็ถูกกำจัดได้ เพราะอำนาจ ส.ว. และองค์กรอิสระก็ยังอยู่ในมือ มีสิทธิ์ถูกเล่นงานดำเนินคดีความในสารพัดคดี

หากเลือกตั้งใหม่ 125 เสียงในสภาผู้แทนฯ น่าจะดำเนินต่อไปได้ ก็ได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกเหมือนเดิม ที่คิดว่านักการเมืองมีอำนาจต่อรองสูงกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่แน่ นี่เป็นเหตุผลที่พลังประชารัฐไม่แคร์ข้อเสนอของประชาธิปัตย์ ว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญ เพราะเขามีอำนาจต่อรองให้สามารถอยู่ยาวถึง 8 ปี เพียงแต่ว่าคำถามก็คือ มั่นใจหรือว่ายุบสภาอีกรอบ รัฐบาลเสียงข้างมากยังจะได้เกิน 125 เสียง

มีความเสี่ยงสูงที่พลังประชารัฐจะได้เสียงน้อยลง นอกจากต้องแย่งชิงคะแนนความนิยมกับประชาธิปัตย์เอง เพราะเป็นขั้วเดียวกันที่ไม่เอาทักษิณ และยิ่งถ้ามีการทุจริตมาก ในอนาคตจะมีพรรคที่คล้ายๆ อนาคตใหม่เกิดขึ้น เพื่อมาเอาชนะพลังประชารัฐ

นายปานเทพกล่าวอีกว่า หากการตรวจสอบรัฐบาลไม่สามารถทำได้ เกิดการทุจริตเกินกว่าจะยอมรับได้ เหมือนกับสมัยรัฐบาลทักษิณ แล้วอีกฝ่ายก็ไม่สามารถเอาชนะด้วยการเลือกตั้ง ก็อาจนำไปสู่การเมืองบนท้องถนน มีการชุมนุมยืดเยื้อ เพียงแต่กลุ่มชุมนุมจะเป็นอีกวัยหนึ่ง และอีกความรู้สึกแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่ต่อต้านเผด็จการรัฐสภา

เว้นเพียงแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จะเสียสละทำสิ่งที่ถูกต้อง จัดการทุจริตให้ประชาชนเห็น ให้มั่นใจว่าแม้กลไกตรวจสอบไม่ได้ แต่ผู้นำประเทศหยุดได้ ซึ่งตนมีความหวังน้อยมาก เพราะโครงสร้างไม่เป็นแบบนั้น แต่ถ้าทำได้จะยกย่อง ชื่นชม และให้กำลังใจ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องเผชิญความเสี่ยงความขัดแย้งต่อไป

คำต่อคำ : ประยุทธ์ ภาค2 ความเหมือน-ความต่าง คนเคาะข่าว 06/06/2019


เติมศักดิ์- สวัสดีครับขอต้อนรับเข้าสู่รายการคนเคาะข่าววันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2562 คนเคาะข่าววันนี้วิเคราะห์ทิศทาง แนวโน้มสถานการณ์การเมืองหลังจากที่รัฐสภาเมื่อคืนนี้เพิ่งลงมติให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ต่ออีกสมัยหนึ่งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 500 ต่อ 244 พลเอกประยุทธ์ เมื่อมาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่งแต่ว่าเงื่อนไขแตกต่างไปจากเดิมหลายประการ ประยุทธ์ ภาค 2 จะเหมือน จะต่าง ทั้งในตัวคุณประยุทธ์เอง และก็เงื่อนไขแวดล้อมจะต่างออกไปแค่ไหน และเงื่อนไขที่ต่างออกไป จะทำให้รัฐบาลประยุทธ์ 2 มีอายุยืนยาวแค่ไหน หลังจากที่เมื่อเช้าเราเห็นพาดหัวข่าว ยกตัวอย่างหนึ่ง คือ พปชร. ล้มดีลพรรค หลัง บิ๊กตู่ ได้นายกฯ ทวงคืน 3 กระทรวงเกรดเอ เรามาวิเคราะห์กับอดีตโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สวัสดีครับ อาจารย์ปานเทพ


ปานเทพ- สวัสดีครับ สวัสดีครับท่านผู้ชมครับ


เติมศักดิ์- ก็คงจะเป็นไปอย่างที่อาจารย์ปานเทพ เคยบอกกัยรายการเรา ว่าก่อนที่จะลงมติเลือกพลเอกประยุทธ์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง กับหลังจากลงมติไปแล้ว เกมเปลี่ยน เชิญครับอาจารย์ครับ


ปานเทพ- เกมเปลี่ยนทันทีครับ ที่จริงผมเคยวิเคราะห์ว่า ถ้ารัฐบาลเขาจะร่วมงานกันกับพรรคประชาธิปัตย์นะครับ สิ่งที่เราจะต้องเห็นก็คือว่าพรรคพลังประชารัฐจะต้องไม่ส่งคู่แข่งนะครับ และเป็นที่ชัดเจนว่าคุณชวน หลีกภัย เป็นแคนดิเดต ประธานสภาผู้แทนราษฎร จังหวะนั้นถือว่าเป็นอำนาจต่อรองของพรรคประชาธิปัตย์


เติมศักดิ์- จังหวะนั้นใช่ไหมครับ


ปานเทพ- เป็นจังหวะเดียวเลยนะครับ เพราะว่าถ้านั้น เกิดพรรคพลังประชารัฐเสนอใครสักคนขึ้นเป็นแคนดิเดต ประธานสภาผู้แทนราษฎร เสียงก็จะแตกในสภาฯ พรรคเพื่อไทยก็เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานอนุสภาฯ เอง เกมจะเปลี่ยนทุกอย่าง เพราะฉะนั้นการที่เสนอคุณชวน หลีกภัย เป็นการล่วงหน้าไว้ก่อน ก็เท่ากับปิดทางพรรคพลังประชารัฐจะเสนอใครขึ้นเป็นแคนดิเดต ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะว่าไปแล้ว ในสถานการณ์ยกนั้นเนี่ย ต้องถือว่าพรรคประชาธิปัตย์มีอำนาจต่อรองเหนือกว่าพรรคพลังประชารัฐ ในช่วงเวลานั้น


เติมศักดิ์- ในเรื่องของตำแหน่งประธานรัฐสภาฯ


ปานเทพ- ซึ่งมันจะเกี่ยวข้องกับการชี้การอภิปราย การกำหนดวาระการประชุม


เติมศักดิ์- การคุมเกม


ปานเทพ- การคุมเกม ซึ่งจะเห็นได้ว่ากรณีคุณชวน หลีกภัย ค่อนข้างจะแม่นยำในกฎกติกาและก็สามารถคุมเกมการประชุมรัฐสภา ได้อย่างยอดเยี่ยมมาก


เติมศักดิ์- ด้วยบารมีด้วยนะ


ปานเทพ- ด้วยบารมีด้วย ทุกคนเกรงใจ แต่ว่าอีกขั้นตอนหนึ่งก็คือการเลือกนายกรัฐมนตรีนะครับ ซึ่งผมจะเรียนให้ทราบว่ายังไงก็ไม่มีทางพลิกโผ เพราะว่าพลเอกประยุทธ์ จะต้องเป็นนายกรัฐมนตรี อยู่แล้ว แล้วแน้วโน้มก็ชัดเจนว่า เสียงของวุฒิสภาทั้งหมดก็เทให้กับนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และก็พรรคร่วมรัฐบาล ก็มีเกินนะครับ 125 ที่นั่ง ที่รวมไปกันแล้วมากไปถึง 500 ที่นั่งนะครับ เรื่องที่ทำให้หลายคนสบายใจต่อรัฐบาลชุดนี้ก็คือ ไม่เกิดปรากฏการณ์รัฐบาลเสียงข้างน้อย ในชั้นการเลือกนายกรัฐมนตรี


เติมศักดิ์- เพราะตอนนี้ก็เกิน 250 แม้จะนิดหน่อยนะ


ปานเทพ- แม้ว่าจะนิดหน่อย แต่คำว่าเกิน นั่นก็แปลว่า ไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่มีรัฐบาลอายุสั้นเกินไป การที่มีรัฐบาลอายุสั้นเกินไป ก็แปลว่าบริหารประเทศไม่ได้ และบางพรรคซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรและก็วุฒิสภา เพื่อเปลี่ยนนโยบายเนี่ย ก็ต้องอาศัยเสียงข้างมากทั้งสองส่วนเช่นเดียวกัน กรณีที่ชัดเจนที่สุดคือพรรคภูมิใจไทย ซึ่งต้องนำภารกิจที่สัญญากับทางประชาสังคมเอาไว้ ก็คือนโยบายกัญชานะครับ ว่าจะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ ไม่อาศัยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็ไม่ได้ เพราะต้องมีวาระที่หนึ่งในการแก้ไขกฎหมาย ไม่อาศัยเสียงวุฒิสภา ซึ่งต้องมีการแก้ไขแปรญัตติในวาระที่สอง ที่สาม ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน ก็แปลว่าปรากฎการณ์นี้ก็ทำให้พรรคภูมิใจไทย ก็จำเป็นต้องประกาศก่อนหน้านี้ว่า อย่างน้อยก็มีเสียงเกินครึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร บวกกับวุฒิสภา ซึ่งก็เป็นภารกิจที่ทำสำเร็จ พรรคภูมิใจไทยจึงมีความชอบธรรมที่จะไปร่วมกับรัฐบาลในภารกิจนี้นะครับ ซึ่งแน่นอนนะครับว่า อาจจะมีหนึ่งเสียง ซึ่งอาจจะแตกออกมา ไม่เลือกฝ่ายใด ฝั่งไหน ก็เป็นข่้อสังเกตได้ว่า แม้กระทั่งพรรคภูมิใจไทยก็ยังมีคนบางคนอาจจะไม่เห็นด้วยที่จะต้องไปเลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีนะครับ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ก็ยังถือว่าเป็นปรากฎการณ์อันเล็กน้อยในพรรคร่วมรัฐบาลที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หันกลับมามองที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งจะเป็นตัวแปรอีกพรรคหนึ่งนะครับว่าเป็นพรรคที่เดิมทีเสียงแตก แต่สุดท้ายแล้วเนี่ย ก็คงจะชั่งใจอยู่นานนะครับว่าจะมีเงื่อนไขอะไรมนการร่วมรัฐบาลที่จะมีความชอบธรรมในการบอกกับประชาชน


เติมศักดิ์- เพราะว่าอดีตหัวหน้าพรรคเขาประกาศไปก่อนเลือกตั้งว่า ไม่หนุน บิ๊กตู่ เป็นนายกฯ


ปานเทพ- ผมคิดว่าใครก็ตามที่เสนอพรรคประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาลนะครับ แลกเพียงเก้าอี้รัฐมนตรี มันเป็นเรื่องการนำเสนอนโยบายเพื่อจะเป็นการสร้างผลงานต่อประชาชน หรือการแบ่งอาณาจักรที่คิดว่าตัวเองได้กระทรวงสำคัญมา มองได้สองมิตินะครับ แต่ผมคิดว่าเหตุการณ์หนึ่งที่ผ่านไปแล้ว ก็คือการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ


เติมศักดิ์- ครับ เป็นหนึ่งในเงื่อนไข ในการจะร่วมรัฐบาล


ปานเทพ- เดิมที เดิมที ซึ่งเงื่อนไขนี้ดูจะมีเหตุผลและมีน้ำหนักมากที่สุด ถ้าพรรคพลังประชารัฐเห็นชอบด้วยนะครับ หมายถึงว่า คำอธิบายบอกว่าไปร่วม ดีกว่าไม่ร่วม คำอธิบายบอกว่า ถึงไม่ร่วมพลเอกประยุึทธ์ ก็จะเป็นนายกฯ อยู่ดี แต่การเข้าไปร่วมและได้หนึ่งเงื่อนไขสำคัญ คือขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ จะทำให้ยุติการสืบทอดอำนาจได้สำเร็จ เพราะการไม่ร่วม การสืบทอดอำนาจก็ยังไม่ยุติ แต่การแก้รัฐธรรมนูญ ดูจะมีความชอบธรรมประการเดียว ที่จะทำให้การร่วมแล้วจะหยุดสืบทอดอำนาจได้ ในอนาคตโดยเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งทันทีที่เกิดปรากฏการณ์นี้ก็มีการต่อรองกันสักพักใหญ่ก่อนหน้านี้ ในที่สุดก็มีการลดระดับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องท้ายๆ หรืออาจจะไม่สนใจอีกต่อไป เมื่อเทียบกับน้ำหนักของตำแหน่งรัฐมนตรีที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้


เติมศักดิ์- อยากไปแก้ไขปัญหาให้ประชาชน แก้ปัญหาปากท้อง


ปานเทพ- เพราะว่าในความคิดนี้ก็คงมีข้อถกเถียง สองมิติ มิติที่หนึ่งก็คือความพยายามในการบอกประชาชนถึงเหตุผลในการเข้าร่วมว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อยุติการสืบทอดอำนาจ กับอีกฝั่งหนึ่งมีความคิดว่า ก็ไปร่วมรัฐบาลได้ในสภาพรัฐธรรมนูญแบบนี้ถึงจะมีโอกาสเป็นรัฐบาล เพราะว่าลำพังพรรคประชาธิปัตย์ ยากที่จะไปชนะเวทีสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากแต่เพียงประการเดียว โอกาสยากมากที่จะไปชนะเวทีนั้นซึ่งอาจจะเป็นผลทำให้ไม่มีโอกาส ที่พรรคพลังประชารัฐจะเสนอพลเอกประยุทธ์ กลับมาก็ไม่รู้พรรคประชาธิปัตย์ จะได้เป็นรัฐบาลหรือเปล่า ดังนั้นรัฐธรรมนูญแบบนี้นั้นดีแล้ว ก็เท่ากับหยุดระบบทักษิณได้ รัฐธรรมนูญแบบนี้ทำให้ประชาธิปัตย์มีโอกาสจะเป็นรัฐบาลไปอีก 8 ปีก็ได้ ถ้าคิดในมิติของการมีโอกาสเป็นรัฐบาลและหยุดฟังพรรคเพื่อไทย และ พรรคอนาคตใหม่


เติมศักดิ์- หมายถึงเงื่อนไขที่ ส.ว. ต้องเข้ามาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยนะ


ปานเทพ- รักษาเอาไว้สถานภาพแบบนี้ ก็จะทำให้ได้นายกฯ เป็น บิ๊กตู่ พรรคประชาธิปัตย์ ก็จะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลไปอีกยาวเลยนะครับ ดังนั้นก็ถือเป็นหลักประกันที่ทำให้เห็นได้ว่าเขาคงสภาพรัฐธรรมนูญเอาไว้ เห็นว่าได้ประโยชน์ในการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งฝั่งที่ไม่เห็นด้วยก็คงมีมิติว่า แล้วจะไปตอบกลับประชาชนยังไง และก็จะให้ประชาชนกลับมาเลือกพรรคประชาธิปัตย์ไหม ถ้าวันหนึ่งมีความเห็นว่า ก็เลือก บิ๊กตู่ ไปสิ พรรคพลังประชารัฐก็อยู่แล้ว จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ทำไมในการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคประชาธิปัตย์จะเหลือคะแนนน้อยกว่านี้ไหม เพราะพรรคที่ไม่ใช่พรรคพลังประชารัฐ และวประกาศหนุนพลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เสียงนิดเดียวทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็น พรรครวมพลังประชาชาติไทย ประมาณ 4-5 เสียง ใช่ไหมครับ หรือว่าพรรคประชาชนปฏิรูป ของคุณไพบูลย์ นิติตะวัน 1 เสียงเอง พรรคประชาธิปัตย์จะเข้าสู่ปรากฏการณ์นั้นหรือไม่ในท้ายที่สุด ผมว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์ต่อไป แต่ว่าการตัดสินใจของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ดี หรือว่าคุณพริษฐ์ ก็ดี แล้วก็อีกหลายคนที่ตัดสินใจ ลาออกจาก ส.ส. บ้าง บางคนลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ บ้าง ผมก็คิดว่าเป็นเหตุผลอันสมควรแล้ว โดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งกระผมเองต้องถือว่ามีข้อถกเถียงเรื่องเขาพระวิหาร หนักพอสมควรนะครับ แต่ผมคิดว่าการตัดสินใจของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในครั้งนี้เนี่ยจะมีเสียงเย้ยหยันจากแนวร่วม ที่สนันสนุนพรรคพลังประชารัฐ หนุนลุงตู่ หรือหนุนพรรคประชาธิปัตย์ไปร่วมกับลุงตู่ เพราะหนุนลงตู่ นี่แหละนะครับ คนเหล่านี้จะมีเสียงเย้ยหยัน ด่าทอ ค่อนแคะ คุณอภิสิทธิ์ ว่ามัวแต่เป็นคนในภาคทฤษฎี อุดมคติ จนไม่เข้าใจชีวิตความเป็นจริง ในการหยุดระบอบทักษิณ หรืออย่างไรทำนองนี้นะครับ แต่ผมคิดว่าเหตุผลที่คุณอภิสิทธิ์ ตัดสินใจ น่ายกย่องและชื่นชมมาก ในส่วนตัวของผม ขนาดเป็นคู่กรณีกันมาก่อน เพราะผมเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ ได้ประกาศในทางสาธารณะ ในการที่ตัวเองเป็นหัวหน้าพรรคก็ต้องยืนหยัดในอุดมการณ์ของพรรค และความเป็นไปของพรรคที่มีตัวตนของตัวเอง ก็ต้องให้ตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี จะไปสนับสนุนพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่ง เป็นการล่วงหน้าว่าให้หัวหน้าพรรคอื่น หรือว่าแคนดิเดตนายกฯ พรรคอื่น เป็นนายกฯ และตัวเองจะเป็น พรรคการเมือง ของตัวเองได้อย่างไร ถ้าอย่างนั้นยุบรวมกับพรรคพลังประชารัฐ ไม่ดีหรอกหรือ
เติมศักดิ์- มันเป็นบาป 7 ประการนะ


ปานเทพ- เพราะฉะนั้นแล้ว ผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ ได้ตัดสินใจอย่างนั้น แม้ว่าจะแพ้ ก็ยังยืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองประกาศก็คือ ไม่ต้องการให้เกิดการสืบทอดอำนาจของพรรคทหาร เมื่อประกาศไปแล้ว แต่ว่าแพ้มติของพรรคประชาธิปัตย์ ครั้นจะให้ตัวเอง นะครับ เข้าไปในสภา หนุนพลเอกประยุทธ์ ก็จะผิดคำพูดตัวเอง ว่าจะยกมือสวนหรืองดออกเสียง ก็เท่ากับว่าตัวเองไม่เคารพมติพรรค ซึ่งมีเสียงข้างมากในพรรคเช่นเดียวกัน


เติมศักดิ์- หรือมีคนเสนอให้เว้นไว้ให้อภิสิทธิ์คนหนึ่ง ให้ฟรีโหวต ให้อภิสิทธิ์ คนเดียว


ปานเทพ- ก็เหมือนกับว่าเป็นการหลอกประชาชน โดยอาศัยเสียงคนอื่น ตัวเองก็หาความชอบธรรมอื่นไม่ได้ วิธีการก็คือตัดสินใจ ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ก็เท่ากับว่าไม่ต้องไปโหวตสวนกับพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะเดียวกันก็ไม่ผิดคำพูดของตัวเอง ที่จะต้องไปยกมือให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา


เติมศักดิ์- เราสามารถรักษาเกียรติภูมิ


ปานเทพ- ผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ ได้รับการชื่นชม และยกย่องในการรักษาสัจจะตัวเอง แม้ว่าวันนี้อาจจะ ถูกเย้ยหยันและถูกแสดงความรู้สึกสมน้ำหน้าหรือแสดงความรู้สึกว่า คุณอภิสิทธิ์ เป็นผู้นำที่ ไม่ถูกใจแนวร่วมลุงตู่นี้นะครับ แต่ผมคิดว่า ในระยะยาวสิ่งที่กระทำในวันนี้ ถูกพิสูจน์ในอนาคต ว่าคุณอภิสิทธิ์ ตัดสินใจถูกหรือผิด เมื่อกาลเวลาผ่านไปในโครงสร้างรัฐบาลที่มีหลายพรรคมาอยู่รวมกัน แล้วก็มีการแบ่งโควต้า แบ่งเก้าอี้รัฐมนตรี และแบ่งอาณาเขต แบ่งโควต้า แบ่งสัดส่วน โดยต่างฝ่ายต่างไม่ยุ่งซึ่งกันและกัน สภาพการเป็นแบบนี้จะนำไปสู่อะไร เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าคุณอภิสิทธิ์ตัดสินใจในวันนี้เพื่อพิสูจน์ระยะยาวในวันข้างหน้า วันนี้อาจมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ในวันหน้าจะถูกกลับมาพิสูจน์อีกครั้งว่าการตัดสินใจในวันนี้ถูกต้องหรือไม่ และในส่วนตัวผม ผมขอชื่นชมยกย่อง และชื่นชมในสัจจะของตัวเองที่ได้ประกาศเอาไว้ และผมคิดว่าตัดสินใจได้ถูกต้อง และตัดสินใจได้เหมาะสมในสถานการณ์ของคุณอภิสิทธิ์ที่ไม่ตัดสินลงไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา


เติมศักดิ์- อนาคตของคุณอภิสิทธิ์ในทางการเมือง ซึ่งแน่นอนว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่ได้ลาออกจากสมาชิกพรรค ก็ยังคงทำงานกับพรรคประชาธิปัตย์


ปานเทพ- ถูกต้องครับ


เติมศักดิ์- คุณอภิสิทธิ์จะวางบทบาทตัวเอง ในขณะที่เพื่อๆ ไปสนับสนุนบิ๊กตู่เป็นนายกฯ เพื่อนๆ คนอื่นก็ไปทำงานกับรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะวางจุดยืนตัวเองในพรรคยังไงครับ เพื่ออนาคตด้วยนะ


ปานเทพ- ผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ ก็คืออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อก่อนอาจจะมีคนไม่พอใจคุณอภิสิทธิ์ในหลายมิติ แต่ผลปรากฏการณ์เมื่อวานนี้ที่ตัดสินใจลาออก ผมคิดว่าคนจำนวนหนึ่งที่เป็นคนเสื้อแดง ก็ต้องคุณอภิสิทธิ์ในมิติใหม่ โดยเฉพาะแนวโน้มของคนรุ่นใหม่ที่สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคเพื่อไทยที่มีความเชื่อว่าการเลือกตั้งคือทุกอย่าง จะต้องหันมามองวิธีคุณของคุณอภิสิทธิ์ใหม่ จากเดิมที่มีความเชื่อว่าคุณอภิสิทธิ์จะต้องยืนข้างทหาร เป็นข้างเผด็จการ ในฝั่งที่ไม่สนใจวิธีการเลือกตั้งที่มาจากประชาชน ในระยะยาวแล้วคุณอภิสิทธิ์ได้ทลายความเชื่อเดิมของคนกลุ่มเดิมไปแล้ว เมื่อครั้งหนึ่งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถูกมองว่าแกนนำไม่มีวันติดคุก เพราะเป็นม็อบมีเส้น เมื่อวันหนึ่งติดคุก ได้ทลายความเชื่อว่าหลักนิติรัฐประเทศมีการเลือกข้างในฝั่งภาคประชาชนจบสิ้น


เติมศักดิ์- ไม่มีคำว่า 2 มาตรฐาน


ปานเทพ- ไม่มีคำว่า 2 มาตรฐาน


เติมศักดิ์- แล้วก็เลิกพูด 2 มาตรฐานได้แล้ว


ปานเทพ- แล้วก็ถึงวันนี้ไม่มีมองแบบนั้นแล้วในมิติของภาคประชาชน และผมคิดว่าก็ทำให้ทัศนะของหลายคนที่เชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นม็อบมีเส้น ยุติลงในท้ายที่สุด ไม่มีใครพูดเรื่องนี้อีกเลย มันเป็นการเสียสละในสถานการณ์หนึ่ง เพื่อทลายความเชื่อของคนกลุ่มหนึ่งในระยะยาว และผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ได้ตัดสินใจเช่นนั้น ถามว่าคุณอภิสิทธิ์จะมีบทบาทอะไรต่อไปในอนาคต ก็ในสถานะสมาชิกคนหนึ่ง เมื่อวานผมดูการอภิปราย ผมก็อยากบอกว่านักอภิปรายที่มีฝีมือดีอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์เดิม เมื่อคั่นไปเข้าร่วมรัฐบาลแล้ว บทบาทนักอภิปรายทั้งหลายก็ต้องเป็นแนวร่วมรัฐบาลที่ไม่อยากไปพูดชูพล.อ.ประยุทธ์ มากไป โดยปริยายอยู่แล้ว กี่คนที่ขึ้นมาบอกพล.อ.ประยุทธ์ดีอย่างนู้นดีอย่างนี้


เติมศักดิ์- หรือเป็นองค์รักษ์


ปานเทพ- เป็นองครักษ์ก็ไม่ถึงขั้นนั้น เพราะฉะนั้นนักอภิปรายในสภาหายไป พรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งมีนักพูดหลายคนนะครับ หายไป ปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคเพื่อไทยหลายคนที่เป็นนักปราศรัยหายไป


เติมศักดิ์- เพราะปาร์ตี้ลิสต์พรรคเพื่อไทยไม่ได้เลย


ปานเทพ- ไม่ได้เลยครับ เพราะฉะนั้นแล้วพรรคอนาคตใหม่อย่างคุณธนาธรซึ่งหลายคนอาจพูดว่ามีบทบาทในสภาฯ ก็พูดได้ ก็ยุติบทบาทส.ส. ผมอยากจะบอกว่า


เติมศักดิ์- มันสะท้อนอะไรภาพนี้


ปานเทพ- มันสะท้อนให้เห็นว่าบรรยากาศของนักพูดในสภาฯ นักปราศรัย นักอภิปราย มันมีน้ำหนักน้อยกว่าในคนยุคก่อนมาก ผมว่ามันไม่ร้อนแรง เผ็ดร้อนน่าสนใจเท่ากับคนยุคในหลายๆ คนที่เป็นนักพูดแล้วหายบทบาทไปในสภาผู้แทนราษฎร


เติมศักดิ์- เพราะว่ามันจืดไปนะ


ปานเทพ- ความรู้สึกผม แม้ว่าหลายคนเป็นมือใหม่ เป็นนักพูด คุณเติมศักดิ์ใช้คำพูดที่ถูกก็คือว่า เรารู้สึกว่ามันจืดนะครับ ถ้าเป็นคนคนเดียวกัน ลองคุณอภิสิทธิ์พูด แม้เป็นประโยคสั้นๆ ในสภาฯ ก็เงียบกริบ ต้องฟังเขาพูดว่าอะไร หรือแม้แต่คุณจตุรนต์ ฉายแสง ก็อาจจะอยู่สั่งตรงกันข้าม ลองคุณจตุรนต์ลุกขึ้นยืน ผมว่าเขาก็ฟังครับ คือผมคิดว่าคนเหล่านี้หายไปทั้งหมด สภาฯ มันลดประสิทธิภาพในการรับฟังของประชาชนเป็นจำนวนมาก ผมเชื่อว่ามีหลายคนไม่พร้อมที่จะฟังต่อ เพราะมันรู้อยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น ในเสียงข้างมาก


เติมศักดิ์- รู้ผลลัพธ์อยู่แล้ว


ปานเทพ- รู้ผลลัพธ์แล้ว มันก็ไม่สนุกแล้ว แต่เหมือนดูหนังแล้วรู้ตอนจบ จะจบยังไง เรียกว่าเป็นการสปอยล์ รู้อยู่แล้วว่าต้องเกิดอะไรขึ้น มันแทบจะไม่สนุกเลยอยู่แล้ว ยิ่งการอภิปรายแบบยังไม่ถึงขั้นเป็นนักปราศรัยแถวหน้าเกณฑ์เอ ผมว่าหลายคนต้องยอมรับว่ามันไม่สนุก มันไม่เร้าใจ มันไม่ทำให้เกิดปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงในเชิงอารมณ์ของคน ได้มากเท่าไหร่ บางทีในสภาฯ ไม่เปลี่ยนแปลงจำนวนเสียง แต่เปลี่ยนความรู้สึกคนอันนี้มีผล


เติมศักดิ์- อย่างน้อยควรจะเปลี่ยนความรู้สึกคนได้ เปลี่ยนผลลัพธ์ไม่ได้ แต่เปลี่ยนความรู้สึกคนได้


ปานเทพ- ใช่ แต่ผมรู้สึกว่าขณะนี้ยังทำไม่ถึงขั้นนั้น


เติมศักดิ์- อาจจะมีบ้างประปราย อย่างตอนค่ำๆ มีเสรีพิศุทธ์


ปานเทพ- อาจจะมีบ้าง แต่ผมก็คิดว่าในคำพูดเดียวกันผ่านบุคคลที่ไม่เหมือนกัน มันก็อาจทำให้น้ำหนักในการฟังของคนไม่เท่ากัน แล้วไม่ใช่ว่าบางคนปราศรัยไม่ดี แต่ผมคิดว่าน้ำหนัก เขาเรียกว่าเสน่ห์ในการดึงแล้วก็ตรึงใจคน มีพลังส่งไป และมีพลังส่งกลับมา ไม่ได้มีทุกคนนะครับ


เติมศักดิ์- ในอนาคตใหม่เขาคงวาดความหวังรังสิมันต์ โรม ไว้เยอะ แต่วิธีการปราศรัยของรังสิมันต์ โรม ไม่ค่อยมีเสน่ห์ แม้ว่าจะมีความร้อนแรงในแง่ของอุดมการณ์


ปานเทพ- ไม่ได้ อุดมการณ์ ความคิด ความอ่าน


เติมศักดิ์- ผู้นำชุมชนมาด้วย


ปานเทพ- แต่ก็ยังไม่ได้ เอาเข้าจริงๆ แล้วยังไม่ได้ ซึ่งผมรู้สึกว่าสภาฯ มีความจืดลงไปมาก แล้วก็ยังไม่นับว่ากลไกการตรวจสอบในเวลานี้ วุฒิสภานี้ไม่ต้องพึ่งหวัง องค์กรอิสระรัฐธรรมนูญ ผมก็ไม่คาดหวัง เพราะมันจะ กลไกผ่านคัดสรรของสนช. ในอดีตเกือบทั้งสิ้น มีส่วนมาส่วนน้อยสุดแท้แต่ แต่ว่าหวังเพิ่งกลไกองค์กรอิสระและส.ว.ไม่ได้เลย คั่นจะหวังในสภาฯ ที่เป็นฝ่ายค้าน นักปราศรัย นักอภิปราย ยังต้องฝึกอีกมาก ผมยังจึงมีความเชื่อคุณอภิสิทธิ์ในการพูดข้างนอกดั่งบทบาทในการตัดสินใจเมื่อวานนี้ ผมคิดว่าคนยังฟังการพูดนอกสภาฯ อยู่ และยังมีน้ำหนัก


เติมศักดิ์- ถ้ามองในแง่ยุทธศาสตร์ ถือว่ารุกล้ำนะ


ปานเทพ- และอาจจะมีมากกว่าคนในสภาฯ ด้วย ถ้าบรรยากาศมันเสียงข้างมากพากันไปทั้งหมดก็ดี ไม่มีน้ำหนักในการตรวจสอบก็ดี ไม่มีเสน่ห์ในการอภิปรายก็ดี น้ำหนักยังอยู่นอกสภาฯ ได้ ยกตัวอย่างกรณีล่าสุด คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ไม่ได้พูดในสภาฯ เลย แต่เพียงในสภาฯ เห็นว่าไม่ควรแสดงวิสัยทัศน์เพราะคุณประยุทธ์ไม่พร้อมที่จะไปเผชิญหน้า นักข่าวก็พร้อมนำเสนอนอกสภาฯ ในการนำวิสัยทัศน์ของคุณธนาธร ทำไมถึงเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในยุคนี้คำว่า นักการเมือง มันไม่มีความแตกต่างกันกับคนที่มีสื่อให้ความสนใจในการเผยแพร่ ความคิด ความอ่าน เพราะเมื่อก่อนคนเป็นนักการเมือง จะได้ยินในสิ่งที่พูด ได้ฟังในสิ่งที่ตัวเองมีความคิด ก็ต้องอาศัยร่วมการเฉพาะกิจ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในช่วงอภิปราย อภิปรายงบประมาณแผ่นดิน อภิปรายไม่ไว้วางใจ อภิปรายนโยบายของรัฐ เสนอกฎหมาย ต่างๆ นานา และทำความรู้จัก ความคิดทั้งหลาย ผ่านการแถลงข่าวและบทบาในสภาฯ แต่ทุกวันนี้มันเปลี่ยนไปหมดแล้วครับคุณเติมศักดิ์ มันมียูทูป มันมีสื่อในมือ มันมีเฟซบุ๊ก มันมีไลฟ์สด บางคนเป็นส.ส.อาจจะมีจำนวนคนไปดูวิวน้อยกว่าคนที่มีสื่อในมือ แล้วมีคนดูมาก ผมจึงเห็นว่าบทบาททางการเมืองไม่ได้อยู่มนสภาฯ อีกต่อไปแล้ว


เติมศักดิ์- อันนี้น่าคิด


ปานเทพ- บทบาทในสภาฯ อยู่ที่ว่าประชาชนอยากฟังใคร แม้ว่าจะอยู่นอกสภาฯ ก็ตาม ผมคิดว่าเหตุการณ์ที่พิสูจน์ได้ชัดก็คือ เหตุการณ์การเคลื่อนไหวนอกสภาฯ และมีคนอยากฟังตั้งแต่เหตุการณ์กปปส. ว่าทำไมคนอยากฟังคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ในยุคนั้น ทั้งที่ไม่มีบทบาทในสภาฯ เพราะปรากฏการณ์เนื้อหาสาระที่คนอยากจะฟังไปที่ไหน คนในยุคนี้ก็สามารถได้ฟังจากที่นั้น โดยไม่มีใครปิดกั้นได้อีกต่อไป แค่ไลฟ์สด ไม่มีใครถ่ายทอดสด ถ้าคนอยากจะฟังจริงๆ ก็จะฟังคนๆ นั้น ผมจึงเชื่อว่าบทบาทคุณอภิสิทธิ์ที่ตัดสินใจในเมื่อวานนี้ ได้ยกฐานะเกียรติภูมิในฐานะคนรักษาสัจจะของตัวเอง รักษาอุดมการณ์ของตัวเอง ทลายความเชื่อว่าคุณอภิสิทธิ์เป็นคนที่ต้องรอทหารอุ้มเท่านั้น เป็นคนที่ฝักใฝ่ในฝ่ายทหาร ทลายจนหมดสิ้น ไม่รู้ว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ ก็สุดแท้แต่ แต่ผมเชื่อว่าน้ำหนักจะกลับมาสนในทุกเรื่อง ที่คุณอภิสิทธิ์ตัดสินใจจะพูด ไปสื่อสารในทางสาธารณะ และก็อาจจะเปลี่ยนใจหลายคนที่เชื่อคุณอภิสิทธิ์เป็นแบบหนึ่ง ให้หันกลับมามองคุณอภิสิทธิ์ในอีกมิติใหม่ อาจจะเป็นรากฐานในระยะยาวก็ได้ใครจะรู้ ผมจึงเชื่อว่าบทบาทคุณอภิสิทธิ์ยังไม่หายไปไหน


เติมศักดิ์- และสามารถเล่นบทฝ่ายค้านนอกสภาฯ


ปานเทพ- เพราะไม่มีใครอภิปรายเป็นสภาฯ ในพรรคประชาธิปัตย์ แต่คุณอภิสิทธิ์ก็มีสิทธิ์พูดในฐานะส่วน ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหนึ่ง ที่ไม่จำเป็นต้องฟังตามมติคณะกรรมการบริหารเสมอ เพราะสมาชิกพรรคมีได้ทั่วประเทศ ใครจะแสดงความเห็นอย่างไรก็ได้ และผมคิดว่าในสถานการณ์ที่อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่ในวุฒิสภา ซึ่งไม่มีตรวจสอบรัฐบาลได้ ในความเห็นผมนะครับ เพราะคุณเป็นพวกเดียวกันหมดแล้ว โดยกลไกรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระรัฐธรรมนูญที่สืบทอดมาจากเลือกของคสช. เราก็หวังการตรวจสอบไม่ได้อยู่แล้ว คนคิดว่ายิ่งสถานการณ์แบบนี้คนยิ่งโหยหาการตรวจสอบมากขึ้น อันนี้โดยธรรมชาตินะครับ อะไรที่มันเบ็ดเสร็จเด็ดขาดยิ่งมากเท่าไหร่ ทุกคนก็อยากหาช่องทางในสิ่งที่เขาอยากได้ยิน ก็คือถูกการตรวจสอบ ผมจึงเชื่อว่าสื่อที่ทำหน้าที่ทวงดูการตรวจสอบก็ดี นัดกลางเดือนที่ไม่มีเวทีในสภาฯ แต่บทบาทในการตรวจสอบก็ดี หรือนักเคลื่อนไหว พร้อมจะเคลื่อนไหวเปิดโปงข้อเท็จจริง ผมว่ายังมีประชาชนอีกมากมายอยากฟังมาก แต่ในขณะเดียวกันลักษณะของรัฐบาลที่วันนี้ที่มีการแปลกประหลาดเพราะว่านายกรัฐมนตรีไม่เคยมาประชุมพรรคการเมือง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค เป็นนายกรัฐมนตรีเฉยๆ ไม่เคยไปหาเสียงในนามพรรคการเมืองด้วย พรรคบริหารจัดการทุกอย่างจนกระทั่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคนั้นที่เป็นผู้เสนอ


เติมศักดิ์- แยกออกมา ต้องมีระยะห่าง


ปานเทพ- เพราะฉะนั้นเมื่อมีระยะห่าง ก็แปลว่านายกรัฐมนตรีก็มีสิทธิ์ที่จะไปเลือกจัดสรรคณะรัฐมนตรีของตัวเอง เพราะว่าตอนเจรจาไม่ได้มาเจรจากับพล.อ.ประยุทธ์ ไปเจรจากับอีกหลายคนในพรรคการเมืองพรรคประชารัฐ ปัญหาก็คือว่าเมื่อได้นายกรัฐมนตรีแล้ว อำนาจในการจัดสรรรัฐมนตรี ไม่ใช่พรรคพลังประชารัฐ แต่เป็นนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย


เติมศักดิ์- พรรคพลังประชารัฐก็สามารถใช้เหตุผลนี้ไปบอกพรรคร่วมรัฐบาลได้


ปานเทพ- แต่พรรคร่วมรัฐบาลคงไม่พอใจ เพราะเขาถือว่าตกลงโควต้ากันแบบนี้ ทำไมการตัดสินใจไปอยู่คนคนเดียว จะไม่ฟังมติพรรค และต่อไปจะดำเนินไว้วางใจให้บริหารประเทศต่อในชั้นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้อย่างไร เพราะพรรคฝ่ายค้านมีมาแล้ว 244 ที่นั่ง ขาดอีกแค่ 6 เสียง แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ย้ายข้างไปนิดเดียว รัฐบาลล้มเลย โดยเฉพาะในชั้นอภิปรายงบประมาณก็ดี อภิปรายไม่ไว้วางใจก็ดีเพราะฉะนั้นแล้วความสัมพันธ์ ในพรรคร่วมรัฐบาล จะเป็นไปอย่างถ้อยที ถ้อยอาศัย และระมัดระวังความสัมพันธ์ไม่ให้เกิดความไม่พอใจ เพราะเสียงปริ่มน้ำมาก ลักษณะของความเกรงใจประณีประนอมกันแบบนี้ ก็จะนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลได้ ไม่ยากเย็น เพียงแต่ว่าในช่วงเวลาตอนนี้ไม่มีใครถูกยุบสภาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเพิ่งเสียเงิน เสียทอง ในการแคมเปญหาเสียง ไม่นับการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เงินอย่างมโหฬารเพิ่งลงไปจากการเลือกตั้งทั้งหมด คงไม่มีใครอยากถูกยุบสภาแต่เนิ่นๆ คงจะรักษาระดับความสัมพันธ์เอาไว้ อาจจะประมาณ 6 เดือนแรก ดูกันเป็นระยะๆ ดังนั้นหลายโครงการจะทะลักออกมาจำนวนมาก ในช่วงเวลา 6 เดือนนี้ เพื่อเตรียมตัวจัดสรรโครงการที่ตัวเองไปหาเสียงไว้ และในบางกลุ่มถ้าอยากจะหางบประมาณ ถ้าจะมีการทุจริต เขาก็จะทำกันช่วงนี้ เพราะว่ามันเป็นช่วงเดียวที่จะนำไปสู่ความแน่นอนว่าจะสามารถมีงบประมาณ กระสุน ไปจัดการกับการหาเลือกตั้งครั้งต่อไปได้ เพราะทุกคนก็ประเมิณอยู่แล้วว่า เสียงปริ่มขนาดนี้มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการพลิกข้าง ย้ายข้าง ได้เหมือนกัน ในสถานการณ์ที่แปรผัน หรือการต่อรองอำนาจ ต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาล และในพรรคเองมีความขัดแย้งกัน โดยเฉพาะเมื่ออำนาจสูงสุด อยู่ที่นายกรัฐมนตรี ที่อาจจะไม่ฟังเสียงพรรคร่วมรัฐบาลก็ได้ ซึ่งสถานการณ์นั้นมันจะทำให้ เกิดการชั่งน้ำหนักระหว่างการย้ายข้างแล้วสูญเสียอำนาจหรือตำแหน่งที่ตัวเองยังได้บ้าง หรอจะไปเสี่ยงกับการเลือกตั้งใหม่ ผมคิดว่าตรงนี้ คงต้องชั่งระยะว่าจะเป็นการต่อรองที่ทำให้รัฐบาลมีแต่ความเกรงใจและขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งความขัดแย้งกันตลอดเวลานี้จะถูกตอกลิ่มได้ง่ายขึ้นด้วยพรรคฝ่ายค้านที่จะต้องอภิปรายเป้าหมายของกลุ่มที่จะเป็นจุดอ่อนในการทุจริตหรือว่าความไม่โปร่งใส ดังนั้น พลเอกประยุทธ์ คงจะใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด อย่างสมบูรณ์ เหมือนครั้งสมัน คสช. ไม่ได้ 1. ก็คือ อำนาจต่อรองเกิดขึ้นตลอดเวลา 2. ก็คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือไม่สามารถใช้ มาตรา 44 อีกต่อไปได้แล้ว


เติมศักดิ์- ไม่มีเครื่องมือนี้แล้ว


ปานเทพ- ไม่มีเครื่องมือนี้แล้ว ซึ่งเป็นดาบที่มีความสำคัญในการโยกย้ายกลไกต่างๆ ที่ผ่านมาโยกย้ายข้าราชการง่าย ไม่มีความผิด สามารถจัดการโครงการต่างๆได้ เหมือนกับมีแหวนพิเศษ แล้วก็ดีดนิ้วสั่งการได้ทุกอย่าง ไม่มีอะไรมีความผิดสักอย่าง นับจากนี้ทำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว ปัญหาก็คือว่า ลำพังเฉพาะรัฐบาลแบบเดิมแต่ไม่มีมาตรา 44 ก็ยังไม่ง่ายเลย นับประสาอะไรที่ไม่มีมาตรา 44 อยู่ในมือ และเต็มไปด้วยการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลเป็นจำนวนมาก พลเอก ประยุทธ์ ยาก ที่จะมีสภาพเหมือนเดิม ผมว่ายากมาก และก็อาจจะมีอำนาจต่อรองอยู่บ้างในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่ไม่แคร์พรรคร่วมรัฐบาลเท่าไหร่ เพราะ อำนาจต่อรองของพลเอก ประยุทธ์ ยังอยู่ตรงที่ว่า ฟังให้ดีนะครับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนาจกรัฐมนตรีวันนี้แล้วแน่นอน หากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และมีฝั่งตัวเองของฝั่งพรรคร่วมรัฐบาลย้ายข้างไป อำนาจต่อรองขั้นที่ 2 ของ พลเอก ประยุทธ์ ที่เขาคิดกันนี้นะครับ เขาคิดกัน เขาเชื่อกัน คือการยุบสภา เพราะการยุบสภาทำให้ พลเอก ประยุทธ์ รักษาการณ์ต่อได้อีก คือลุงตู่ ยังอยู่ต่ออีกแล้วก็จัดการเลือกตั้งใหม่ และก็มีความเชื่อว่าเลือกตั้งใหม่ หากอยู่ฝั่งตรงกันข้ามก็ถูกกำจัดได้ เพราะอำนาจ ส.ว. ยังอยู่ในมือ และอำนาจองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญก็อาจจะยังอยู่ในมือ การถูกดำเนินคดีความในสารพัดคดีทั้งหลายและโครงการต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้ อำนาจต่อรองในการตรวจสอบของกลไกรัฐยังอยู่ ใช่หรือไม่ และถ้ายังอยู่ตรงนี้ก็หมายความว่ามีสิทธิ์ถูกเล่นงาน และในขณะเดียวกัน หากเลือกตั้งใหม่ก็ยังมีความเชื่อว่า 125 เสียงในสภาผู้แทนราษฎร น่าจะดำรงต่อไปได้ เมื่อได้ ก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกรอบหนึ่ง


เติมศักดิ์- ไร้รอยต่อเลยนะ


ปานเทพ- ไม่ต้องมีรอยต่อ เพราะฉะนั้นแล้ว ความคิดที่คิดว่านักการเมืองจะมีอำนาจต่อรองสูงกว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มันไม่แน่ เพราะว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังถือไพ่ ส.ว. และการกลับมาเป็นนายกและการรักษาการณ์ต่อได้ บวกกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และนี้คือเหตุผลว่า พลเอก ประยุทธ์ และ พลังประชารัฐ ไม่เคยแคร์ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์ว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะว่าเขาไม่แคร์และเขาก็มีอำนาจต่อรองที่เขามีอยู่ในมืออยู่แล้วและทำให้เขามีโอกาสจะอยู่ได้ถึง 8 ปี เพียงแต่ว่า คำถามก็คือว่า แน่นอน 5 ปี ครับ มันมี 4 บวก 1 ก็แปลว่ามีถึง 8 ปีได้ คำถามก็คือว่า มั่นใจเหรอครับว่า ถ้าเกิดมีการยุบสภาอีกรอบหนึ่ง รัฐบาลในชุดนี้เสียงข้างมากจะยังคงได้เกิน 125 เสียง จริงหรือเปล่า


เติมศักดิ์- เดียวกลับมา กลับมาวิเคราะห์ตัวแปรนี้กันว่า ยุบสภา ความเสี่ยง ตัวเลขที่เคยได้ อะไรมันจะทำให้เกิดการแปรผันไป เดียวสักครู่หนึ่งกลับมาวิเคราะห์ สถานการณ์ของรัฐบาล ประยุทธ์ 2 กันต่อนะครับ กลับมาคนเคาะข่าว ช่วงสุดท้ายนะครับ เราวิเคราะห์ประยุทธ์ 2 จะเหมือนหรือต่างกับประยุทธ์ 1 อย่างไร เมื่อสักครู่ อาจารย์ปานเทพ ทิ้งท้ายว่า ถ้ารัฐบาลประยุทธ์ 2 ถึงจุดที่ต้องตัดสินใจยุบสภา การเลือกตั้งใหม่ รอบต่อไป หลังยุบสภา ความเสี่ยงเรื่องคะแนนเสียงกลับมาเหมือนเดิมมันก็มีมากใช่ไหมครับ อาจารย์ หมายถึงคะแนนความเสี่ยงนะ


ปานเทพ- ผมว่าความเสี่ยงสูง เพราะว่า อย่าลืมว่าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมรัฐบาลรอบนี้ ถือเป็นการร่วมโดย ไม่ทราบว่าใครออกแบบ แต่ผก็คิดว่า ประชาธิปัตย์ ก็น่าจะได้กระทรวงสำคัญๆที่จะมีโอกาสสร้างผลงานได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องอย่าลืมนะครับว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองที่ ขออภัยนะครับ ใช้คำนี้ แต่ว่าเขี้ยวลากดินในทางการเมืองจากรุ่นสู่รุ่น ต้องถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีการวางเหลี่ยมครูทางการเมืองสูง เวลาคิดอาจจะคิดหลายชั้น ลำพังพรรคประชาธิปัตย์เองก็มีความขัดแย้งกันข้างในอยู่แล้วโดยปริยาย เวลามีลักษณะของการตัดสินใจเข้าร่วมด้วยเสียงข้างมากบทบาทของคุณ อภิสิทธิ์ ก็เหมือนมีสิทธิ ที่จะทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ได้เต็มความสามารถ เสียงในสภาตรวจสอบไม่ได้ พรรคประชาธิปัตย์ เงียบ แต่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ใครจะรู้ครับว่า สถานการณ์ของพรรคพลังประชารัฐ และประชาธิปัตย์ 2 พรรคนี้ ต้องถือว่าขีด ในเรื่องของขั้วอำนาจเดิมระหว่างฝั่งทักษิณกับฝั่งไม่เอาทักษิณ มันชัดเจนว่าพรรคพลังประชารัฐกับประชาธิปัตย์ ยังอยู่ขั้วเดียวกัน ที่คราวที่แล้วที่ประชาธิปัตย์ลดลง เพราะว่าเหตุการณ์ ฮ่องกงเอฟเฟกต์ และก็ปรากฎการณ์ที่ ทูลกระหม่อมหญิงมาลงเลือกตั้งในพรรคไทยรักษาชาติ คนเชื่อว่าคนอย่างพลเอกประยุทธ์เท่านั้นที่จะรับมือในสถานการณ์อย่างนี้ได้ ในช่วงโค้งสุดท้าย พรรคประชาธิปัตย์หายไปเลย แต่หายไปเมื่อบวกคะแนนกับพรรคพลังประชารัฐ มันยังคงอยู่ในขั้วเดิมๆอยู่ เสียงมันไม่ได้เพิ่มขึ้นมามาก อย่างที่หลายคนคาดการณ์ โดยเฉพาะเปอร์เซ็นต์ที่เกี่ยวข้องกับจำนวนขั้วอำนาจระหว่างขั้วทักษิณกับขั้วไม่ใช่ทักษิณ


เติมศักดิ์- ก็ยังอยู่ใน 12 ล้าน นั้นแหละ


ปานเทพ- ก็ยังอยู่ในแถวนี้อยู่ ตราบใดที่ยังอยู่ในขั้วนี้ 2 พรรคนี้ จะต้องชิงเสียงกันเอง ในท้ายที่สุด ซึ่งถ้าคะแนนนิยมของพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้นำสูง การเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์จะต้องลดลงเพราะว่าเขาเป็นคะแนนเสียงข้างเดียวกัน ในขณะเดียวกันถ้าพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนเสียงสูงขึ้นกลุ่มที่มีโอกาสเสียงลดลงก็ยังคงเป็นพรรคพลังประชารัฐอยู่ โดยธรรมชาติแล้วมันเป็นกลุ่มฐานเสียงคะแนนเดียวกัน ที่มีโอกาสจะแย่งกันเองสูง


เติมศักดิ์- อยู่ที่ว่าใครจะตีตื้นขึ้นมา หรือ ใครจะลดลงไป


ปานเทพ- ถูกต้องครับ เพราะฉะนั้นแล้วผมไม่อยากเห็น แต่ผมคิดว่าอาจจะมีโอกาสเห็น ก็คือการช่วงชิง จังหว่ะและการปฏิเสธ หลายโครงการซึ่งกันและกันระหว่าง 2 ขั้วนี้ และผมทำนายไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องเกิดขึ้น


เติมศักดิ์- หมายถึงการช่วงชิงพื้นที่ความนิยม


ปานเทพ- ใช่ เพราะทุกคนรู้ว่าการเลือกตั้งอาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นาน เพราะฉะนั้นทุกคนจะแสดงผลงาน และอาจจะถูกบล็อก ไม่ให้แสดงผลงานจากอีกฝั่งหนึ่ง ในทางใดทางหนึ่ง และถ้าสมมุติว่าเกิดจุดวิกฤต ซึ่งการพุ่งเป้าของการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะไม่อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ จะไม่อยู่ที่พรรคภูมิใจไทย เพราะฝั่งตรงกันข้ามมองออกว่ากลุ่มที่จะย้ายขั้วยังคงอยู่ 2 กลุ่มนี้อยู่ เหมือนกับพรรคชาติไทยในอดีต พรรคชาติพัฒนาในอดีต จะปลอดภัยในการอภิปรายเสมอ อภิปรายไม่ไว้วางใจนะครับ


เติมศักดิ์- เป้ามันจะไปอยู่ที่พรรคใหมญ่


ปานเทพ- เป้ามันจะไปอยู่ที่พรรคใหมญ่ คือพรรคพลังประชารัฐ เวลาอภิปรายไม่ไว้วางใจ และถ้ามันมีจังหว่ะ ที่ถูกคะแนนอภิปรายไม่ไว้วางใจ ชัดเจนแจ่มแจ้งว่า ในช่วงของการหาคะแนนเสียง แล้วมีการทุจริต หรือมีจุดอ่อนเกิดขึ้นเมื่อไหร่ในพรรคพลังประชารัฐ ใครจะรู้ว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจ มันจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าไม่ต่อรองตำแหน่งเพิ่มเติม เป็นฝ่ายกลับมาขี่รัฐบาล หรือจะตัดสินใจโหวตล้มรัฐบาลและไปเลือกตั้งใหม่ ในจังหวะที่พรรคพลังประชารัฐคะแนนเสียงตกลง การเข้าไปแบบพรรคประชาธิปัตย์ แบบนี้ ต้องถือว่าเขามีโอกาสที่จะเข้าไปและถอนออกก็ได้ ต่อนะครับ กลับมาอีกสูตรที่ว่า พรรคประชาธิปัตย์ในเวลาตอนนี้ ต้องถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีการแตกกันมาก่อนหน้านี้ จนสุดท้ายลงมติเห็นชอบว่าร่วมรัฐบาล


เติมศักดิ์- แตกกันจากเรื่อง เอา ไม่เอา ลุงตู่ นี้แหละ


ปานเทพ- ใช่ครับ แต่ผมอยากจะบอกว่า อย่างไรก็แล้วแต่เมื่อเป็นมติพรรค และทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า โหวตให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ผมถามว่า พรรคพลังประชารัฐ ก็หมดความชอบธรรม ที่จะไปล้วงงูเห่า ตั้งรัฐมนตรีตามอำเภอใจ อันนี้สำคัญนะครับ


เติมศักดิ์ - เพราะว่าเขามีมติออกมาแล้ว


ปานเทพ- เป็นมติพรรค เพราะฉะนั้นก้จะให้เกียรติหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค คนปัจจุบัน ในการเสนอชื่อโควต้ารัฐมนตรี และใครจะรู้ว่า อาจจะเกิดการดัดหลังงู่เห่าเดิมก็ได้


เติมศักดิ์- ยังไงครับอาจารย์


ปานเทพ- ก็ ตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าใครจะได้ล่ะครับ และกลุ่มไหนในพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะมีความชอบธรรม ที่จะได้คะแนนเสียง ในการช่วงชิงคะแนนเสียงจากนโยบายต่างๆ ที่จะลงไปบริหาร ใน กระทรวง ทบวง กรม เหล่านั้น แล้วก็สร้างผลงานใหกับกลุ่มไหน และใคร ซึ่งผมอยากจะบอกว่า จริงๆพรรคประชาธิปัตย์เขา เลื่อยขาเก้าอี้กัน แล้วก็แทงข้างหลังกันเป็นเรื่องปกติ ในระบอบประชาธิปไตย ของพรรคการเมืองสูงๆ แบบนี้ ในพรรคประชาธิปัตย์ เพราะฉะนั้นลักษณะแบบนี้มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้แล้วก็อาจจะทำให้ บางกลุ่มในพรรคประชาธิปัตย์ อาจจะไหลไปสู่พรรคพลังประชารัฐเพิ่มเติมอีก หลังจากนี้ แต่ก็อาจจะเป็นผลดี เพราะการไหลไปในครั้งต่อไป เพราะไม่พอจในเรื่องรัฐมนตรีก้อาจนำไปสู่การได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น ก็ได้ เพราะมันอยู่ที่จังหวะการอภิปราย จังหวะการร่วม จังหวะการถอดถอน เหมือนกับครั้งหนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เคยร่วมรัฐบาลในอดีต แล้วพรรคพลังธรรมในอดีต เห็นว่าไม่พอใจในบางโครงการที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 และวันอภิปรายตัดสินใจถอนตัวออกก็มีการยุบสภาทันที ผมว่าอาจเกิดเหตุการณ์แบบนั้นได้ถ้ากระแสตกในช่วงการทุจริตคอรัปชันมาก หรือการจัดสรร รัฐมนตรีไม่ลงตัว และพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่าไม่สามารถประคองสถานการณ์ที่มีอำนาจต่อรองแบบนี้ได้ โอกาสที่จะเกิดขึ้นแบบนี้ก็สูงเช่นกัน คำถามคือว่าเมื่อถึงสถานการณ์ที่ต้องยุบสถาอีกครั้งหนึ่ง ก็ต้องเป็นการยุบสภาบนฐานเสียงที่เห็นแล้วว่ามีการย้ายข้างเท่านั้น จึงจะเกิดการยุบสภาไม่มีทางจะยุบด้วยเหตุผลอื่นแน่ ดังนั้นก็แปลว่าจะต้องมีการย้ายข้างเมื่อเห็นรอยร้าวชัดเจนแล้ว และรอยร้าวจะมาพร้อมกับความชอบธรรมในการย้ายข้างด้วย แม้ว่าลึกๆ สมมุติว่าการย้ายข้างเพราะว่าจัดสรรรัฐมนตรีไม่ลงตัวนะครับ แต่ก็จะหาจุดอ่อนที่สุด การที่จะแบ่งเก้าอี้กันแบบนี้และแบ่งอณาจักรที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกันในการหาเหตุย้ายข้าง ก็หมายถึงคะแนนนิยมของฝั่งหนึงนั้นต้องตกลงแล้ว เพระาฉะนั้นสถานการณ์แบบนี้ผมก็เชื่อว่าการเลือกตั้งกลับมาอีกทีให้ได้คะแนนเสียงเท่าเดิมไม่ง่าย และการน้อยลง ยังไม่รู้ว่าน้อยลงไปถึงจุดไหน เฉพาะครั้งนี้ดีที่มีการแตกพรรคย่อยไปหลายพรรค จากการนับคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ทำให้คะแนนพรรคอนาคตใหม่ลดลงหลายพื้นที่หลายที่นั่ง และทำให้พรรคละหนึ่ง 11 พรรคเกิดขึ้น มันเปลี่ยนสมการการเมืองไปอย่างมาก ไม่ต้องพูดถึงไปความคาดหวังจะไปยื่นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญผมไม่หวังเลยนะครับ ไม่น่าจะเป็นไปได้ใต้โครงสร้างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งอีกทีหนึ่ง พรรคพลังประชารัฐจะได้เสียงคะแนนมีความสุ่มเสี่ยง ไม่มีใครรู้ในอนาคต แต่ภายใต้โครงสร้างแบบนี้จะมีความสุ่มเสี่ยง ที่จะมีเสียงลดลงและถ้ามีการทุจริตมากในขณะที่คุณธนาธรพ้นจากตำแหน่ง ด้วยการถูกตรวจสอบ หรือการลงโทษก็สุดแท้แต่ลักษณะโครงสร้าง ถ้าไม่มีพรรคอนาคตใหม่ในอนาคตถ้าถูกยุบแล้ว ก็มีพรรคการเมืองอื่นๆ เกิดขึ้นใหม่ ที่มีลักษณะคล้ายกันเพื่อจะเอาชนะ และไม่เกิดความชอบธรรมในการบริหารประเทศอันเนื่องมากจากทุจริตคอรัปชัน และไม่สามารถตรวจสอบได้ คล้ายกับรัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร ที่การตรวจสอบกลไกปกติไม่สามารถทำได้ แต่ว่าเพราะกลไกตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ แต่มันต้องมีกลไกอื่นในการตอบสนอง ไม่ชนะเลือกตั้งกันอีกทีก็ไปสู้กันบนท้องถนนมันมีโอกาสเกิดขึ้นได้ มันมีโอกาสเกิด 2 โมเดลนี้เกิดขึ้นได้ แม้ว่าหลายคนบอกว่ามี พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะเข้ามากำกับดูแลการชุมนุมสาธารณะอาจจะยากขึ้นแต่คนที่เขาชุมนุมเขาคิดไกลกว่านั้น ถ้าเกิดเหตุการณ์ขนาดนั้นคือล้มกระดาน ถ้ามีการทุจริตมากเกินกว่าที่ประชาชนจะยอมรับได้ และประชาชนมีความไม่พอใจมาก ผมคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นควมเสี่ยงที่นับตั้งแต่วันนี้เกิดขึ้นเป็นต้นไป และทุกอย่างเกิดขึ้นได้หมด


เติมศักดิ์- ถึงตอนนั้นบทบาทของกองทัพเปลี่ยนไหมครับ


ปานเทพ- ผมคิดว่าถึงตอนนั้นคนสิ้นหวังจากกองทัพแล้ว ในความเห็นผมนะครับ ผมคิดว่ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ น่าจะเป็นบทบาทของกองทัพครั้งสำคัญที่อยู่ยาว และบทบาทของ คสช. ที่ผ่านมาในรอบ 5 ปี มันทำให้เกิดผลผลิตอย่างพรรคอนาคตใหม่เกิดขึ้น ที่เกิดผลผลิตนี้ได้ก็แสดงให้เห็นว่าบริหารประเทศมา 5 ปี ล้มเหลวในการปฏิรูปประเทศเพื่อครองหัวใจประชาชนคนส่วนใหญ่ จึงเกิดปรากฎการณ์อนาคตใหม่ มันเป็นผลผลิตจากความล้มเหลวในเรื่องของการครองหัวใจประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เขาไม่อยากรับสภาพทหารปกครองประเทศแล้วตรวจสอบไม่ได้มันถึงเกิดปรากฎการณ์นี้หลายคนอาจไปเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์หรืออะไรก็สุดแท้แล้วแต่ละครับ แต่ผมอยากบอกว่าเหตุกการณ์นี้มันจะมีคนหลายกลุ่มมาเป็นแนวร่วมพรรคอนาคตใหม่เพราะไม่ใช่มีความรู้สึกต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์แต่เขาต่อต้านทหารและมีความรู้สึกว่าประเทศอยู่แบบนี้ไม่ได้เพราะ


เติมศักดิ์- ต่อต้านระบบที่ตรวจสอบไม่ได้


ปานเทพ- มันเป็นแนวต้านที่ลุกขึ้นมาเพราะรู้สึกรัฐบาลตรวจสอบไม่ได้คล้ายกลับในสมัยที่พันธมิตรเริ่มต้นต่อต้านฝ่ายคุณทักษิณ ชินวัตร เพราะสื่อก็เป็นของรัฐทั้งหมด ตอนนั้นไม่มีโซเชียลมีเดียเลย แรงเท่านี้นะครับ องคืกรอิสระมาจาก ส.ว. พวกเดียวกันหมด ตรวจสอบไม่ได้ ยื่นอะไรไปไม่เคยผ่านกระบสนการชั้นตรวจสอบ ไม่เคยถึงมือศาล


เติมศักดิ์- มีรัฐตำรวจ


ปานเทพ- มีรัฐตำรวจ และก็มีการทุจริต ผมคิดว่าปรากฎการณ์นี้อาจจะมีโอกาสคล้ายคลึงกัน ถ้าโครงสร้างมันคล้ายคลึงกัน เพียงแต่เป็นกลุ่มประชาชนอีกวัยหนึ่ง อีกช่วงเวลาตอนหนึ่ง และเป็นอีกความรู้สึกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่ต่อต้านเผด็จการฝั่งทักษิณที่เป็นเผด็จการฝั่งรัฐสภา แต่มีความรู้สึกว่า รัฐธรรมนูญที่เกิดปรากฎการณ์ถึงแม้จะลงประชามติไปแล้วแต่เขารู้สึกว่าตรวจสอบไม่ได้ยกเว้นกรณีเดียว พล.อ.ประยุทธ์ยอมเสียสละทำในสิ่งที่มันถูกต้อง จัดการกับความทุจริตให้ประชาชนเห็นจนไว้วางใจว่าแม้กลไกตรวจสอบไม่ได้ แต่ผู้นำประเทศหยุดได้ แต่มันไม่เกิดนิครับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ป.ป.ช. ไม่อุธรณ์ในคดีสลายพันธมิตร จนมีเหตุการณ์เสียชีวิตคุณน้องโบว์ อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือเกิดปรากฎการณ์ของ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ กับกรณีนาฬิกา และไม่สามารถตรวจสอบอะไรได้ หรือเกิดปรากฎการณ์อื่นๆ น้องชายขึ้นมาเป็น ส.ว. หรืออื่นๆ อีกมากมาย คณะกรรมการในการคัดสรร ส.ว. ทุกอย่างมันถูกปกปิด มันมีเงื่อนงำที่ประชาชนหาคำตอบไม่ได้ถึงความโปร่งใส ถึงแม้หลายคนจะหนุนลุงตู่ แต่ก็ตอบสังคมไม่ได้กับปัญหาเหล่านี้ ลึกๆก็รู้ว่าตรวจสอบไม่ได้ จริงผมว่าหลายคนรู้อยู่ในใจก็ไม่กล้าพูด เพราะหนุนลุงตู่อยู่แต่ในใจรู้จุดอ่อน ถ้า พล.อ.ประยุทธ์มีความเสียสละจัดการกับปัญหาการทุจริตและไม่ต้องเกรงพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลกระทำการเหมือนกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พร้อมจัดการกับรัฐมนตรีที่ทุจริต โดยไม่ต้องรอฝ่ายค้านแล้วจัดการเองให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ไม่เว้นกับคนรอบข้างหรือคนใกล้ชิด และพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเป็นรัฐบาลที่มาแก้จุดอ่อนในสิ่งที่ไม่ได้สามารถกระทำได้ ในสมัย คสช. ซึ่งผมหวังน้อยมากในเวลาตอนนี้ เพราะโครงสร้างไม่ไเป็นแบบนั้น


เติมศักดิ์- แต่ว่าพลเอกประยุทธ์ก็มีสถานเหนือพรรคการเมืองแต่ตัวเองก็ไปใกล้ชิด พปชร. ไม่เหมือน พล.อ.เปรม ไม่เหมือนกัน เพราะไม่อยู่หน้าพรรคการเมือง


ปานเทพ- ถ้าทำได้ผมขอยกย่องและชื่นชมและให้กำลังใจ ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งของประชาชนและอีกหลายคนที่เขาไม่พอใจกับโครงสร้างแบบนี้ วันหนึ่งคนจะยอมหนุน พล.อ.ประยุทธ์ได้ก็มีความรู้สึกว่า คุณทักษิณเป็นภัยต่อประเทศชาติต่อความรู้สึกของประชาชนที่เห็นว่าคุณทักษิณอันตราย แต่วันหนึ่งที่เขาเห็นว่าคุณทักษิณถูกกำจัดหมดแล้ว


เติมศักดิ์- จะอ้างระบอบทักษิณอีกไม่ได้แล้ว เอามาหากินไม่ได้


ปานเทพ- ไม่ได้ จะอ้างระบอบทักษิณอีกไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นผมคิดว่าปรากฎการณ์นี้ก็ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ ต้องพิสูจน์ตัวเองแต่สำหรับผมผมไม่คาดหวังการปฏิรุปประเทศ เพราะภายใต้การปฏิรูปประเทศในเมื่อคุณได้คนหนึ่ง ภายใต้การออกแบบแบบนี้ ไม่มีใครจะไปเปลี่ยนโครงสร้าง เพื่อให้ตัวเองเสียอำนาจแย่ลงกว่าเดิม ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็น ส.ว. องค์กรอิสระ รัฐตำรวจ หรือแม้กระทั่ง ส.ส.ใครได้มาอย่างไรทุกคนจะคงสภาพแบบนั้น ไม่มีใครยอมสูญเสียสถานภาพของตัวเอง หลังจากการเลือกตั้ง ผมจึงไม่มีความคาดหวังใดๆ ในการปฏิรูปประเทศอีกต่อไปจากรัฐบาลชุดนี้ และรู้สึกเสียดายโอกาส 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลารัฏฐาธิปัตย์ที่จะปฏิรูปประเทศได้ แต่สุดท้ายเราได้ผลผลิตในโครงสร้างแบบนี้และผมคิดว่าสิ่งนี้ที่เราได้ผลผลิตในโครงสร้างแบบนี้ เราอาจได้สิ่งเดียวเท่านั้น เราอาจทำให้คุณทักษิณ ฝ่ายเพื่อไทยไม่ได้เข้าสู่อำนาจเท่านั้น แต่ปัญหาการทุจริตยังอยู่ต่อไปไหม การตรวจสอบไม่ได้จากฝ่ายไหนเลย โดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และ ส.ว. จะดำรงอยู่ต่อไหม การผูกเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่ฝ่ายตัวเองทำอะไรก็ไม่ผิด ฝ่ายตรงข้ามทำอะไรก็ผิดมันจะสร้างความขัดแย้งต่อไปไหม และในขณะเดียวกันการใช้สื่อของรัฐยังคงทำลายฝั่งตรงข้ามและเลือกประโยชน์ตัวเองอยู่ต่อไหม การต่อรองโครงสร้างอำนาจผลประโยชน์และแบ่งอาณาจักรแบบการเมืองน้ำเน่าเดิมๆ ยังคงดำรงอยู่ต่อไหม ทั้งหมดนี้ตักหากครับ คือเนื้อหาแบบเดียวกับคุณทักษิณ


เติมศักดิ์- 5 ปีที่ผ่านมา มีพฤติกรรมสะสมที่เป็นแนวร่วมมุมกลับให้เกิดพรรคอนาคตใหม่ แต่อีกไม่รู้กี่ปีต่อจากนี้ถ้ายังมีพฤติกรรมอย่างนั้นอยู่ ซึ่งเชื่อว่าจะมี ไปเติมคนให้อนาคตใหม่


ปานเทพ- ผมว่าจะเกิดขึ้นอีก และถึงตอนนั้นอาจไม่เรียกว่าพรรคอนาคตใหม่ อาจเป็นพรรคอะไรสักอย่างหนึง ผมคิดว่าความรู้สึกนี้มันเกิดขึ้นเพราะปรากฎการณ์ที่ผมพูดถึง และถ้ามันจะหายไปก็ต่อเมื่อเสียสละครับ เสียสละทำในสิ่งที่ต้องพึงกระทำ ซึ่งก็ทำไม่ได้ ภายใต้โครงสร้างแบบนี้ และสถานการณืก็ต้องนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เวลาในการปฏิรูปจบแล้ว เวลาต่อจากนี้คือการรับผลของการกระทำเท่านั้นครับ ไม่มีใครทำอะไรได้ จนกว่าจะเกิดความขัดแย้งอีกรอบที่เรียกร้องความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังจากนี้ตังหากซึ่งผมคิดว่ายังคงหน้าเป็นห่วงอยู่


เติมศักดิ์- ครับ วันนี้ ขอบคุณมากครับอาจารย์ปานเทพครับ และคนเคาะข่าวลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น