xs
xsm
sm
md
lg

ตรวจรายชื่อ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ (อย่างไม่เป็นทางการ) “มาดามเดียร์” เฮ “วันนอร์-บังยี” อด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผลการคำนวณ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (อย่างไม่เป็นทางการ) พบ “มาดามเดียร์” เข้าวิน ส.ส. ภูมิใจไทย ส่วนประชาชาติ “วันนอร์-บังยี” ปิ๋วเพราะลูกพรรคชนะ 6 เขต

วันนี้ (28 มี.ค.) หลังจากที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้แถลงผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง ส.ส.หลังจากตรวจสอบการนับครบแล้ว 100% ผู้สื่อข่าวได้นำผลคะแนนไปคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 128 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ร่วมกับผู้อ่านทางบ้าน โดยใช้โปรแกรม Spreadsheet

ทั้งนี้ การคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ จะนำคะแนนรวมทั้งประเทศ ที่พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 81 พรรคการเมือง รวม 35,532,647 คะแนน หารด้วยจำนวน ส.ส. 500 คน จะได้จำนวนฐาน ส.ส. พึงมี 71,066 คะแนน ก่อนจะนำคะแนนที่พรรคการเมืองได้รับรวมกันทั้งประเทศ หารด้วยฐาน ส.ส. พึงมี พบว่าจะได้จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อทุกพรรค รวม 152 คน ซึ่งเกินกว่า ส.ส. บัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ที่ 150 คน

อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 128 (7) ระบุว่า ในกรณีที่เมื่อคํานวณตาม (5) แล้ว ปรากฏว่า พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับจํานวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อรวมกันแล้วเกิน 150 คน ให้ดําเนินการคํานวณปรับจํานวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อใหม่ โดยคํานวณตามอัตราส่วนที่ทุกพรรคจะได้รับการจัดสรรจํานวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเมื่อรวมแล้วไม่เกิน 150 คน โดยให้นําจํานวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะได้รับ คูณด้วยหนึ่งร้อยห้าสิบ (x150) หารด้วยผลบวกของหนึ่งร้อยห้าสิบกับจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่เกินจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบ (/152) และให้นํา (4) มาใช้ในการคํานวณด้วยโดยอนุโลม

โดยมาตรา 128 (4) ระบุว่า ภายใต้บังคับ (5) ให้จัดสรรจํานวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจะได้รับให้ครบ 150 คน โดยจัดสรรให้พรรคการเมืองตามผลลัพธ์ตาม (3) เป็นจํานวนเต็มก่อน หากยังไม่ครบจํานวน 150 คน ให้พรรคการเมืองที่มีเศษจากการคํานวณมากที่สุดได้รับการจัดสรรจํานวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีก 1 คนตามลําดับ จนครบจํานวน 150 คน ในกรณีมีเศษเท่ากัน ให้ดําเนินการตาม (6) พบว่า พรรคพลังประชารัฐ และ พรรคอนาคตใหม่ เมื่อคำนวณใหม่จะได้จำนวน ส.ส. ลดลง 1 ที่นั่ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 21.00 น. รายงานข่าวแจ้งว่า ตัวเลขที่ กกต. แจกให้กับสื่อมวลชน กัยตัวเลขที่ กกต. ประกาศไม่เหมือนกัน พบว่าผลอย่างไม่เป็นทางการ พรรคพลังประชารัฐ จะได้ที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ 21 ที่นั่ง พรรคอนาคตใหม่ 57 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 21 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 13 ที่นั่ง พรรคเสรีรวมไทย 11 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนา 5 ที่นั่ง พรรคเศรษฐกิจใหม่ 6 ที่นั่ง พรรคเพื่อชาติ 5 ที่นั่ง พรรครวมพลังประชาชาติไทย 4 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนา 2 ที่นั่ง พรรคพลังท้องถิ่นไท 2 ที่นั่ง ส่วนพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย พรรคพลังปวงชนไทย และพรรคพลังชาติไทย ได้พรรคละ 1 ที่นั่ง รวมทั้งหมด 150 ที่นั่ง

ผลจากคำนวณส่งผลทำให้จำนวน ส.ส. แบ่งเขต และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ มีจำนวนรวมกันดังนี้ พรรคพลังประชารัฐ 118 ที่นั่ง พรรคเพื่อไทย 137 ที่นั่ง พรรคอนาคตใหม่ 87 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 54 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 52 ที่นั่ง พรรคเสรีรวมไทย 11 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนา 11 ที่นั่ง พรรคเศรษฐกิจใหม่ 6 ที่นั่ง พรรคประชาชาติ 6 ที่นั่ง พรรคเพื่อชาติ 5 ที่นั่ง พรรครวมพลังประชาชาติไทย 5 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนา 3 ที่นั่ง พรรคพลังท้องถิ่นไท 2 ที่นั่ง พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย พรรคพลังปวงชนไทย พรรคพลังชาติไทย พรรคละ 1 ที่นั่ง
อัปเดตล่าสุด 21.00 น.
อนึ่ง พรรคประชาชาติ ที่มี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1, พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ลำดับที่ 2 และ นายวรวีร์ มะกูดี ลำดับที่ 3 ไม่ได้เป็น ส.ส. เพราะชนะการเลือกตั้ง 6 เขตเลือกตั้ง และเมื่อนำคะแนนรวมกันทั้งประเทศ หารด้วยจำนวนฐาน ส.ส. พึงมี และลบด้วย ส.ส. แบ่งเขตที่ชนะการเลือกตั้ง จะไม่เหลือที่นั่ง ส.ส. เพิ่มเติมได้อีกเลย เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย

สำหรับรายชื่อ ส.ส. บัญชีรายชื่อ อย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้

พรรคเพื่อไทย

ไม่มีว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อ

พรรคพลังประชารัฐ 20 ที่นั่ง

1. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
3. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
4. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
5. นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์
6. นายสันติ กีระนันทน์
7. นายวิรัช รัตนเศรษฐ
8. นายสันติ พร้อมพัฒน์
9. นายสุพล ฟองงาม
10. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
11. นายเอกราช ช่างเหลา
12. นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ
13. นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์
14. นายสุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์
15. นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์
16. นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ
17. นายวิเชียร ชวลิต
18. นายอรรถพร ศิริลัทยากร
19. น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี
20. นายพรชัย ตระกูลวรานนท์
21. นายยุทธนา โพธสุธน

พรรคอนาคตใหม่ 57 ที่นั่ง

1. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
2. นายปิยบุตร แสงกนกกุล
3. นางวรรณวิภา ไม้สน
4. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
5. น.ส.กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ
6. พล.ท.พงศกร รอดชมภู
7. น.ส.พรรณนิการ์ วานิช
8. นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
9. นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
10. นายพิจารณ์ เชาว์พัฒนวงศ์
11. นายเจนวิทย์ ไกรสินธุ์
12. นายสุรชัย ศรีสารคาม
13. นายชำนาญ จันทร์เรือง
14. นายอภิชาติ ศิริสุนทร
15. น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล
16. นายรังสิมันต์ โรม
17. นางเยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์
18. น.ส.จารุวรรณ ศรัณย์เกตุ
19. นายวินท์ สุธีรชัย
20. นายไกลก้อง ไวทยการ
21. นายสุเทพ อู่อ้น
22. น.ส.นีเร๊าะห์ ปอแซ (ถูกตัดสิทธิลงสมัครเลือกตั้ง)
23. นายปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์
24. นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์
25. นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
26. นายคารม พลพรกลาง
27. นายสมชาย ฝั่งชลจิตร
28. นายวาโย อัศวรุ่งเรือง
29. นายคำพอง เทพาคำ
30. นางอมรรัตน์ โชคปมิตต์กุล
31. พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาท
32. นายนิรมาน สุไลมาน
33. นายนิติพล ผิวเหมาะ
34. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร
35. นายวิเชียรชนินทร์ สินธุไพร (ถูกตัดสิทธิลงสมัครเลือกตั้ง)
36. นายวิรัช พันธุมะผล
37. นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
38. นายวรภพ วิริยะโรจน์
39. นายกัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี
40. น.ส.เบญจา แสงจันทร์
41. นายชวลิต เลาหอุดมพันธ์
42. นายณัฐวุฒิ บัวประทุม
43. นายทวีศักดิ์ ทักษิณ
44. นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์
45. นายสุรวาท ทองบุ
46. นายองค์การ ชัยบุตร
47. นายสำลี รักสุทธี
48. นายเกษมสันต์ มีทิพย์
49. นายธีรัจชัย พันธุมาศ
50. นายสมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล
51. น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์
52. นายจุลพันธ์ โนนศรีชัย
53. นายมานพ คีรีภูวดล
54. นายสหัสชัย อนันตเมฆ
55. นายบุญรวี ยมจินดา
56. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ
57. นายวัสพงศ์ วิทูรเมธา
58. น.ส.อิสราวดี ยะอิน
59. นายสาธิต ปิติวรา

พรรคประชาธิปัตย์ 21 ที่นั่ง

1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2. นายชวน หลีกภัย
3. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน
4. นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์
5. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
6. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
7. นายกรณ์ จาติกวณิช
8. นายจุติ ไกรฤกษ์
9. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
10. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
11. นายอิสสระ สมชัย
12. นายอัศวิน วิภูศิริ
13. นายเกียรติ สิทธีอมร
14. นายกนก วงษ์ตระหง่าน
15. นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
16. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
17. นายพนิต วิกิตเศรษฐ์
18. นายอภิชัย เตชะอุบล
19. นายวีระชัย วีระเมธากุล
20. น.ส.จิตภัสร์ ตั้น กฤดากร
21. นายสุทัศน์ เงินหมื่น

พรรคภูมิใจไทย 13 ที่นั่ง

1. นายอนุทิน ชาญวีรกูล
2. นายชัย ชิดชอบ
3. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
4. นางนาที รัชกิจประการ
5. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
6. นายทรงศักดิ์ ทองศรี
7. นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล
8. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี
9. นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล (ถูกตัดสิทธิลงสมัครเลือกตั้ง เนื่องจากสังกัดพรรคภูมิใจไทยไม่ครบ 90 วัน)
10. นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
11. น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา
12. นายศุภชัย ใจสมุทร
13. พ.ท.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ
14. นายมารุต มัสยวาณิช

พรรคเสรีรวมไทย 11 ที่นั่ง

1. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
2. นายวัชรา ณ วังขนาย
3. นายวิรัตน์ วรศสิริน
4. นพ.เรวัต วิศรุตเวช
5. นพ.ประสงค์ บูรณพงศ์
6. น.ส.นภาพร เพ็ชร์จินดา
7. นายเพชร เอกกำลังกุล
8. น.ส.ธนพร โสมทองแดง
9. นายอำไพ กองมณี
10. พล.ต.ท.วิศณุ ม่วงแพรสี
11. ดร.สุวัตร สิทธิหล่อ

พรรคชาติไทยพัฒนา 5 ที่นั่ง

1. นายวราวุธ ศิลปอาชา
2. นายธีระ วงศ์สมุทร
3. นายนิกร จำนง
4. นายนพดล มาตรศรี
5. นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง

พรรคเศรษฐกิจใหม่ 6 ที่นั่ง

1. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
2. นายสุภดิช อากาศฤกษ์
3. นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล
4. นายภาสกร เงินเจริญกุล
5. นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์
6. นางมารศรี ขจรเรืองโรจน์

พรรคประชาชาติ

ไม่มีว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อ

พรรคเพื่อชาติ 5 ที่นั่ง

1. นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์
2. น.ส.ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช
3. นายอารี ไกรนรา
4. นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล
5. นางลินดา เชิดชัย

พรรครวมพลังประชาชาติไทย 4 ที่นั่ง

1. ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล
2. น.ส.เพชรชมพู กิจบูรณะ
3. นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์
4. น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ

พรรคชาติพัฒนา 2 ที่นั่ง

1. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ
2. นายดล เหตระกูล

พรรคพลังท้องถิ่นไท 2 ที่นั่ง

1. นายชัชวาลย์ คงอุดม
2. นายโกวิทย์ พวงงาม

พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 1 ที่นั่ง

1. นายดำรงค์ พิเดช

พรรคพลังปวงชนไทย 1 ที่นั่ง

1. นายนิคม บุญวิเศษ

พรรคพลังชาติไทย 1 ที่นั่ง

1. พล.ต.ทรงกลด ทิพยรัตน์


(อัปเดตล่าสุด 21.00 น. วันที่ 28 มี.ค. 2562)
กำลังโหลดความคิดเห็น