xs
xsm
sm
md
lg

จ่ายครบแล้ว! ค่าโง่ 377 ล้าน กษ.แพ้คดีต้นกล้ายางให้ซีพี เผย "กรมวิชาการเกษตร" ใช้ "งบกลาง" จ่ายงวดสุดท้าย 123.07 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


จ่ายครบแล้ว! ค่าโง่ 377 ล้าน ก.เกษตร แพ้คดีโครงการต้นกล้ายางชำถุง ปี 2546-49 ให้ซีพี-แบงค์ทหารไทย เผย "กรมวิชาการเกษตร" จ่ายงวดสุดท้าย 123.07 ล้าน จากงบกลาง เบิกก้อนสุดท้ายสิ้นเดือนมี.ค.นี้ หลังแบ่งชำระไปแล้ว 2 งวดจากงบประมาณรายจ่ายปี 2561 กว่า 254.445 ล้านบาท หลังศาลฎีกามีคำพิพากษาให้แพ้คดี ตั้งแต่ ต.ค. 2560 เปิดมติ "คณะทำงานเจรจาประนอมลดหย่อนหนี้" ตามคำพิพากษา ประชุมรวม 4 ครั้ง คู่ความยอมให้ลดเงินค่าเสียหาย

วันนี้ (25 มี.ค.) แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในเร็ว ๆ นี้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมนำเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้กันไว้เบิกเหลื่อมปีถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2562 แล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 123,070,281.71 บาท เพื่อนำไปชำระให้แก่ผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลฎีกา (กรณีต้นกล้ายางชำถุง) โดยเป็นการชำระให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด (ซีพี) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หลังศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีกล้ายางชำถุง เมื่อวันที่ 5 ต.ค.2560 โดยกรมวิชาการเกษตรต้องชำระหนี้ให้ซีพี 377.51 ล้านบาท ซึ่งกรมวิชาการเกษตรแบ่งชำระไปแล้ว 2 งวดจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ทั้งสิ้น 254.445 ล้านบาท เหลือเพียง 1 งวดซึ่งเป็นงวดสุดท้าย เป็นเงิน 123.07 ล้านบาท

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวเกิดจากการทำโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ระยะที่ 1 (ปี 2547-2549) ซึ่งตามมติ ครม.ให้กรมวิชาการเกษตรทำสัญญาจ้างเหมาผลิตต้นกล้ายางชำถุง 90 ล้านต้นกับซีพี วงเงิน 1,397.7 ล้านบาท ตามโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ระยะที่ 1 (ปี 2547-2549) พื้นที่ 36 จังหวัด 1 ล้านไร่ ต่อมากรมวิชาการเกษตรมีหนังสือบอกเลิกสัญญา เนื่องจากซีพีไม่สามารถผลิตต้นกล้ายางชำถุงที่เหลือในงวดที่ 11 และงวดที่ 12 และส่งมอบได้ตามเวลา เนื่องจากเกิดอุทกภัยและวาตภัยอันเป็นเหตุสุดวิสัย และทางซีพีได้ส่งหนังสือแจ้งเลื่อนการส่งมอบต้นกล้ายางชำถุงส่วนที่เหลือ แต่ทั้ง 2 ฝ่ายมีข้อโต้แย้งประเด็นการขยายเวลา และมีการฟ้องร้องกันดังกล่าว.

เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ครม.ชุดล่าสุด ได้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร รับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อสอบสวนหาผู้รับผิดกรณีเกิดความเสียหายแก่ทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนโดยเร็ว และเพื่อให้การดำเนินโครงการด้านการเกษตรในระยะต่อไปเป็นไปด้วยความรอบคอบและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์

ควรพิจารณาความจำเป็นในการกำหนดความเสี่ยงและแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการส่งเสริมด้านการเกษตรตั้งแต่ในขั้นตอนการจัดเตรียมโครงการ โดยคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และการกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดหาปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะหากต้องจัดหาในจำนวนมาก เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการ โดยให้ยึดประโยชน์สูงสุดของทางราชการ และดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

คดีดังกล่าว เกืดขึ้น เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2546 กรมวิชาการเกษตร ไต้ทำสัญญาจ้างเหมาผลิตต้นกล้ายางชำถุง 90 ล้านต้น กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ จำกัด 1,397.7 ล้านบาท โดยแบ่งการส่งมอบ 3 ปี คือ ปี 2547 จำนวน 18 ล้านต้น ปี 2548 จำนวน 27 ล้านต้น และปี 2549 จำนวน 45 ล้านต้น ทั้งนี้ บริษัทกำหนดส่งมอบต้นกล้ายางชำถุงเป็น 12 งวด โดยกรมวิชาการเกษตรจะจ่ายเงินค่าจ้าง เมื่อบริษัทส่งมอบต้นกล้ายางชำถุง และคณะกรรมการตรวจรับไต้ตรวจรับเรียบร้อยแล้วในแต่ละงวด กำหนดส่งมอบ ต้นกล้ายางชำถุงงวดแรกภายในวันที่ 31 พ.ค. 2547 และงวดที่ 12 ภายในวันที่ 31 ส.ค.2549

20 เม.ย. 2549 กรมวิขาการเกษตร มีหนังสือบอกเลิกสัญญา เนื่องจากภายหลังทำสัญญาจ้างบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ จำกัด ส่งมอบต้นกล้ายางชำถุงให้แก่กรมวิชาการเกษตร จนถึงงวดที่ 11 มีการส่งมอบเพียงบางส่วน 6,355,611 ต้น ซึ่งคณะกรรมการไต้ตรวจรับและคิดเป็น ค่าจ้าง 107,298,369.59 บาท โดยยังมิได้เบิกจ่ายเงินให้ ต่อมาบริษัทได้แจ้งว่าไม่สามารถผลิตต้นกล้ายาง ชำถุงที่เหลือในงวดที่ 11 จำนวน 11,644,389 ต้น และงวดที่ 12 จำนวน 4,500,000 ต้น และส่งมอบได้ ภายในวันที่ 31 ส.ค.2549 เนื่องจากเกิดอุทกภัยและวาตภัยอันเป็นเหตุสุดวิสัย บริษัทได้ส่งหนังสือแจ้ง เหตุขัดช้องมายังกรมวิชาการเกษตรเพื่อขอเลื่อนการส่งมอบต้นกล้ายางชำถุงส่วนที่เหลือ โดยขอส่งมอบวันที่ 1 เม.ย.2550 ถึงวันที่ 15 ก.ค.2550 ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้มีข้อโต้แย้งประเด็นการขยายเวลา

อย่างไรก็ตาม ภายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษา วันที่ 15 ธ.ค.2560 สำนักงานคดีแพ่ง สำนักงานอัยการสูงสุด มีหนังสือตอบเกี่ยวกับแนวทาง หลักเกณฑ์ ชั้นตอน และวิธีปฏิบัติภายหลังศาลได้มีคำพิพากษาให้ชำระหนี้เพื่อเป็นแนวทาง ในการตั้งงบประมาณชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยสรุปให้กรมวิชาการเกษตรชำระหนี้ให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามกำหนด

ทั้งนี้โจทก์และโจทก์ร่วมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามคำพิพากษาตลอดเรื่อยไปจนกว่ากรมวิชาการเกษตร จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยตรงหรือโดยวิธีการวางเงินต่อศาลแพ่งเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์และโจทก์ร่วม อันจะมีผลทำให้หนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นอันระงับสิ้นไป วันที่ 25 ม.ค.2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีคำสั่งที่ 89/2561 แต่งตั้งคณะทำงานเจรจาเพื่อขอประนิประนอมลดหย่อนหนี้ตามคำพิพากษา และได้มีการประชุมรวม 4 ครั้ง

โดยได้สรุปข้อเสนอการเจรจาลดหนี้ 1. ค่าเสียหายต้นกล้ายางชำถุงตามคำพิพากษา ที่ต้องจ่ายให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ จำกัด โจทก์ จำนวน 127,851,511.60 บาท ขอลดเหลือเป็นเงิน 111,384,409.60 บาท และของดดอกเบี้ยทั้งหมด
ซึ่งค่าเสียหายฯ ที่ได้รับไว้บางส่วนตามคำพิพากษาที่ต้องจ่ายให้ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ร่วม จำนวน 83,897,243.01 บาทฺ เห็นควรชำระ ตามยอดแต่ของดดอกเบี้ยหลังฟ้องทั้งหมด ยกเว้นดอกเบี้ยก่อนฟ้องสำนวนแรกต้องไม่เกิน 6,817,917.24 บาท ยังคงยึดถือตามคำพิพากษาของศาล ส่วนค่าทนายความชั้นฎีกา แทนบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ จำกัด โจทย์ จำนวน 100,000 บาท และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาซน) โจทย์ร่วม จำนวน 50,000 บาท ของดฃำระทั้งหมด โดยขอให้คิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา (4 ต.ค.2560)

2. ข้อยุติการเจรจาลดหนี้ วันที่ 26 ก.ย.2561 บริษัท เจริญโภคกัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งว่ายินยอมให้คงดอกเบี้ยตามคำพิพากษา สะดุดหยุดลง ณ วันที่ 31 ธ.ค.2560 คิดเป็นภาระหนี้จำนวนเงิน 377,414,981.71 บาท รายการเงินชำระหนี้คิดเป็นเงินต้นตามคำพิพากษาศาลฎีกาและดอกเบี้ยคิดคำนวณ สะดุดหยุดลง ณ วันที่ 31 ธ.ค.2560 ดังนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ จำกัด โจทก์ เงินต้น 127,841,41160 บาท ดอกเบี้ย 100,491,117.38 บาท รวมทั้งสิน 228,442,628.98 บาท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ร่วม เงินต้น 83,897,243.01 บาท ดอกเบี้ย 64,026,109.72 บาท รวมทังสิน 148,923,342.73 บาท ค่าทนายความชั้นฎีกา 140,00 บาท (แทนบริษัท เจริญ โภคกัณฑ์เมล็ดพันธุ จำกัด โจทก์ 100,000 บาท แทนธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ร่วม 40,000 บาท รวม เปนเงินทั้งสิ้น 377,414,981.71 บาท

3. ภายหลังได้รับอนุมัติงบกลางกรมวิซาการเกษตร ได้นำเงินไปขำระให้แก่โจทก์ และโจทก์ร่วม และคดีถือเป็นที่สิ้นสุด ทั้งนี้มื่อ วันที่ 8 มี.ค.2561 โดยความเห็นชอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร ได้มีคำสั่งที่ 394/2561 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในเบื้องต้น เพื่อดำเนินการตรวจสอบ รวบรวมหลักฐาน และพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่กรมวิชาการเกษตร ตามคำพิพากษาศาลฎีกา

โดยสรุปจำนวนเงิน ที่กรมวิชาการเกษตร ได้รับอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้กันไว้ เบิกเหลื่อมปีถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2562 แล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 123,070,281.71 บาท.


กำลังโหลดความคิดเห็น