xs
xsm
sm
md
lg

สธ.ยอมถอนร่าง พ.ร.ฎ.คุมสาขาวิชาวัดสายตา-ประกอบแว่น พ้นกฤษฎีกา เหตุ ม.รามฯ-ผู้ประกอบการ ร้องกำกวม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สธ.ยอมถอนร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดให้สาขาทัศนามาตรเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ้นบอร์ดกฤษฎีกา แม้ ครม.รับหลักการ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เผยคณะทัศนมาตรศาสตร์ รามคำแหง-ชมรมผู้ประกอบอาชีพแว่นตา ร้องคัดค้านนิยาม “ทัศนมาตรศาสตร์” มีความทับซ้อน-กำกวม ทำผู้ประกอบอาชีพใช้ศาสตร์และศิลป์ประกอบโรคศิลปะให้แก่ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตาได้ไม่เต็มที่

วันนี้ (7 มี.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติให้ถอนร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาทัศนามาตรเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ... ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาออก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ หลังจากได้รับหลักการเมื่อ 12 ธ.ค. 2560 งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ต่อมา คณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีหนังสือร้องเรียนคัดค้านการกำหนดนิยามความหมายของคำว่า “ทัศนมาตรศาสตร์” ที่ ครม.รับหลักการ โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ว่านิยามคำว่า “ทัศนมาตร” ในลักษณะดังกล่าว มีความทับซ้อนและกำกวมเนื่องจากในมาตรา 3 วรรค 3 ถูกระบุห้ามการวัดสายตา ซี่งถือเป็นกระบวนการหนื่งในการประกอบวิชาชีพของทัศนมาตรศาสตร์

“การระบุห้ามในลักษณะดังกล่าว เป็นเหตุให้นักทัศนมาตรศาสตร์ไม่สามารถทำการตรวจ การวิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งค่าสายตา ของผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตาโดยใช้ศาสตร์และศิลป์ทางด้านทัศนมาตรศาสตร์รวมถึงไม่สามารถทราบถึงต้นตอ และความเป็นจริงแห่งอาการปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ปวยเพื่อจะได้หาทางเยียวยาแก้ไขทุเลาอาการที่เกิดขึ้น ตามหลักการขั้นพื้นฐานแห่งการดูแลรักษาตามหลักวิชาการทางการแพทย์ จึงขอเสนอให้ตัดคำว่า “การวัดสายตา” ออกจากข้อยกเว้นตามร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาทัศนมาตรเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ...”

ทั้งนี้ ตามร่างดังกล่าวได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามความหมายของคำว่า “ทัศนมาตร” ที่ให้หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะเกี่ยวกับสายตาของมนุษย์ เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของ การมองเห็นและการแก้ไขพึ๋!นฟูความผิดปกติของการุมองเห็นด้วยกรรมวิธีการใช้แว่นตา เลนส์สัมผัส และการฝึกบริหารกลัามเนื้อตาโดยการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือยา ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแบะนำ ของคณะกรรมการแต่ไม่หมายความรวมถึง (1) การแก้ไขความผิดปกติของการมองเห็นเนื่องจากระบบประสาทตา หรือโรคทางตาที่ไม่ได้เกิดการหักเหของแสง (2) การแก้ไขความผิดปกติ1ของการมองเห็นและการแก้ไขทื้เนฟูความผิดปกติของการมองเห็นโดยการผ่าตัดหรือการใช้เลเซอร์ชนิดต่างๆ และ (3) การวัดสายตาและการประกอบแว่นตาของช่างแว่นตา

มีรายงานว่า ที่ผ่านมาชมรมผู้ประกอบอาชีพแว่นตา สมาคมส่งเสริมวิชาการแว่นตาไทย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมแสดงความเห็นโดยเสนอให้รัฐบาล ทบทวนร่างฯ ดังกล่าวผ่านสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะประเด็นกำหนดให้สาขาทัศนมาตรเป็นการประกอบโรคศิลปะ หากมีผลบังคับใช้แล้วช่างแว่นตาจะถูกนักทัศนมาตรควบคุมหรือในร้านแว่นจะต้องมีนักทัศนมาตรเป็นผู้วัดตาเท่านั้น ถือว่าเป็นการเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน

สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ที่ ครม.รับหลักการเทื่อปี 2560 กำหนดนิยามคำว่า “ทัศนมาตร” หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะเกี่ยวกับสายตาของมนุษย์ กำหนดให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาทัศนมาตร ประกอบด้วย กรรมการที่เป็นผู้แทนจากสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาทัศนมาตร โดยมีผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการวิชาชีพซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตร กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการวิชาชีพ และเหตุแห่งการพ้นจากการดำรงตำแหน่งของกรรมการที่เป็นผู้แทนจากสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาทัศนมาตร การเลือกประธานกรรมการวิชาชีพและรองประธานกรรมการวิชาชีพ

กำหนดอำนาจหน้าที่ และการดำเนินการของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาทัศนมาตรโดยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 กำหนดคุณสมบัติผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาทัศนมาตร ในการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ สาขาทัศนมาตร รวมถึงผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศต้องได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาทัศนมาตร จากประเทศที่สำเร็จการศึกษาหรือประเทศที่ผู้นั้นปฏิบัติงานอยู่ด้วย

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่องการอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ และประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการต่ออายุหนังสืออนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ พ.ศ. 2550 และกำหนดให้พระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบอาชีพเกี่ยวกับการตรวจวัดสายตาและการประกอบแว่นตาในร้านแว่นตาตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว



กำลังโหลดความคิดเห็น