xs
xsm
sm
md
lg

เปิดหนังสือทบทวนตั้ง “กองทุนพัฒนาอุดมศึกษา” 5 หมื่นล้าน “บอร์ดบริหารทุนหมุนเวียน” ถึงวิก สนช. ย้ำอาจไม่จำเป็น เหตุแก้ปัญหาแค่ปลายเหตุ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เปิดข้อเสนอ “บอร์ดบริหารทุนหมุนเวียน” ส่งถึง ปธ.ประสานงาน สนช. “รมว.คลัง” ขอทบทวน ตั้ง “กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” 5 หมื่นล้าน ย้ำอาจไม่จำเป็น เหตุเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ยันต้นเหตุสามารถแก้ในเชิงนโยบาย ทั้งการจัดตั้งงบประมาณผลิตบัณฑิตและกำลังคนของสถาบันอุดมศึกษา ชี้ต้องให้ตรงกับความต้องการของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ เผยงบ 81 สถาบันอุดมศึกษารัฐ ปี 62 ได้จัดสรรกว่า 1 แสนล้านล้าน อาจไม่สะท้อนข้อเท็จจริง วงเงินงบประมาณที่จะสามารถนำมาจัดสรรเป็นรายได้ของกองทุน

วันนี้ (21 ก.พ.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภายหลัง ครม.เห็นชอบผลการพิจารณาการขอทบทวนการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ที่มี รมว.คลังเป็นประธาน

ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง หากกระทรวงศึกษาธิการยังคงเห็นความจำเปีนในการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา และมีข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องชัดเจนเพียงพอ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ก็ให้น่าเรื่องเสนอ ต่อคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อพิจารณาทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งภายในระยะเวลา 2 ปี เมื่อร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ... มีผลใช้บังคับแล้ว

สำหรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมนเวียน เห็นควรไม่ให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการขอทบทวนตามร่างพระราขบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ... โดยมีความเห็นดังนี้

กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา มีรายได้หลักมาจากเงินงบประมาณ และรายรับอื่น ยังไม่มีควานชัดเจนเพียงพอที่จะกลับมาเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์

การกำหนดแหล่งที่มาของเงินรายได้หลักจากเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี เป็นการขอจัดสรรเงินงบประมาณปกติจากวงเงินที่จัดสรรให้ในระดับอุดมศึกษา ประมาณรัอยละ 50 ในแผนงานพื้นฐาน แผนงานยุทธศาสตร์ และแผนงานบูรณาการที่เป็นงบดำเนินการด้านการผลิตและพัฒนาบัณฑิต เพื่อเป็นรายได้ของกองทุนฯ โดยมิได้มีการเพิ่มวงเงินงบประมาณจากการชี้แจงของ สกอ.ดังกล่าว

“เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงจากข้อมูลสรุปงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของสถาบันอุดมของรัฐ 81 แห่ง จำนวนเงินทั้งสิ้น 104,282,260,800 บาท พบว่าเป็นแผนงานบุคลากรภาครัฐ จำนวน 68,804,878,400 บาท หรือร้อยละ 60.47 งบลงทุน จำนวน 9,495,613,100 บาท หรือ ร้อยละ 8.35 และงบดำเนินการในแผนงานพื้นฐาน แผนงานยุทธศาสตร์ และแผนงานบูรณาการ จำนวนรวม 35,477,382,400 บาท หรือร้อยละ 31.18”

ดังนั้น การที่ สกอ.กำหนดจำนวนเงินอุดหนนที่รัฐบาลจัดสรรให้กองทุนฯ เป็นรายปี จำนวน 50,000 ล้านบาท โดยพิจารณาจากการจัดสรรวงเงินงบประมาณปกติ จากวงเงินที่จัคสรรให้ในระดับอุดมศึกษาประมาณ ร้อยละ 50 จึงอาจไม่สะท้อนข้อเท็จจริงในเรื่องวงเงินงบประมาณที่จะสามารถนำมาจัดสรรเป็นรายได้ของกองทุนฯ

“การดำเนินการดังกล่าวยังไม่มีการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา จึงอาจจะส่งผลต่อการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาได้”

ขณะที่การกำหนดประมาณการรายจ่ายล่วงหนัาเป็นระยะเวลา 5 ปี ไว้เฉพาะรายจ่าย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาฯ และสนับสนุน และพัฒนาผู้เรียน คณาจารย์ และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวงโดยมิได้ประมาณการ

ในส่วนของการสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศและค่าใข้จ่าย ในการบริหารเงินกองทุนฯ เห็นว่า ควรคำนึงถึงศักยภาพและคามสามารถในการผลิตบัญฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน การไม่ได้กำหนดค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนฯ โดยการใช้บุคลากรภาครัฐ และเงินงบประมาณปกติในการบริหารจัดการกองทุนฯ อาจส่งผลให้การบริหารจัดการกองทุนฯ อาจมีลักษณะเป็นงานฝากของหน่วยงาน ไม่มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนฯ โดยตรง ทำให้การบริหารจัดการขาดความต่อเนื่องและขาดประสิทธิภาพเช่นเดียวกับเงินทุนหมุบเวียนอื่น เช่น เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2561 (2.3673, 2.1659 และ 1.5975 (ผลเบื้องต้น) ตามลำดับ) ประกอบกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนฯ จากเงินงบประมาณปกติจะทำให้ไม่สะท้อนต้นทุนการดำเนินงานที่แท้จริงของกองทุนฯ ได้

ดังนั้น สกอ.จึงควรมีการวิเคราะห์ลักษณะการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนฯ เพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนฯ รวมถึงกำหนดโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของกองทุนฯ ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถดำเนินภารกิจได้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

สำหรับวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาและกลุ่มเป้าหมายตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่มีการแก้ไขทำให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ในบางส่วนยังมีความซํ้าซ้อนกับเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการศึกษาเอกชนกู้ยืมเงิน ในการพัฒนาสถาบัน และให้ทุนการศึกษาอาจารย์ประจำสถาบัน ทั้งนี้ ในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสามารถดำเนินการได้จากงบประมาณปกติ

สำหรับ การขอจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ... ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์กองทุนฯ ตามร่างมาตรา 49 วรรคแรก ที่กำหนดว่า “...และการดำเนินการพัฒนาในเรื่องอื่นตามที่สภากำหนด” เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินงานของกองทุนฯ ที่ไม่ชัดเจน, การกำหนดวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตามร่างมาตรา 50 (5) ที่กำหนดว่า เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ไนพระราชบัญญัตินี้อาจจะทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินเกินวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

การกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง และการพันจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามร่างมาตรา 52 กำหนดไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20, การกำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ตามร่างมาตรา 53 ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 มาตรา 21

การกำหนดการบริหารจัดการและการจัดหาผลประโยชน์กองทุนฯ ตามร่างมาตรา 53 (4) และ (5) กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุน มีหน้าที่และอำนาจในการบริหารกองทุนและดำเนินเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา และวางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน และการดำเนินการอื่นที่จำเป็น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไม่สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เรื่อง มาตรฐานการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารพัสดุ การบัญชี การรายงานทางการเงิน และการตรวจสอบภายในของทุนหมุนเวียน ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560

การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ตามร่างมาตรา 56 (2) ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน มาตรา 11 (7) มาตรา 31 และมาตรา 32 โดยกองทุนฯ ต้องเข้าสู่ระบบการประเมินผลการดำเนินงานของกรมบัญชีกลางตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และการรายงานผลการประเมินผลการดำเนินงานที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนประกาศกำหนด

การกำหนดระยะเวลาในการจัดทำรายงานการเงินส่งผู้สอบบัญชี และการกำหนดระยะเวลาการให้ผู้สอบบัญชีทำรายงานการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน ตามร่างมาตรา 58 และร่างมาตรา 49 ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 มาตรา 28 และมาตรา 29

ดังนั้น การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาขึ้นมาเพื่อใช้กองทุนฯ เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณจากการจัดสรรตรงให้สถาบันอุดมศึกษา ตามความพร้อมและตามความสามารถของสถาบันอุดมศึกษา เป็นจัดสรรผ่านระบบกองทุนให้แก่สถาบันอุดมศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตและกำลังคนที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูงให้ตรงกับความต้องการของประเทศ เป็นปัญหาการบริหารจัดการ ซึ่งสามารถดำเนินตามภารกิจได้โดยการแก้ไขได้ตั้งแต่ต้นเหตุ คือ การกำกับดูแล การจัดทำคำของบประมาณของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งตามความพร้อมและตามความสามารถของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ในการผลิตบัณฑิตและกำลังคนระดับสูงเอพาะทางมีสมรรถนะและศักยภาพสูงให้ตรงตามความต้องการของประเทศ

“ดังนั้น การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาขึ้นมาเพื่อใช้กองทุนฯ เป็นเครื่องมือในการทำหน้าที่จัดสรรเงินดังกล่าว จึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ทั้งที่ต้นเหตุสามารถแก้ไขเชิงนโยบาย ให้การขอจัดตั้งงบประมาณผลิตบัณฑิตและกำลังคนดังกล่าวของสถาบันอุดมศึกษาต้องให้ตรงต่อความต้องการของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ โดยระบบการจัดสรรเงินงบประมาณปกติได้โดยอาจไม่จำเป็นต้องจัดตั้งกองทุนฯ”
กำลังโหลดความคิดเห็น