xs
xsm
sm
md
lg

ปรับแผนพัฒนาระบบประปาภูมิภาค 2 โครงการ 1.7 พันล้าน รองรับอีอีซี-เขต ศก.พิเศษ เหตุล่าช้ากว่าแผน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ไฟเขียวย้อนหลังจัดงบ 62 พัฒนาระบบประปา กปภ.ที่มีความล่าข้ากว่าแผนปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ เผยเป็นเงินก้อนแรก 1.6 พันล้าน รองรับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก หรืออีอีซี ปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขาพนมสารคาม-บางคล้า-(แปลงยาว)-(คลองนา)-(เทพราช) จ.ฉะเชิงเทรา ก้อนที่สอง 64.5 ล้านบาท ปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเวียงเชียงของ จ.เชียงราย รองรับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เผยปี 2562 กปภ. จ่อลงทุน 4,2 พันล้าน ส่วน ปี 63 ตั้งงบ 9 พันล้าน

วันนี้ (4 ก.พ.) รายงานข่าวจากกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับความเห็นชอบให้ใช้งบประมาณตามโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2561 ของ กฟภ. ภายหลัง ครม.รับหลักการโครงการที่ขอรับเงินงบประมาณ อุดหนุน 75% เงินกู้ในประเทศ 25% จำนวน 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 1,749 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ประกอบด้วย โครงการปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขาพนมสารคาม-บางคล้า-(แปลงยาว)-(คลองนา)-(เทพราช) อำเภอพนมสารคาม-บางคล้า-แปลงยาว- เมืองฉะเชิงเทรา-บ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวนเงิน 1,684.6 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเวียงเชียงของ จำนวนเงิน 64.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563

โครงการแรก เป็นการเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปารองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้สามารถตอบสนองความต้องการใข้นํ้าประปาให้ประชาชนและชุมชนโดยรอบในพื้นที่เขตจำหน่ายนํ้า ของแต่ละโครงการได้รับบริการนํ้าสะอาดที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอสำหรับใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค แบ่งเป็นลัดส่วนงบประมาณ ร้อยละ 75 คิดเป็นเงิน 1,263.4 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และเงินกู้ในประเทศ ร้อยละ 25 คิดเป็นเงิน 421.1 ล้านบาท โดยในส่วนของเงินงบประมาณให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 291.4 ล้านบาท ที่ได้จัดสรรงบประมาณให้แล้ว ส่วนที่เหลืออีก จำนวน 972 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ สำหรับเงินกู้ในประเทศ สมทบ ร้อยละ 25 ให้เป็นโปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

โดยเป็นโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาให้สามารถรองรับความต้องการใข้นํ้าในอนาคตได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง และมีอัตรานํ้าสูญเสียในพื้นที่โครงการตํ่ากว่าร้อยละ 20 โดยให้การประปาส่วนภูมิภาคเร่งประสานกับ กรมชลประทาน ในการเพิ่มความจุอ่างเก็บนํ้าคลองระบม เพื่อผันนํ้ามายังฝายท่าลาด เพื่อให้มีแหล่งนํ้าต้นทุน เพียงพอในการดำเนินงานโครงการปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขาพนมสารคาม-บางคล้า-(แปลงยาว)-(คลองนา)-(เทพราช)

โครงการที่ 2 รองรับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงของ วงเงินรวมทั้งสิ้น 64.5 ล้านบาท แบ่งเป็น สัดส่วนงบประมาณ ร้อยละ 75 คิดเป็นเงิน 48.4 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และเงินกู้ในประเทศ ร้อยละ 25 คิดเป็นเงิน 16.1 ล้านบาท โดยในส่วนของเงินงบประมาณให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 29.4 ล้านบาท ที่ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แล้ว ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 18.8 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต่อไป สำหรับเงินกู้!นประเทศสมทบ ร้อยละ 25 ให้เป็นโปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

“ครม.ได้ขอให้ กปภ.ดำเนินการ เร่งรัดและติตดามกับทั้ง 2 โครงการซึ่งมีความล่าช้ากว่าแผนปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ โดยในภาพรวมของการก่อหนี้และบริหารหนี้เงินกู้ดังกล่าว กปภ.จะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ การกระจายภาระการชำระหนี้อย่างเหมาะสม ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 อย่างเคร่งครัด และให้พิจารณา “ปรับอัตราค่านํ้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง” เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จด้วย”

สำหรับแหล่งเงินทุนของทั้ง 2 โครงการ สำนักงบประมาณเตรียมจัดสรรเงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 จำนวน 1,331.8 ล้านบาท โดยให้ กปภ.ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ ส่วนเงินกู้ในประเทศ จำนวน 437.2 ล้านบาท กระทรวงการคลังจะไม่คํ้าประกันเงินกู้ และขอให้ กปภ.ขออนุมัติการกู้เงินตามที่กำหนดในกฎหมายจัดตั้งให้ถูกต้องครบถ้วน

“โครงการดังกล่าวได้บรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2562 แล้ว ซึ่งกระทรวงการคลัง จะพิจารณาจัดลำดับ ความสำคัญในการกู้เงิน วิธีการกู้ เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ตามความเหมาะสมและจำเปีนต่อไป นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย โดย กปภ.ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่งพระราซบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เรียบร้อยแล้ว”

โครงการนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ได้เห็นควรให้ กปภ.เร่งดำเนินการและเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเปัาหมายโดยเฉพาะโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซี่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่ล่าข้าเนื่องจากประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การย้ายสถานที่ก่อสร้าง การขออนุญาตใช้พื้นที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การแก้ไขรูปแบบการก่อสร้าง รวมทั้งพิจารณาหาแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคการดำเนินงาน ในช่วงที่ผ่านมาและปรับแผนการดำเนินงานให้ทันต่อสถานการณ์โดยเร็ว เพื่อให้การลงทุนแล้วเสร็จตามแผนงาน สามารถขยายการให้บริการแก่ผู้ใช้นํ้ารายใหม่เพิ่มขึ้นตามเปัาหมาย และสร้างรายได้เพิ่มให้แก่องค์กรได้

“ให้ กปภ.ร่วมมือกับการประปานครหลวง องค์กรปกครองส่วนห้องถิ่น และสถาบันการศึกษาในการคึกษาวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำประปาตํ่าโดยใช้ปริมาณน้ำต้นทุนน้อย หรือการนำนํ้าประเภท อื่นๆ อาทิ การนำน้ำเสียมาใช้ในการผลิตน้ำประปา รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดการด้านอุปสงค์ โดยการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดทั้งในภาคครัวเรือน สถานประกอบการ และอุตสาหกรรม เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบในอนาคต และลดภาระงบประมาณการลงทุนจากภาครัฐในระยะยาว”

ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และเขตเศรษฐกิจพิเศษ กปภ. มีแผนการลงทุน ในปี 2562 กปภ.ได้ลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์ทั้งหมด 11 ด้าน รวม 1,190 โครงการ วงเงิน 4,295.775 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวในพื้นที่อีอีซี เริ่มดำเนินในปี 2561 รวม 3 โครงการ วงเงิน 6,088.417 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาผู้รับจ้างและรอทำสัญญา ได้แก่ 1.กปภ.สาขาชลบุรี-พนัสนิคม-พานทอง-ท่าบุญมี (ระยะที่ 1) อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี วงเงิน 2,889.095 ล้านบาท 2.กปภ.สาขาพนมสารคาม-บางคล้า-แปลงยาว-คลองนา-เทพราช อ.พนมสารคาม-บางคล้า-แปลงยาว-เมืองฉะเชิงเทรา-บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา วงเงิน 1,684.622 ล้านบาท 3. กปภ.สาขาบ้านฉาง อ.บ้านฉาง-เมืองระยอง-นิคมพัฒนา-ปลวกแดง จ.ระยอง วงเงิน 1,514.7 ล้านบาท

ขณะที่ปี 2563 กปภ.วางแผนขยายพื้นที่ปรับปรุงขยายการให้บริการเพิ่ม 19 โครงการ วงเงิน 9,794.868 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการปรับปรุงเพื่อรองรับ EEC จำนวน 2 โครงการ 3,200 ล้านบาท ได้แก่ โครงการชลบุรี-พนัสนิคม-พานทอง-ท่าบุญมี ระยะที่ 2 วงเงิน 1,700 ล้านบาท และโครงการพัทยา-แหลมฉบัง-ศรีราชา วงเงิน 1,500 ล้านบาท
กำลังโหลดความคิดเห็น