xs
xsm
sm
md
lg

เปิดหนังสือกฤษฎีกา แจ้ง “กต.-พาณิชย์” จัดทำร่างกรอบตารางเจรจาค้าโลก รับมือ Brexit รักษาประโยชน์ประเทศ ตาม ม.178 รธน.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เปิดหนังสือกฤษฎีกาแจ้งต่างประเทศ-พาณิชย์ ประเด็นจัดทำร่างกรอบเจรจาตารางข้อผูกพันภายใต้ WTO ของ EU และสหราชอาณาจักร รับมือ Brexit ที่อาจเข้าข่ายมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หลัง รมช.ต่างประเทศ กังวลบางประเด็นอาจเข้าข่ายมาตรา 178 ย้ำจุดยืนท่าทีของไทยต่อการเจรจาต้องรักษาสิทธิประโยชน์โดยรวมที่ไทยจะได้รับ ไม่น้อยไปกว่าที่ไทยเคยได้รับโดยรวม

วันนี้ (30 ม.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เวียนหนังสือความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถึงนายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล รมช.การต่างประเทศ ต่อร่างกรอบเจรจากรณีการจัดทำตารางข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ของสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร อันเป็นผลเนื่องมาจากการออกจากสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อที่กระทรวงพาณิชย์จะได้ใช้เป็นแนวทางในการเจรจาร่วมกับสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร

ประเด็นนี้ รมช.การต่างประเทศเสนอความเห็นว่า ไม่ขัดข้องในหลักการร่างกรอบเจรจา อย่างไรก็ดี หากผลการเจรจาทำให้เกิดข้อตกลงที่เห็นชอบร่วมกันแล้ว กระทรวงพาณิชย์ควรพิจารณาส่งเอกสารดังกล่าวให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณาประเด็นที่อาจเข้าข่ายมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ควรพิจารณาการเจรจาเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการสินค้า ปริมาณโควตา การนำเข้า และอัตราภาษืที่จะดำเนินการร่วมกับสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไก่แปรรูป ให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของไทยมากที่สุด

ทั้งนี้ ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาประกอบกับมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักเกณฑ์การพิจารณาคามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 6-7/2551 และที่ 3/2560 แล้วเห็นว่า ร่างกรอบเจรจาฯ เป็นการวางกรอบแนวทางและการกำหนดท่าทีของประเทศไทยในการเจรจากับสหภาพยุโรป และสหราขอาณาจักร ตามสำดับ กรณีการปรับปรุง ตารางข้อผูกพันภายใต้ WTO ของสหภาพยุโรปและสหราขอาณาจักร ซึ่งเป็นการดำเนินการตามข้อ XXVIII Modification of Schedules ของความตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากร และการค้า (GATT 1994) ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกที่ต้องการแกัไขหรือถอนข้อผูกพันในตารางพันธกรณีจะต้องเจรจาและตกลงกับประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะขอรับการรับรองตารางพันธกรณีที่ได้ผ่านการเจรจากับสมาชิกที่เกี่ยวข้องแล้วจากสมาชิก WTO ทั้งหมด จึงจะถือว่าตารางพันธกรณีนั้นเป็นตารางพันธกรณีที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าอย่างสมบูรณ์ ชี่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงตารางพันธกรณีดังกล่าว จึงมีสิทธิในการขอเจรจาภายใต้ข้อ XXVIII

“โดยร่างกรอบเจรจาที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาสิทธิประโยขน์โดยรวมที่ไทยจะได้รับหลังจากสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปไม่น้อยไปกว่าที่ไทยเคยได้รับโดยรวมเมื่อครั้งสหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป อันเป็นการกำหนดท่าทีและจุดยืนของประเทศไทยในการเจรจา โดยยังไม่มีการทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างกัน กรณีจึงไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นเรื่องในทางนโยบายซึ่งเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาได้ตามความเหมาะสม”

อนึ่ง หากในการเจรจากรณีการอัดทำตารางข้อผูกพันภายใต้ WTO ของสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักรดังกล่าวข้างต้นจะมีการจัดทำความตกลงระหว่างกัน ก็จะต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนการทำความตกลงนั้นตามมาตรา 4 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 และหากความตกลงดังกล่าวมีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศก็จะเข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

โดยหากการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามหนังสือสัญญานั้นต้องมีการออกพระราชบัญญัติ หรือหนังสือสัญญานั้นอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวางตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก็จะต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งยังคงทำหน้าที่รัฐสภาตามบทเฉพาะกาล มาตรา 263 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วย

“เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอความเห็นว่า กรณี Brexit อาจมีพันธกรณีต่างๆ ซึ่งประเทศไทยได้เคยจัดทำไว้กับสหภาพยุโรป หรือสหราชอาณาจักร ที่มีความจำเป็นต้องแก้ไข ปรับปรุง หรือจัดทำขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย กับสหภาพยุโรป หรือสหราชอาณาจักร ในปัจจุบันที่สหราชอาณาจักรกำลังจะแยกตัวเป็นเอกเทศจากสหภาพยุโรป ดังนั้นจึงเห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการด่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา กำหนดแนวทางการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเจรจากับสหภาพยุโรปและสหราขอาณาจักร ตามแต่กรณีต่อไปด้วย”

มีรายงานว่า สำหรับร่างกรอบเจรจาตามกรอบดังกล่าวที่ ครม.เห็นชอบ ในการขอแก้ไขข้อผูกพันในตารางพันธกรณี ที่จะส่งผลกระทบต่อสินค้าที่ไทยได้รับการจัดสรรโควตารายประเทศ (Country Specific - Quota - CSQ) รวมถึงสินค้าโควตาภาษีรายการอื่นๆ ที่ไทยมีการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรอย่างมีนัยสาคัญ โดยสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักรมีข้อเสนอในการปรับปรุงปริมาณโควตาภาษีเนื่องจากการออกจากสมาชิกภาพของสหราชอาณาจักร จะส่งผลให้สหภาพยุโรปคงเหลือสมาชิก 27 ประเทศ จากเดิม 28 ประเทศ จึงจะเป็นต้องมีการปรับข้อผูกพันปริมาณโควตาภาษีโดยการแบ่งสัดส่วนโควตาภาษีระหว่างสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร โดยใช้หลักการคือ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) = สหภาพยุโรป (28 ประเทศ) - สหราชอาณาจักร

เนื่องจากที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรปที่สินค้ามีการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเสรี (free circulation) ระหว่างกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อเสนอการแบ่งสัดส่วนโควตาไม่สะท้อนต่อการนาเข้าที่แท้จริงของสินค้าที่เข้าสู่สหภาพยุโรป และที่เข้าสู่สหราชอาณาจักร ดังนั้น ไทยจึงต้องเข้าร่วมการเจรจาการขอแบ่งสัดส่วนโควตาเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ในการส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร

“กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทาร่างกรอบการเจรจาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจากับสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร โดยมีสาระสาคัญ คือ เจรจาเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์โดยรวมที่ไทยจะได้รับหลังจากสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปไม่น้อยไปกว่าที่ไทยเคยได้รับโดยรวมเมื่อครั้งสหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป”
กำลังโหลดความคิดเห็น