xs
xsm
sm
md
lg

ยกเคส “ดอกจำปี” บนลำตัวบินไทย แผนกอาหารห้างโมเดิร์นเทรดชื่อดังทั่วประเทศไม่ต้องชำระภาษีป้ายฯ ให้ท้องถิ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ฝ่าย กม.มหาดไทย เห็นพ้อง กสถ. ย้ำป้ายอักษรไทยปนเครื่องหมายในแผนกอาหารห้างโมเดิร์นเทรดชื่อดัง ไม่เข้าข่ายต้องชำระภาษีป้ายให้ท้องถิ่น อัตรา 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม. ยกเคส 13 ปีที่แล้ว กทม.หารือขอเก็บภาษีป้ายชื่อและสัญลักษณ์ดอกจำปีบนลำตัวเครื่องบินการบินไทย และบนตัวถังรถยนต์ของบริษัทฯ ไม่เข้าข่ายต้องชำระภาษีป้าย มาตรา 6 พ.ร.บ.ภาษีป้ายปี 2510

วันนี้ (27 พ.ย.) แหล่งข่าวจากกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย เผยแพร่มติคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายฯ คณะที่ 1 กรณีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กสถ.) หารือข้อกฎหมายการจัดเก็บภาษีป้ายรายบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หลังจากจังหวัดนนทบุรี มีหนังสือหารือในประเด็นการจัดเก็บอัตราภาษีป้าย ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ซึ่งจังหวัดนนทบุรีมีความเห็นว่า ป้ายดังกล่าวถือเป็นป้ายที่ก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องกับการค้า และเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนเครื่องหมายอื่น จึงเป็นอัตราภาษีป้ายประเภทที่ 2 คิดอัตรา 20 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร แต่กรณีนี้เทศบาลนครปากเกร็ดมีความเห็นที่แตกต่างกัน เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความสำคัญและอาจส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีชององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า ตามมาตรา 6 แห่งพระราฃบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ได้กำหนดนิยามคำว่า “ป้าย” ที่เจ้าของมีหน้าที่จะต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

จากกรณีตามข้อหารือ ป้ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นป้ายที่มีอักษรไทย ระบุชื่อแผนกสินค้าอยูใต้ตัวเลขอารบิค และมีแถบสีขาวรูปทรงจั่วอยู่เหนือตัวเลขอารบิก โดยติดตั้งภายในอาคารประกอบการค้าของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เพื่อแจ้งตำแหน่งที่ตั้งของแผนกอาหารประเภทต่าง ๆ ภายในสถานประกอบการของบริษัท สยามแม็คโครฯ เป็นการอำนวยความสะดวกของผู้มาใช้บริการได้ทราบว่าสถานที่ตั้งของสินค้าต่างๆ อยู่ในแผนกใดเท่านั้น

“ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่ใช้ในทางประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือสื่อถึงการโฆษณาของบริษัท สยามแม็คโครฯ อันจะท้าให้บริษัทมีรายได้จากป้ายดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น ป้ายตามข้อหารือดังกล่าวจึงไม่ใช่อยู่ในนิยาม ของคำว่าป้าย ตามมาตรา 6 แห่งพระราฃบัญญัติภาษีป้ายฯ อันอยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 แห่งพระราขบัญญัติภาษีป้ายฯ แต่อย่างใด”

มีายงานว่า ก่อนหน้านี้ กสถ.ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 6 ได้กำหนดให้ป้ายที่ต้องเสียภาษี หมายถึงป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายไต้ กรณีป้ายตามข้อหารือของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งระบุชื่อแผนกสินค้าอยู่ใต้ตัวเลขอารบิค และมีแถบสีขาวรูปทรงจั่วอยู่เหนือตัวเลขอารบิค โดยติดตั้งภายในอาคารประกอบการค้าของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) จะถือเป็นป้ายที่อยู่ ในข่ายต้องเสียภาษีป้ายหรือไม่ เห็นว่าป้ายดังกล่าวไม่ถือเป็นป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครืองหมายทีใช้ในการ ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ แต่เป็นป้ายที่มีวัตถุประสงค์เพียงต้องการให้ทราบถืงสถานที่ตั้งของแผนกต่างๆ เท่านั้น จึงไม่อยู่ในความหมายของ คำว่า “ป้าย” ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510

ขณะที่สำนักกฎหมาย ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีความเห็นว่า มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ได้กำหนดนิยามคำว่า “ป้าย” ที่เจ้าของมีหน้าที่จะต้องเสียภาษี ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ว่า “ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น” และคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) เคยให้ความเห็นไว้ในเรื่องการวัดเก็บภาษีป้าย จากป้ายชื่อและสัญลักษณ์ซึ่งติดอยู่ที่เครื่องบินและรถยนต์ (กรณีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามเรื่อง เสร็จที่ 13/2549 ว่า

“การแสดงชื่อและสัญลักษณ์ของสายการบินต่างๆ ซึ่งติดอยู่ที่สำตัวเครื่องบิน รวมทั้งการแสดงชื่อและสัญลักษณ์ของบริษัทการบินไทยฯ ซึ่งติดอยู่ที่ตัวถังรถยนต์ของบริษัทมุ่งหมายเพื่อให้คนทั่วไป ทราบว่าเป็นเครื่องบินของสายการบินใดหรือเป็นรถยนต์ของบริษัทการบินไทยฯ เท่านั้น แม้การแสดงชื่อและสัญลักษณ์ดังกล่าวอาจมีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์สายการบินและบริษัทให้เป็นที่รู้จัก แต่ก็ใม่ปรากฏชัดเจนว่า เป็นการสร้างแรงจูงใจหรือส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้บริการของสายการบินหรือบริษัทการบินไทยฯ อันจะ ถือได้ว่าการแสดงชื่อและสัญลักษณ์นั้น ได้กระทำเพื่อหารายได้โดยตรงแก่สายการบินหรือบริษัทและโดยที่พระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ เป็นกฎหมายที่จัดเก็บภาษีอันเป็นภาระแก่ประชาชน จึงต้องตีความอย่างเคร่งครัด”

เมื่อข้อเท็จจริงตามประเด็นที่หารือมานี้ ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการแสดงชื่อและสัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นการแสดงเพื่อหารายได้หรือเป็นการโฆษณาเพื่อหารายได้ จึงไม่ถือเป็นป้ายตามนิยามคำว่า “ป้าย” ตามมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ และไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ ดังนั้น กรุงเทพมหานคร จึงไม่อาจจัดเก็บภาษีป้ายจากชื่อและสัญลักษณ์ของสายการบินต่างๆ ซึ่งติดอยู่ที่สำตัว เครื่องบิน รวมทั้งชื่อและสัญลักษณ์ของบริษัทการบินไทยฯ ซึ่งติดอยู่ที่ตัวถังรถยนต์ของบริษัทได้

“กรณีตามข้อหารือเป็นป้ายที่มีอักษรไทย ระบุชื่อแผนก และมีภาพรูปทรงจั่วสีขาวประกอบอยู่ด้วยนั้น เห็นว่า การติดตั้ง ป้ายตังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งตำแหน่งที่ตั้งของแผนกอาหารประเภทต่างๆ ภายในสถานประกอบการ ของบริษัท สยามแม็คโครฯ ให้ลูกค้าของบริษัททราบเท่านั้น และภาพรูปทรงจั่วสีขาว ก็ไม่ได้เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือสื่อถึงการโฆษณาของบริษัท สยามแม็คโครฯ อันจะทำให้บริษัทมีรายได้จากป้าย ดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น ป้ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ป้ายตามนิยามในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ ประกอบนัยความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) เรื่องเสร็จที่ 13/2549”
กำลังโหลดความคิดเห็น