xs
xsm
sm
md
lg

เบรกร่าง กม.กีฬามวยฉบับ สนช. รอรวมร่างฉบับ ก.ท่องเที่ยวฯ “กฤษฎีกา-กกท.-กรมเด็ก” เห็นพ้องเพิ่มโทษหนักจัดเด็กอายุน้อยขึ้นชก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เบรกร่าง กม.กีฬามวยฉบับ สนช. รอรวมร่างฉบับ ก.ท่องเที่ยวฯ เน้น “มาตรา 41 วรรค 2-3” แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดโทษ ห้ามโปรโมเตอร์มวย-นายสนามอนุญาตให้เด็กอายุน้อยขึ้นชก ด้าน “กฤษฎีกา-กกท.-กรมเด็ก” เห็นพ้องให้เพิ่มโทษในร่างของ ก.ท่องเที่ยวฯ เผย กกท.ย้ำ กม.ฉบับปัจจุบันคุมความปลอดภัยมวยเด็กอยู่แล้ว ทั้งระเบียบและกติกาและเด็ก รวมทั้งหากตํ่ากว่า 14 ปี ระบุให้มีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยนักมวยใหม่ กรมเด็กฯ ยันกระทบต่อสมองเด็กแน่นอน

วันนี้ (16 พ.ย.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับร่างพระราชบัญญัติกีฬามวย (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่ พล.อ.อดุลยเดช อินทะพงษ์ กับคณะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้เสนอ และรับทราบการพิจารณาและข้อสั่งเกตจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยล่าสุดได้ส่งร่างกลับไปยัง สนช.แล้วหลังได้รับหลักการเมื่อวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยล่าสุด ครม.เห็นชอบให้ชะลอการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มวย (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่เสนอโดย สนช. เพื่อรอร่าง พ.ร.บ.กีฬามวย (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อพิจารณาไปในคราวเดียวกัน

ล่าสุด สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้รับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวและส่งไปยังสำนักเลขาธิการวุฒิสภาแล้ว หลังจากได้รับความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ โดยได้ส่งความเห็นไปประกอบการพิจารณาในส่วนร่าฯของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประกอบด้วย

ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร.ได้เห็นชอบในหลักการโดยมีข้อสังเกต ดังนี้ (1.) ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดให้นักกีฬามวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และหัวหน้าค่ายมวย ต้องทำการขึ้นทะเบียน และได้กำหนดให้ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการของนักกีฬามวย นายสนามมวย และผู้จัดรายการแข่งขันกีฬามวย ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเสียก่อน ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนก็ได้มีการกำหนดโทษทางอาญาเอาไว้ด้วย ซึ่งเห็นว่าอาจไม่สอดคล้องกับมาตรา 77 วรรคสาม ของรัฐธรรมบุญแห่งราชอาณาจักรไทย

“ที่กำหนดให้รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตเฉพาะกรณีที่จำเป็นและพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง และควรที่จะพิจารณากำหนดมาตรการอื่นแทน การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต และการนำโทษทางอาญามาใช้เพี่อจูงใจให้บุคคลในวงการกีฬามวยตามร่างพระราชบัญญัตินี้ เช่น การให้ความคุ้มครองหรือสิทธิประโยชน์ เป็นต้น”

(2) อำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย ที่ได้มีการกำหนดขึ้นใหม่บางประการ เช่น การจัดทำแผนและแผนยุทธศาสตร์ หรือการใช้อำนาจในการกำกับดูแล ควบคุม คุ้มครอง เกี่ยวกับกีฬามวย นั้น ควรจะเป็นอำนาจของส่วนราชการ เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือกรมพลศึกษา มากกว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็น รัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ หน้าที่และอำนาจของสำนักงานดังกล่าวตามร่างมาตรา 18 (2) (6) และ (9) ที่แก้ไขเพี่มเติม ยังอาจซ้ำช้อนกับอำนาจหน้าที่ของกรมพลศึกษาและกระทรวงวัฒนธรรมอีกด้วย

ด้านผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เห็นด้วยในหลักการ โดยมีข้อสังเกตเช่นเดียวกับสำนักงาน ก.พ.ร. และมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า หากมีความจำเป็นจะต้องใช้ระบบการขึ้นทะเบียนก็ควรกำหนดระบบการขึ้นทะเบียนในรูปแบบที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 ด้วย

ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เห็นชอบด้วยในหลักการ แต่มีข้อสังเกตว่า ควรเพิ่มบทบัญญัติเพี่อป้องกันไม่ให้มีการเล่นพนันกีฬามวยเอาไว้ในร่างพระราชปัญญัติด้วย เพี่อให้เกิดความชัดเจน นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่านิยามของ "การแช่งขันกีฬามวย" ตามร่างพระราชปัญญัตินี้รวมไปถึงการชกมวยที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2475 หรือไม่ ซึ่งหากรวมไปถึงก็จะต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย

ส่วนผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบด้วยในหลักการ แต่มีข้อสังเกตกรณีตามร่างมาตรา 11 ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 นั้น มีข้อความซ้ำกับร่างมาตรา 47 ด้านผู้แทนสำนักงบประมาณ เห็นชอบในหลักการ แต่เห็นควรให้มีการกำหนดเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจนในร่างพระราขปัญญัตินี้ว่า การดำเนินการในเรื่องใดที่จะใช้เงินจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามพระราชปัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เช่น การจ่ายเงินรางวัลให้แก่นักกีฬามวย หรือการจ่ายค่ารักษาพยาบาลของนักกีฬามวยที่บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย เป็นต้น และกรณีใดที่จะใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปี

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นด้วยในหลักการ เนื่องจากสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ในยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยการสร้างนักกีฬามวยที่มีศักยภาพจะส่งผลให้มีการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกีฬามวยไม่ว่าจะ เป็นการจัดการแช่งขัน การฝึกสอน หรือการผลิตอุปกรณีกีฬา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ตามร่างพระราชปัญญัตินี้ได้กำหนดให้นักกีฬามวย ซึ่งรวมไปถึงนักกีฬามวยชาวต่างชาติต้องทำการขึ้นทะเบียน ซึ่งการกำหนดเอาไวัเช่นนี้เป็นการเพิ่มกระบวนการและขึ้นตอนในการจัดการแข่งขันกีฬามวย ทั้งที่ในปัจจุปันมีแนวความคิดในการยกเลิกกฎระเบียบที่สร้างขึ้นตอนโดยไม่จำเป็น (deregulation) แล้ว

ด้านผู้แทนกรมพลศึกษา เห็นชอบในหลักการ โดยมีข้อสังเกต ว่า (1) ร่างพระราชบัญญัติได้แก้ไขเพิ่มเติมนิยามของ “นักกีฬามวย” ให้รวมไปถึง “นักกีฬามวยสมัครเล่น” อย่างไรก็ดี หากพิจารณาวัตถุประสงค์ของพระราชปัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 ที่เป็นไปเพื่อควบคุมการแข่งชันกีฬามวยอาชีพแล้ว จึงมีข้อสังเกตว่า ขอบเขตของร่างพระราชปัญญัตินี้ ควรจะจำกัดเฉพาะกีฬามวยอาชีพ ไม่รวมไปถึงกีฬามวยสมัครเล่นหรือไม่ (2) ตามร่างมาตรา 23 (2) ที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้ผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสินต้องผ่านการฝึกอบรมหรือได้รับการรับรองความรู้ความสามารถตามที่สมาคมกีฬามวยกำหนด โดยมีข้อสังเกตว่าควรกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการฝึกอบรมและการรับรอง ความรู้ความสามารถของผู้ที่จะเป็นผู้ฝึกสอบหรือผู้ตัดสินมากกว่าสมาคมกีฬามวย

ด้านผู้แทนกรมกิจการเด็กและเยาวชน เห็นชอบในหลักการ แต่มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการให้เด็กอายุ 12-15 ปี เข้าแข่งขันกีฬามวย ซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่ร่างมาตรา 41 ที่แก้ไขเพิ่มเติมว่าการให้เด็กในช่วงอายุดังกล่าวเข้าแข่งขันกีฬามวยอาจส่งผลกระทบต่อสมองของเด็กได้ จึงควรมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับการฝ่าฝืนร่างมาตราดังกล่าวเอาไว้ให้ชัดเจนในร่างพระราชบัญญัตินี้ด้วย

ส่วนผู้แทนการกีฬาแห่งประเทศไทยเห็นชอบในหลักการ เนื่องจากเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามพระราชปัญญัติดังกล่าว โดยมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้ (1) นิยาม “กีฬามวย” ตามร่างมาตรา 3 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกำหนดให้หมายความรวมไปถึงมวยรูปแบบอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดนั้น มีข้อสังเกตว่า สำหรับมวยในรูปแบบอื่น เช่น ศิลปะป้องกันตัวชองชาติอื่น อาจมีองค์กรตลอดจนกฎหมายฉบับอื่นที่กำหนด ควบคุมดูแลเอาไว้อยู่แล้ว เช่น เป็นชนิดกีฬาที่มีสมาคมกีฬาตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ให้การควบคุมดูแลอยู่แล้ว เป็นต้น จึงมีข้อสังเกตว่าควรจะกำหนดให้ “กีฬามวย” ตามร่างพระราชปัญญัตินี้มีขอบเขตรวมไปถึง “มวยรูปแบบอื่น” ด้วยหรือไม่

(2) ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดฺถึงสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทยไว้ในหลายมาตรา แต่นอกจากสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทยแล้ว ในประเทศไทยยังมีสมาคมกีฬามวยอื่นที่ใช้ชื่อว่าแห่งประเทศไทยแห่งอื่นอีก จึงควรจะกำหนดถึงสมาคมกีฬามวยที่ใชั ขื่อว่าแห่งประเทศไทยแห่งอื่นๆ ด้วย เช่นกัน

(3) ร่างมาตรา 21 ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้นักกีฬามวยอาชีพต้องสังกัดค่ายมวย และยังได้กำหนดให้รายละเอียดของข้อตกลงระหว่างนักกีฬามวยอาชีพกับหัวหน้าค่ายมวยเอาไว้อีกด้วย ขื่งข้อกำหนดดังกล่าวมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับสัญญาจ้างแรงงาน อย่างไรก็ตาม การกีฬาแห่งประเทศไทยเห็นว่าข้อตกลงระหว่างนักกีฬามวยอาชีพกับหัวหน้าค่ายมวยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ ดังนั้นหากร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดรายละเอียดของข้อตกลงดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาจ้างแรงงานอาจทำให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติและไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงได้

(4) ร่างมาตรา 28 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้ใบอนุญาตจัดตั้งสนามมวยมีสองประเภท ได้แก่ ใบอนุญาตสนามมวยมาตรฐาน และใบอนุญาตสนามมวยชั่วคราว ซึ่งกรณีของใบอนุญาตสนามมวยมาตรฐานนั้น ในร่างมาตราดังกล่าวได้กำหนดให้มีอายุสิบปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ในขณะที่ตามกฎหมายปัจจุบันใบอนุญาตดังกล่าวจะมีอายุ 5 ปี ฃึ่งเห็นว่ากำหนดระยะเวลาตามกฎหมายในปัจจุบันมีความเหมาะสมกว่าเนื่องจากจะทำให้มีการตรวจสอบสนามมวยว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่บ่อยครั้งกว่า หากต้องรอจนถึงสิบปีอาจเป็นระยะเวลาที่นานเกินไป

(5) ร่างมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม ที่กำหนดห้ามผู้จัดรายการแข่งขันกีฬามวยและนายสนามมวย อนุญาตให้เด็กที่มีอายุตํ่ากว่า 15 ปี เข้าร่วมแข่งขัน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ทั้งนี้ โดยที่เด็กนั้นต้องมีอายุไม่ตํ่ากว่า 12 ปี และต้องมีมาตรการป้องกันอันตรายทางร่างกายและกฎกติกาการเล่นที่เหมาะสมเป็นการเฉพาะ และกรณีที่ตํ่ากว่า 12 ปี ห้ามแข่งขันมวย แต่ให้ส่งเสริมประสบการณ์ในกิจกรรมด้านการกีฬาได้นั้น เห็นว่าพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 ฉบับปัจจุบันก็มีมาตรการควบคุมการแข่งขันกีฬามวยของเด็กให้มีความปลอดภัยอยู่แล้ว โดยอาศัยการควบคุมตามระเบียบและกติกาการแข่งขัน และเด็กที่จะเข้าแข่งขันกีฬามวยอาชีพได้จะต้องมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป ซึ่งในกรณีที่เด็กดังกล่าวยังอายุไม่ครบ 20 ปี ก็จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมด้วย ทั้งนี้ รวมทั้งที่กฎหมายระบุอายุตํ่ากว่า 14 ปี ให้มีอุปกรณ์ในการปัองกันความปลอดภัยในการแข่งขันส่งเสริมสร้างนักมวยใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

(6) ร่างมาตรา 23 (2) ที่กำหนดให้ผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสินต้องผ่านการฝึกอบรมหรือได้รับการรับรองความรู้ความสามารถตามที่สมาคมกีฬามวยกำหนด ซึ่งเห็นว่าการกำหนดไว้เช่นนี้อาจทำให้เกิดปัญหาได้เนื่องจากในประเทศไทยมีสมาคมกีฬามวยหลายสมาคม

(7) ร่างมาตรา 41/1 ที่แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนกลางนั้น โดยเหตุที่ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย มีภาระหน้าที่มาก การกำหนดเอาไว้เช่นนี้อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความคล่องตัวในการบริหารงานได้ และยังจะส่งผลต่อการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2548 อีกด้วย

ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นชอบด้วยในหลักการ แต่มีข้อสังเกตถึงเหตุผลในการกำหนดให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นองค์ประกอบในคณะกรรมการกีฬามวย และมีข้อสังเกตว่า ความมุ่งหมายในการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการพิจารณาร้องทุกข์เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญานั้นคือเหตุใด เพราะมีเจตนาจะเอาผิดกับบุคคล ที่ไม่ทำตามคำสั่งหรือไม่

ท้ายสุด ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาและมีข้อสังเกตเพิ่มเติม มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 โดยได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม องค์ประกอบ ตลอดจนหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกีฬามวย การควบคุมกีฬามวย เช่น การเพิ่มหน้าที่และอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย การแข่งขันกีฬามวยของนักกีฬามวยที่เป็นเด็ก ตลอดจนกำหนดกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ เป็นต้น ได้เพิ่มหมวดเรื่องนายทะเบียนและพนักงาน เจ้าหน้าที่ และแก้ไขบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อสังเกตว่า แม้รูปแบบของร่างพระราขบัญญัติจะอยู่ในรูปแบบของกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม แต่หากพิจารณาจากเนื้อหาแล้วจะเห็นได้ว่าเน้นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราขบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 ในส่วนที่เน้นสาระสำคัญของกฎหมายรูปแบบของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงควรเน้นการปรับปรุงพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 มากกว่าที่จะเป็นเพียงการแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น

ส่วนร่างมาตรา 3 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งได้แก้ไขบทนิยามตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 นั้น เห็นว่า การแก้ไขนิยาม “กีฬามวย” ให้รวมไปกีงมวยรูปแบบอื่น ที่คณะกรรมการกำหนดด้วยจะทำให้สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย สามารถกำกับดูแลการแข่งขันกีฬามวยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการจัดการแข่งขันกีฬามวยในรูปแบบอื่นนอกจากการแข่งขันชกมวยตามกติกาของศิลปะมวยไทยหรือกีฬามวยสากล เช่น ศิลปะการต่อสู้แบบผสม (Mixed Martial Art (MMA)) เป็นต้น

นอกจากนี้ การเพิ่มนิยาม “นักกีฬามวยอาชีพ” และ “นักกีฬามวยสมัครเล่น” ยังทำให้สามารถจำแนกประเภทของนักกีฬามวยระหว่างประเภทอาชีพกับประเภทสมัครเล่นออกจากกัน และสามารถกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมความปลอดภัยในการจัดการแข่งขันกีฬามวยให้สอดคล้องเหมาะสมกับนักกีฬามวยแต่ละประเภทได้อีกด้วย

สำหรับร่างมาตรา 9 (6) ที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกีฬามวยในการส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับบุคคลองค์กรของต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เพื่อให้เน้นไปตามกฎและกติกาของศิลปะกีฬามวยไทยนั้น มีข้อสังเกตว่า ภารกิจของคณะกรรมการกีฬามวยไม่ได้รับผิดชอบเพียงแต่ศิลปะกีฬามวยไทยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกีฬามวยประเภทอื่นด้วย ดังนั้น หน้าที่และอำนาจในการประสานความร่วมมือของคณะกรรมการกีฬามวย จึงไม่ควรจะจำกัดไว้เพียงเฉพาะศิลปะกีฬามวยไทย แต่ควรจะรวมไปถึงกีฬามวยประเภทอื่นด้วย

กรณีของร่างมาตรา 41 ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดห้ามผู้จัดรายการแข่งขันกีฬามวยและนายสนามมวยอนุญาตให้เด็กที่มีอายุตํ่ากว่า 15 ปี เข้าร่วมการแข่งขัน เว้นแต่จะเป็นเด็กที่อายุไม่ตํ่ากว่า 22 ปี โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน และเน้นการจัดการแข่งขันที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ในกิจกรรมด้านการกีฬาและมีมาตรการป้องกันอันตรายทางร่ายกายและกฎกติกาการเล่นที่เหมาะสมเป็นการเฉพาะนั้น เห็นว่าจะส่งผลดีให้สามารถกำกับดูแลการแข่งขันกีฬามวยที่มีนักกีฬามวย ซึ่งเป็นเด็กเข้าร่วมการแข่งขันให้สามารถลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่เด็กได้

“อย่างไรก็ดี ยังมีข้อสังเกตว่าการฝ่าฝืนร่างมาตรานี้ไม่มีการกำหนดสภาพบังคับ หรือบทลงโทษเอาไว้แต่อย่างใด จึงควรจะมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับการฝ่าฝืนร่างมาตรานี้ด้วย”
กำลังโหลดความคิดเห็น