xs
xsm
sm
md
lg

สคช.ยกระดับการรับรองสมรรถนะบุคลากรไทยสู่สากล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จัดสัมมนา “ยกระดับการรับรองสมรรถนะบุคลากรไทยสู่สากล ด้วย มอช.” ยกระดับรับรองสมรรถนะของบุคคลตามวิชาชีพเข้าสู่มาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย 4.0 พร้อมมอบรางวัล 5 องค์กรต้นแบบพัฒนายอดเยี่ยม

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) จัดสัมมนา “ยกระดับการรับรองสมรรถนะบุคลากรไทยสู่สากล ด้วย มอช.” ในงานเปิดตัวเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอาชีพ (มอช.) และประกาศความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามาตรฐานวิชาชีพเข้าสู่มาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 โดยมี นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการ คณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีการแถลงข่าวความร่วมมือระหว่าง สคช. และธนาคารออมสินให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยนายพิสิฐิ รังสฤษฏ์วุฒิกุล ผอ.สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และนายอมรฤทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ รอง ผอ.ธนาคารออมสิน กลุ่มกำกับและธรรมาภิบาล พร้อมทั้งมอบโล่เกียรติคุณแก่องค์กรฯ ต้นแบบที่พัฒนาสู่มาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 จำนวน 5 รายด้วย นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษ “ยกระดับการรับรองสมรรถนะบุคลากรไทยสู่สากล ด้วย มอช.” และการเสวนา “มาตรฐานอาชีพไทยเพื่อการยอมรับในระดับสากล”
นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า สคช. ดำเนินโครงการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เข้าสู่มาตรฐานสากล (ISO/IEC 17024) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 โดยมอบหมายให้สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ เป็นผู้ดำเนินโครงการ มุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO/IEC 17024 ให้แก่บุคลากร เจ้าหน้าที่สอบ และผู้เกี่ยวข้องขององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลฯ ทั่วประเทศ รวมทั้ง การพัฒนาองค์กรต้นแบบให้สามารถนำระบบการรับรองสมรรถนะบุคคลฯ ไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ ปัจจุบัน สามารถพัฒนาผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สอบ และบุคลากรขององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลฯ และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 416 องค์กร รวมทั้งสิ้น 1,762 ท่าน และคัดเลือกองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลฯ เพื่อพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน ISO/IEC 17024 แล้ว จำนวน 33 แห่ง ซึ่งเป็นองค์กรที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในด้านต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกลุ่มเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย 4.0


กำลังโหลดความคิดเห็น