xs
xsm
sm
md
lg

วุ่น! “บิ๊กฉิ่ง” สั่งแก้ปัญหา อปท.เบิกงบจัดประเพณีไม่โปร่งใส เพิ่มอำนาจ "ผู้ว่าฯ" ตั้ง กก.ระดับจังหวัด ตัดสินพร้อมออกประกาศท้องถิ่นใดสมควรได้จัดงาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


วุ่น! “บิ๊กฉิ่ง” ซักซ้อมผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ แจ้งท้องถิ่นในกำกับแก้ปัญหาเบิกงบประมาณจัดงานประเพณีท้องถิ่นให้ถูกต้องตามระเบียบ-กฎหมาย เพิ่มอำนาจผู้ว่าฯ ตั้งกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาตัดสินว่าท้องถิ่นใดสมควรได้จัดงานประเพณี และสามารถเบิกจ่ายได้อย่างเหมาะสม ก่อนเสนอให้ผู้ว่าฯ ออกประกาศให้งานนั้นเป็นงานประเพณีของท้องถิ่น พร้อมให้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นงานประเพณีของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง หรือหลายท้องถิ่นในเขตจังหวัด

วันนี้ (28 ก.ย.) แหล่งข่าวจากกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อซักซ้อมแนวทางปฏิบิติการจัดงานประเพณีตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภายหลังได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใข้จ่าย ในการจัดงานการจัดการแข่งขันกีฬาและการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559

ทั้งนี้ ภายหลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลายแห่ง ได้ขอหารือเกี่ยวกับปัญหาการเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดงานประเพณีของท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งในประเด็นเรื่องอำนาจหน้าที่ การตีความว่ากิจกรรมหรือโครงการใดถือเป็นประเพณีในท้องถิ่น และความเหมาะสมของงบประมาณที่ใช้ ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการจัดทำบริการสาธารณะในเรื่องดังกล่าวให้แก่ประชาชน จึงได้จัดให้มีการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการปฏิบัติในเรื่องการจัดงานประเพณีตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. เพื่อให้ อปท.ดำเนินการใช้จ่ายเงินในการจัดงานของ อปท.ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง”

จากปัญหาข้างต้น ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใข้จ่ายในการจัดงานการจัดการแข่งขันกีฬาและการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาของ อปท. พ.ศ. 2559 ข้อ 5 กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติในการจัดงานประเภทต่างๆ ของ อปท.ที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบดังกล่าวได้ ประกอบด้วย กรณีของงานวันสำคัญของชาติ ได้แก่ วันสำคัญทางศาสนา เช่น วันวิสาฃบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น กรณีวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น วันปิยมหาราช เป็นต้น กรณีวันอี่นๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี เช่น วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ วันเด็กแห่งชาติ วันท้องถิ่นไทย เป็นต้น รวมถึงกรณีของงานประเพณีของชาติ เช่น งานวันลอยกระทง งานวันสงกรานต์ เป็นต้น งานประเพณีเฉพาะในพื้นที่ของอปท. หรืองานประเพณีของท้องถิ่น

โดยข้อซักซ้อมของกระทรวงมหาดไทยนี้จะต้องมีลักษณะและวัตถุประสงค์ของการจัดงานตามหลักเกณฑ์ คือ จะต้องเป็นกิจกรรมหรืองานที่จัดให้มีขึ้นสืบทอดเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน, เป็นการดำเนินการหรือกิจกรรมภายในงานที่เกิดประโยชน์สาธารณะ, มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงาม ความเสียสละ การมีส่วนร่วมและความสามัคคีในหมู่ชน, จะต้องไม่มีลักษณะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล หรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และ ต้องมีสัดส่วนของกลุ่มคนที่มีส่วนรวมในการสืบทอดประเพณีในระดับจังหวัด อำเภอ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล พอสมควร

ดังนั้น ในการพิจารณาว่างานประเพณึใดจะเป็นงานตามข้างต้นหรือไม่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัค แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดงานประเพณีของ อปท. ประกอบด้วย รองผู้ว่าฯ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วบตำบล ที่ผู้ว่าฯแต่งตั้ง และท้องถิ่นจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ

“โดยมีอำนาจหน้าที่พิจารณาการจัดงานประเพณีของ อปท.ในเขตจังหวัดว่าเรื่องใดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด แล้วเสนอให้ผู้ว่าฯพิจารณาประกาศเป็นงานประเพณีของท้องถิ่น โดยให้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นงานประเพณีของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง หรือหลายท้องถิ่นในเขตจังหวัดได้”

นอกจากนั้นยังรวมถึงงานที่มีลักษณะเป็นการเชิญชวนให้ประชาชนร่วมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. หรือวันเทศบาล เป็นต้น ซึ่งมิใช่การจัดฝึกอบรม การจัดประชุมราชการ หรือการแข่งชันกีฬา

มีรายงานว่า ที่ผ่านมา อปท.หลายแห่งมีปัญหาในการเบิกจ่ายเพื่อจัดงานประเพณีในท้องถิ่น เช่น เบิกจ่ายเงินสดทำบุญกฐินให้วัด, ค่าพิธีการ ค่าตอบแทน คณะกลองยาวสาหรับแห่องค์กฐิน, จ้างเหมาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมงานกฐิน ทาโรงทาน, ค่าจตุปัจจัยถวายวัด ถวายปัจจัยพระสงฆ์ หรือพราหมณ์ น้้ำปานะ ปัจจัยไทยธรรม ,ค่าสนับสนุนชุดการแสดงในพิธีบวงสรวงทางศาสนา, ค่าจ้างเหมารถโดยสาร ค่าจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในงานถือศีลกินเจ เป็นต้น

โดยที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือซักซ้อมเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ จารีตประเพณีท้องถิ่น เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลส่งเสริมและบำรุงรักษาจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของ อปท.กำหนดว่า อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ อปท.จะต้องมีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ หรืออานวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป เช่น การจัดกิจกรรม ส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ในการปฏิบัติตามแบบอย่างประเพณี หรือวัฒนธรรมไทย” มิใช่ส่งเสริมสนับสนุนหรือบำรุงจารีตประเพณี หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น โดยการออกค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่จะประกอบพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่บุคคลนั้นจะต้องกระทำตามประเพณี หรือวัฒนธรรมที่บุคลนั้นเชื่อถือ หรือปฏิบัติ ซึ่งบุคคลนั้นมีสิทธิและเสรีภาพ โดยบุคคลนั้นจะต้องกระทำด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง
กำลังโหลดความคิดเห็น