xs
xsm
sm
md
lg

เปิดรายงาน ศธ.แจงนายกฯ ผลตรวจเบิกเงินอุดหนุนรายหัวซ้ำซ้อน ใช้งบฯ ผิดวัตถุประสงค์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เปิดรายงาน ศธ.ชี้แจงนายกฯ ผลการตรวจสอบการเบิกเงินอุดหนุนนักเรียนรายหัวซ้ำซ้อน หลังพบใช้งบฯ ผิดวัตถุประสงค์ รายชื่อนักเรียนซ้ำซ้อน เหตุโรงเรียนบางแห่งได้รับงบอุดหนุนรายหัวเกินจริง “นายกฯ” ไฟเขียวมาตรการแก้ไขปัญหา ไม่ให้มีการเบิกเงินซ้ำซ้อนฯ

วันนี้ (26 ม.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้ารายงานผลการดำเนินการตรวจสอบการเบิกเงินอุดหนุนนักเรียนรายหัวซ้ำซ้อนในช่วงปีการศึกษา 2559/60 และมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการเบิกเงินซ้ำซ้อนฯ ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. รวมถึง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับกระทรวงฯ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในช่วงปีการศึกษา 2561 โดยก่อนหน้านั้น นายจรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ได้เข้าให้ข้อมูลเรื่องนี้พบว่า การใช้เงินอุดหนุนรายหัวของโรงเรียน เป็นการใช้งบประมาณผิดวัตถุประสงค์ โดยพบว่ามีรายชื่อนักเรียนซ้ำซ้อน ทำให้โรงเรียนบางแห่งได้รับงบอุดหนุนรายหัวเกินจริง

ล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบต่อมาตรการและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณเงินอุดหนุนนักเรียนรายหัว เพื่อแก้ปัญหาการเบิกเงินอุดหนุนนักเรียนรายหัวซ้ำซ้อน หลังจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอ

มีรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการได้รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง สรุปได้ว่า การจ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนรายหัวของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะมีเกณฑ์การจ่ายเงินแตกต่างกัน โดยบางหน่วยงานแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ บางหน่วยงานจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้นักเรียนได้รับจัดสรรค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่าเครื่องแบบนักเรียนครบทุกคนก่อนเปิดภาคเรียน หน่วยงานจะจัดสรรให้โรงเรียนตามสัดส่วนที่กำหนด โดยจะใช้ข้อมูลรายบุคคลของนักเรียนจากภาคเรียบที่ 2 ของปีการศึกษาที่ผ่านมาซึ่งมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนภายในสังกัดเรียบร้อยแล้ว เป็นฐานในการคำนวณ และจะมีการเพิ่มหรือลดงบประมาณที่จะโอนให้สถานศึกษาในงวดถัดไปตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง คือ วันที่ 10 มิ.ย. (ภาคเรียนที่ 1) และวันที่ 10 พ.ย. (ภาคเรียบที่ 2) เช่น 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะจัดสรรงบประมาณให้กับ สถานศึกษาภาคเรียนละ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 จะจัดสรรร้อยละ 70 ของนักเรียนที่สำรวจได้ และครั้งที่ 2 จะจัดสรรร้อยละ 30 ของนักเรียนที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว 2) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) หากเป็นสถานศึกษาของรัฐ จะมีการ จัดสรรให้กับสถานศึกษาแบ่งเป็น 3 ครั้ง คือ โดยครั้งที่ 1 จะจัดสรรร้อยละ 40 ของนักเรียบที่สำรวจได้ ครั้งที่ 2 จะจัดสรรร้อยละ 40 ของนักเรียนที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ครั้งที่ 2 จะจัดสรรร้อยละ 30 ของนักเรียนที่มีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว แต่หากเป็นสถานศึกษาเอกชนจัดสรรเป็นรายเดือนทุกเดือนตามข้อมูลนักเรียนแต่ละเดือนที่สถานศึกษารายงาน

3) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ของเอกชน การจัดสรรเงินอุดหนุน นักเรียนจะเป็นหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาในแต่ละแห่งในที่เป็นการเรียนการสอนโรงเรียบสาธิต และการจัดสรรจะดำเนินการตามแผนการใช้จ่ายเงินของสถาบันอุดมศึกษานั้น โดยโรงเรียนสาธิตจะแจ้งขอเบิก ตามกิจกรรมที่ใช้จ่ายจริง โดยคำนวณจากจำนวนนักเรียนที่มีอยู่ 4) สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จัดสรรครั้งที่ 1 ร้อยละ 50 โดยใช้ข้อมูลเดิมเป็นฐาน และจ่ายครั้งที่ 2 ร้อยละ 50 จากจำนวนผู้เรียบที่มีอยู่จริง และ 5) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จัดสรรเป็นรายเดือนทุกเดือน

ทั้งนี้ จำนวนนักเรียนที่แต่ละหน่วยงานน่าไปใช้ในการจัดสรรงบประมาณ แต่ละหน่วยงาน ได้มีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเลข 13 หลัก ภายในหน่วยงานเรียบร้อยแล้ว และสำหรับการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเลข 13 หลักระหว่างหน่วยงาน หน่วยงานได้จัดส่งข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้กับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ยกเว้นสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่ไม่ได้จัดส่งข้อมูลนักเรียนรายบุคคล)

“แต่เนื่องจากระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลในสถานศึกษาของแต่ละหน่วยงานไม่ใช่ในวันเดียวกัน รวมถึงแต่ละหน่วยงานใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลภายในสังกัดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณ ข้อมูล ทำให้สำนักงานปลัดกระทรวง ได้รับข้อมูลเพื่อนำมาตรวจสอบความซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานทำได้อย่างล่าช้า ทำให้ต้องมีการจัดสรรงบประมาณให้กับสถานศึกษาไปก่อน ตามจำนวนข้อมูลนักเรียนที่หน่วยงาน ตรวจสอบแล้วในครั้งที่ 1 และหน่วยงานจะนำข้อมูลที่สำนักงานปลัดกระทรวง ตรวจสอบความซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานแล้วให้สถานศึกษาตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง เพื่อการจัดสรรเงินอุดหนุนในครั้งต่อไป”

สำหรับข้อมูลนักเรียนกรณีที่ไม่มีเลข 13 หลัก หน่วยงานจะกำหนดรหัสขึ้นเอง ซึ่งในส่วนนี้ไม่สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ได้ และในส่วนของการตรวจสอบข้อมูลไม่สามารถยืนยันตัวตนว่ามีการซ้ำซ้อน หรีอเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ เนื่องจากแต่ละหน่วยงานใช้รหัสต่างกัน

“ส่วนกระบวนการในการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของข้อมูล แต่ละหน่วยงานต่างมีกระบวบการในการตรวจสอบข้อมูลของตนเอง ซึ่งไม่ได้กำหนดเป็นวิธีการเดียวกันทั้งกระทรวง และ มีการตรวจสอบ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก ตรวจสอบความซ้ำซ้อนในหน่วยงานตนเอง และเมื่อข้อมูลถูกส่งเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลางของกระทรวงจะมีการประมวลผลความซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงาน เมื่อพบว่าข้อมูลมีความซ้ำซ้อน หน่วยงานจะให้สถานศึกษาตรวจสอบและยืนยันข้อมูลพร้อมจัดส่งหลักฐานการมีตัวตนของนักเรียนในสถานศึกษาให้กับต้นลังกัด ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ จึงทำให้กระบวบการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของข้อมูล ไม่สามารถดำเนินการได้ทันเพื่อให้สอดคล้องกับรอบระยะการจัดสรรงบประมาณในแต่ละครั้ง”

นอกจากนี้ กรณีที่มีการตรวจสอบพบความซ้ำซ้อน สำหรับสถานศึกษาเอกชนจะมีการเรียกเงินอุดหนุนนักเรียนรายหัวกลับคืนมาที่ต้นสังกัดพร้อมดอกเบี้ย และสำหรับสถานศึกษาของรัฐ จะมีงบประมาณเหลือจ่ายอยู่ที่ต้นสังกัด เนื่องจากหน่วยงานต้นสังกัด จะโอนเงินให้กับสถานศึกษาตามข้อมูลนักเรียนที่มีอยู่ และเมื่อสิ้นปีงบประมาณแต่จะนำงบประมาณส่วนที่เหลือจ่ายไปจัดสรรให้กับสถานศึกษาที่มีงบประมาณ ค่าสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ เป็นต้น
มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการเบิกเงินซ้ำซ้อน





กำลังโหลดความคิดเห็น