มท.ซักซ้อม “ผู้ว่าฯ-อบต.-เทศบาล-พัทยา” รับกฎหมายจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ที่อยู่ในชั้น กมธ.วิสามัญฯ สนช. ระบุยกเลิก 2 กม.เดิม ภาษีโรงเรือน-ที่ดิน 2475 -ภาษีบำรุงท้องที่ 2508 เผยอัตราภาษีที่ดินทำเกษตรกรรมจัดเก็บไม่เกินร้อยละ 0.2 - ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ไม่เกินร้อยละ 0.4 - ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น และที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างทิ้งร้าง เก็บไม่เกินร้อยละ 2
วันนี้ (11 ม.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทยว่า นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือด่วนมาก ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเตรียมการรองรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ ... ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) “เพี่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และเมืองพัทยา ขอให้จังหวัดแจ้งให้ท้องถิ่นจังหวัด และ อปท. ศึกษาแผนดำเนินการเตรียมความพร้อมรองรับการจัดเก็บภาษีที่ดิน”
โดยก่อนนั้น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กสถ.) ได้แจ้งไห้ อปท.เร่งดำเนินการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน และนำโปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน และโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่ กสถ.พัฒนาขึ้น ไปใช้ในการจัดทำแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของ อปท. พ.ศ. 2550 เพี่อให้ อปท.มีฐานข้อมูลบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างครบล้วนสมบูรณ์ เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลาที่ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ... จะมีผลใช้บังคับ รวมทั้งเป็นการประหยัดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อหรือพัฒนาโปรแกรมของ อปท.ภายหลังกฎหมายมีผลใช้บังคับ
มีรายงานว่า สำหรับร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ ... ที่อยู่ในชั้น กมธ.วิสามัญฯ อาทิ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ “ผู้มีหน้าที่เสียภาษี” คือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ “ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี” ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด “หน่วยงานจัดเก็บ” คือ อปท. ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา และ อปท.อื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง
“ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี” เช่น ทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน, ทรัพย์สินของรัฐที่มิได้หาผลประโยชน์, ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการสหประชาชาติ และที่เป็นที่ทำการสถานทูต, ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย, ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่มิได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์, ศาสนสมบัติที่ไม่ได้หาผลประโยชน์ และทรัพย์สินอื่นๆ ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
“ฐานภาษี และอัตราภาษี”, “ฐานภาษี” ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคำนวณจากราคา ประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดกำหนด โดยความเห็บชอบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
“อัตราภาษี” แยกตามลักษณะการใข้ประโยชน์ ดังต่อไปนี้ (1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษีไม่เกิน ร้อยละ 0.2 ของฐานภาษี (2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย อัตราภาษีไม่เกิน ร้อยละ 0.4 ของฐานภาษี (3) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก (1) หรือ (2) อัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 2 ของฐานภาษี (4) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัดราภาษีไม่เกินร้อยละ 2 ของฐานภาษี “ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ซึ่งอาจมีการปรับลดเพดานอัตราภาษีลง รวมถึงกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีจริงที่เหมาะสม เพี่อมิให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนมากจนเกินไป”
สำหรับ “การลดและการยกเว้นภาษี” สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคล ธรรมดาใช้เป็นที่ประกอบเกษตรกรรม สำหรับทรัพย์สินที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท, ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปี สำหรับทรัพย์สินที่มูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท, ลดภาษีสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท เพี่อให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจหรือสังคม หรือเหตุการณ์ หรือกิจการ หรือสภาพแห่งท้องที่ ให้ทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่เกินร้อยละ 90 ของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย
ทั้งนี้ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด มีอำนาจในการลดและการยกเว้นภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ดังนี้ (1) ประกาศลดหรือยกเว้นภาษีในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ในกรณีที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างภายในเขต อปท.ของคนได้รับความเสียหายมากหรือถูกทำลาย ให้เสื่อมสภาพด้วยเหตุอันพ้นวิสัย (2) ออกคำสั่งลดหรือยกเว้นภาษีในกรณีที่มีเหตุอันทำให้ที่ดินได้รับความเสียหายหรือทำให้สิ่งปลูกสร้างถูกรื้อถอนหรือทำลาย หรือชำรุดเสียหายจนเป็นเหตุให้ต้องทำการซ่อมแซม ในส่วนสำคัญให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิยื่นคำขอลดหรือยกเว้นภาษีที่จะต้องเสียต่อผู้บริหารท้องถิ่น
สำหรับ “การอุทธรณ์การประเมินภาษี” กรณีผู้เสียภาษีเห็นว่าการประเมินภาษีหรือการเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และผู้บริหารท้องถิ่นต้องพิจารณาคำร้องให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง หากไม่เห็นชอบกับความเห็นของผู้บริหารท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีประจำจังหวัด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และหากยังไม่เห็นด้วย มีสิทธิฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแค่วันที่ไค้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
ทั้งนี้ ยังให้ศึกษาองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด” มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ ปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการ และให้ท้องถิ่นจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ เพี่อทำหน้าที่ในการพิจารณา ลดหรือยกเว้นภาษี และให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่ผู้บริหารเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด
“คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีประจำจังหวัด” มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนของผู้บริหารท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งช้าราชการ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด เป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ เพี่อทำหน้าที่วินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์ของผู้เสียภาษี
โดยให้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินจังหวัด ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเร่งรัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในเขตจังหวัด ให้สามารถดำเนินการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินได้แล้วเสร็จโดยเร็ว