กฤษฎีกาคณะพิเศษ ปิดช่อง อดีต 6 บิ๊ก ข้าราชการ กปช.-สปช. ฟ้อง ก.ศึกษาธิการ ชดใช้ค่าสินไหม 100 ล้าน เหตุ “หมดอายุความ 10 ปี”คดีถูกไล่ออก ต้องฟ้องเรียกตามสิทธิ หลังศาลปกครองสูงสุด ปี 2557 สั่งเพิกถอนคำสั่งไล่ออก ให้คืนเฉพาะ “ตำแหน่ง-เงินเดือนย้อนหลัง” ปมถูกกล่าวหาล็อกสเปกจัดซื้อ“ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์”ยุครัฐบาล “บิ๊กจิ๋ว” มูลค่า 360 ล้าน
วันนี้( 3 ธ.ค.) มีรายงานจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ลงนามในเรื่องเสร็จที่ 1515/2560 บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สำหรับความเสียหายที่เกิดจากการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการ
ภายหลังศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งลงโทษ ฉบับปี 2542 เมื่อปี 2557 ต่ออดีตข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ระดับสูง 6 ราย เนื่องจากถูกกล่าวหากรณีการจัดซื้อโปรแกรมบริหาร (ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์) สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 5,999 หน่วย วงเงิน 360 ล้านบาท เพื่อใช้กับโรงเรียน 30,000 โรง โดยถูกร้องเรียนว่ามีการล็อกสเปกจัดซื้อ ซึ่งเกิดขึ้นช่วงปี 2540 ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี โดยนายสุขวิช รังสิตพล เป็น รมว.ศึกษาธิการในขณะนั้น
ประกอบด้วย นายพิสิษฐ์ ศิวิลัย อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (กปช.) นายชัชวาลย์ วัดอักษร อดีตหัวหน้าฝ่ายสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) นายกมล ภู่ประเสริฐ อดีต เลขาธิการ กปช. นายเลื่อม พูลเอี่ยม รองเลขาธิการ กปช. นายยุทธชัย อุตมา อดีตรองเลขาธิการ กปช. และนายเกียรติ อัมพรายน์ อดีตผอ.สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา สปช.
โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้เนื่องจากพิจารณาแล้ว เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยมีข้อผิดพลาดในกระบวนการ คือมีผู้ที่เป็นผู้ต้องห้ามมิให้พิจารณาทางปกครอง ซึ่งก็คือประธานคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยกรณีดังกล่าว เป็น อ.ก.พ.สำนักงานปลัด ศธ. ได้ร่วมในการพิจารณาลงโทษด้วย
"ศาลปกครองสูงสุด จึงวินิจฉัยว่า มติของ อ.ก.พ.ศธ .ครั้งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ศธ.จึงต้องคืนตำแหน่งและเงินเดือนย้อนหลังให้แก่ข้าราชการทั้ง 6 ราย โดยจะต้องคำนวนจำนวนเงินทั้งหมด ซึ่งจะได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนตามปกติเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป ส่วนผู้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ก็จะได้รับบำเหน็จ บำนาญตามสิทธิ โดยจากนี้ ศธ.จะต้องประสานไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อหารือถึงการจ่ายเงินดังกล่าว"
มีรายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้พิจารณาข้อหารือของ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปรากฏ ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากคำชี้แจงของผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่า สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ นายพิสิษฐ์ และนายกมล ในระหว่างเวลาที่ถูกไล่ออกและปลดออกจากราชการ จนถึงวันก่อนเกษียณอายุราชการ ตามความเห็นของกรมบัญชีกลางแล้ว
แต่โดยที่นายพิสิษฐ์ และนายกมล ได้ยื่นคำขอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยระบุว่าค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวรวมถึง ดอกเบี้ยผิดนัดของเงินเดือน เงินเพิ่มพิเศษรายเดือน เงินค่าเช่าบ้าน เงินบำนาญ และสิทธิประโยชน์ ที่เป็นเงินอื่น ๆ ที่ค้างจ่ายด้วย ซึ่งกรมบัญชีกลาง ได้ให้ความเห็นว่า หากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ต้องจ่ายเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้านให้แก่ นายพิสิษฐ์ และนายกมล ก็สามารถพิจารณาในส่วนของการชดใช้ดอกเบี้ยได้ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจาหน้าที่ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประเด็นนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีข้อสงสัยว่า เงินเดือนหรือสิทธิประโยชน์อื่นที่คำนวณเป็นเงินได้ซึ่งได้จ่ายให้แก่ นายพิสิษฐ์ และนายกมล นั้น จะถือเป็นค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ เพราะจากเงินดังกล่าวถือเป็น ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ก็สามารถนำมาคำนวณเพื่อจ่ายดอกเบี้ยผิดนัดให้แก่นายพิสิษฐ์ และนายกมล ได้
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) พิจารณาแล้ว เห็นว่า ตามคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 654-659/2551 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 832-837/2556 ศาลปกครองสูงสุด ได้วินิจฉัยว่า การพิจารณาทางปกครองของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และของ อ.ก.พ. กระทรวงศึกษาธิการ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีบุคคลที่มีสภาพร้ายแรง อันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางรวมเป็นกรรมการอยู่ด้วย ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษา ให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดีเท่านั้น มิได้วินิจฉัยว่าการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยของกระทรวงศึกษาธิการเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่
และจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการลงโทษทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ เป็นการกระทำละเมิดหรือไม่ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาได้ว่าการออกคำสั่งลงโทษทางวินัย ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นการกระทำละเมิดต่อข้าราชการผู้ถูกลงโทษแล้ว คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นว่า ข้อหารือของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีประเด็นที่ตองพิจารณา รวมสี่ประเด็นและมีความเห็นในแต่ละประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง นายพิสิษฐ์ และนายกมล มีสิทธิยื่นคำขอให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ และต้องยื่นคำขอภายใน ระยะเวลาใด เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจาหน้าที่ พ.ศ. 2539 บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหนาที่ของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 51 หรือจะยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 112 ก็ได้
โดยการใช้สิทธิเรียกร้องด้วยวิธีการยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะตองกระทำภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึ่งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิด เช่นเดียวกับการใช้สิทธิเรียกร้องด้วยวิธีการฟ้องคดีต่อศาล ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมที่ต้องยื่นฟ้องภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิดตามมาตรา 4483 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือการฟ้องคดี ต่อศาลปกครองที่ต้องยื่นฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดีตามมาตรา 514 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551
ทั้งนี้ ตามแนวความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ในเรื่องเสร็จที่ 110/25535 กรณีตามขอหารือนี้ เมื่อปรากฏขอเท็จจริงว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งลงโทษทางวินัยนายพิสิษฐ์ และนายกมล เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 แต่บุคคลทั้งสองได้ยื่นคำขอให้กระทรวงศึกษาธิการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557 และวันที่ 5 มิถุนายน 2557 ตามลำดับ จึงเป็นการยื่นคำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ของนายพิสิษฐ์ และนายกมล จึงขาดอายุความ
"ทั้งนี้ ยังไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เนื่องจาก มิใช่ "ความเสียหาย" ตามข้อ 4 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหน้าที่ฯ ขณะเดียวกันเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง ที่ได้จ่ายให้เป็นเงินที่หน่วยงานของรัฐ จ่ายให้แก่บุคคลทั้งสองเพื่อเยียวยาหรือบรรเทาความเดือดร้อนในระหว่างที่ถูกลงโทษทางวินัยตามสิทธิ ที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องเท่านั้น มิใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชดใช่เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งสองอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดแต่อย่างใด และสุดท้าย กรณีต้องจ่ายดอกเบี้ยผิดนัด เป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนหรือไม่เนื่องจาก เป็นการขาดอายุความ จึงไม่ต้องวินิฉัย"
มีรายงานว่า ก่อนหน้านั้น นายกมล ภู่ประเสริฐ อดีตเลขาธิการ กปช. ระบุว่า จะขอคืนสิทธิทั้งหมดจากกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงการเรียกร้องค่าเสียหาย หากคิดเป็นตัวเงินรวมแล้วประเมินค่าไม่ได้ ซึ่งหากรวมสิทธิที่พึงได้ ทั้งหมดก็ไม่น่าต่ำกว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้การเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวหวัง เพียงเพื่อเป็นตัวอย่างการดำเนินการทางวินัยข้าราชการให้ถูกต้องเท่านั้น.