xs
xsm
sm
md
lg

โปรดเกล้าฯ กม.ลูกคดีอาญานักการเมือง จำเลยยื่นอุทธรณ์ต้องมาศาล มิให้นับเวลาหนีในอายุความ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ราชกิจจานุเบกษา เผยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง มิให้นับเวลาที่จำเลยหลบหนีเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ ไต่สวนพยานลับหลังได้กรณีที่จำเลยหนี ออกหมายจับแต่จับไม่ได้ นัดแล้วไม่มา ระบุยื่นอุทธรณ์ต้องมาแสงตนต่อศาล

วันนี้ (28 ก.ย.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 โดยมีสาระสำคัญ อาทิ ในมาตรา 25 ในการดําเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้อายุความสะดุดหยุดลง กรณีผู้ถูกกล่าวหาหรือจําเลยหลบหนีไปในระหว่างถูกดําเนินคดีหรือระหว่างการพิจารณาคดีของศาล มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจําเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ ขณะที่มาตรา 31 ระบุว่า การพิจารณาไต่สวนพยาน หลักฐานให้กระทำโดยเปิดเผยเว้นแต่มีความจำเป็นให้ศาลพิจารณาลับหลังได้ เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อให้การพิจารณาเป็นไปไม่ชักช้า ศาลมีอำนาจไต่สวนพยานหลักฐานลับหลังจำเลยได้ในกรณี อาทิ จำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วแต่ได้หลบหนีคดี และศาลได้ออกหมายจับ แต่ยังจับไม่ได้ หรือจำเลยทราบวันนัดแล้วไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุอันควร

ทั้งนี้ กรณีของการอุทธรณ์ระบุว่าคำพิพากษาของศาลให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา และจำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ โดยให้การวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้ดำเนินการโดยคณะของศาลฎีกา ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 9 คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจากผู้พิพากษาในศาลฎีกาในศาลฎีกา ซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดํารงตําแหน่ง ไม่ต่่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อน โดยให้เลือกเป็นรายคดี คําวินิจฉัยอุทธรณ์ขององค์คณะให้ถือว่าเป็นคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยให้กฎหมายนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้รับสนองพระราชโองการ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
กำลังโหลดความคิดเห็น