xs
xsm
sm
md
lg

ปธ.สนช.ชี้พิจารณาร่าง กม.ลูกต้องปฏิบัติตาม ม.267 ถ้าเห็นไม่ตรง กรธ.ค่อยตั้ง กมธ.ร่วม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (แฟ้มภาพ)
กมธ.วิสามัญเสนอแนะความเห็นประกอบร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสวนากฎหมายลูก กกต.และพรรคการเมือง “พรเพชร” ชี้พิจารณาร่างต้องปฏิบัติตาม ม.267 ก่อน ถ้าเห็นไม่ตรงกับ กรธ.ค่อยตั้ง กมธ.ร่วมองค์กรอิสระ ถ้าร่าง พ.ร.ป.เกิดปัญหาค่อยชงศาลรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (20 พ.ค.) ที่โรงแรมนิว แทรเวิล ลอดจ์ จ.จันทบุรี คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาเสนอแนะและรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดเสวนาเรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ...” โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.กล่าวตอนหนึ่งว่า หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 263 วรรคหนึ่ง สนช.ยังคงทำหน้าที่แทน ส.ส.และ ส.ว.เพื่อพิจารณาตรากฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายลูกจำนวน 10 ฉบับ ขณะนี้ สนช.ได้ลงมติรับหลักการ พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต. และ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมืองในวาระหนึ่ง ทั้งนี้ สนช.มีเวลาพิจารณากฎหมายแต่ละฉบับในเวลา 60 วันซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 16 มิ.ย. ดังนั้น เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่จะผ่านความเห็นชอบ สนช. ต้องสอดคล้องเชื่อมโยง และเป็นไปตามหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

นายพรเพชรกล่าวว่า อย่างไรก็ดี ถือเป็นครั้งแรกที่สมาชิก สนช.จะได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ แตกต่างจาก พ.ร.บ.ปกติธรรมดา ที่ได้ทำมาในเวลา 2 ปีเศษ คือ 1. ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ถ้าไปดูกระบวนการตามปกติในระบบรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมารวมถึงรัฐธรรมนูญใหม่จะเห็นได้ว่า ร่าง พ.ร.บ.ธรรมดา คือ ระบบรัฐสภาประกอบด้วย ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล โดยที่ความสัมพันธ์ระบบรัฐสภา รัฐบาลต้องมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอกฎหมายหรือร่าง พ.ร.บ.ต่อสภาได้ และเสียงข้างมากนั้นก็สนับสนุนกฎหมายที่รัฐบาลเสนอมาโดยทั้งสิ้น ขณะที่ฝ่ายค้านนั้น กฎหมายก็ได้กำหนดให้ฝ่ายค้านร่วมเป็นคณะ กมธ.ได้ตามสัดส่วน แม้ระบบประชาธิปไตย แต่ถึงอย่างไรเสียงข้างมากต้องฟังเสียงข้างน้อย เพื่อให้กฎหมายบังคับใช้กับประชาชนอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น ในร่าง พ.ร.บ.ทั่วไป การพิจารณาก็จะเน้นไปเรื่องนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก พรรคการเมืองสนับสนุนอย่างใดก็ต้องเดินหน้าไปตามนั้น

นายพรเพชรกล่าวต่อว่า ส่วน สนช.นั้นมีที่มาแตกต่างกัน เพราะไม่มีฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ดังนั้นในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ของ สนช.จึงเป็นไปในลักษณะจะตรวจดูพิจารณาว่าร่าง พ.ร.บ.ที่รัฐเสนอมานั้นมีหลักการหรือมีเหตุผลที่เหมาะสมอย่างไร สมควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่ เนื่องจาก สนช.มีความสัมพันธ์กับรัฐบาล ทำให้ร่างกฎหมายของ สนช.ต้องทำไปตามหลักการร่าง พ.ร.บ. คือ ขอความเห็นชอบรัฐบาล

“วันนี้มีร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญบทหลักในมาตรา 130 เป็นต้นไป ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญกำหนดบทเฉพาะกาลสำหรับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ไว้ในมาตรา 267 ถ้าถามว่าบทเฉพาะกาลและบทหลักอันไหนปฏิบัติ ในหลักกฎหมาย คือ บทเฉพาะกาลต้องมาก่อนบทหลัก เพราะมีผลบังคับ ดังนั้น การพิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญต้องปฏิบัติตามมาตรา 267 ก่อน หากมีปัญหา จึงต้องย้อนกลับไปดูมาตรา 130 เป็นหลักการที่จะดูว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนั้นๆ จะมีความพิเศษอย่างไร”นายพรเพชร กล่าว

นายพรเพชรกล่าวว่า 2. การพิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ในบทหลักเสนอต่อรัฐสภา โดยจำนวนเสียงให้ความเห็นชอบจะต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด ตามามาตรา 130 (1) ไม่ได้เขียนในบทเฉพาะกาล ซึ่งต้องนำมาใช้ ส่วนใน (2) แสดงเจตนารมณ์ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า ต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการบังคับใช้ ซึ่งถ้ามาตรา 267 จะไม่มีกระบวนให้ส่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ แต่กำหนดไว้ว่า หากมีความขัดแย้งกันจะแจ้ง สนช. และตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อพิจารณาร่วม และมาตรา 167 ให้ส่งไปศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ในฐานะเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ หรือ กกต.ในฐานะองค์กรอิสระ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูกทุกฉบับ สนช.จะต้องส่งกลับไปยัง กรธ.ด้วย

นายพรเพชรกล่าวว่า สำหรับมาตรา 267 มียกเว้นหรือแตกต่างจากบทหลัก เพราะบทหลักใช้กับ พ.ร.บ.ในกรณีอื่นๆ ไม่ใช่กรณีบทเฉพาะกาลที่ใช้กับ สนช.ในขณะนี้ ดังนั้น บทเฉพาะกาลมาตรา 267 สนช.จึงส่งร่างกฎหมายเพียง 2 องค์กร และถ้าไม่ตรงตามเจตนารมณ์ กรธ.จะแจ้งมาประธาน สนช. และต้องตั้ง กมธ.ร่วมภายใน 10 วัน นับแต่วันที่รับร่าง สนช. โดย กมธ.วิสามัญมีจำนวน 11 คน ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือประธานองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกฎหมายนั้นเข้าร่วมด้วย

“เท่ากับว่าเมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันโดย กรธ. องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องต้องตั้ง กมธ.ร่วม ถ้าการพิจารณาเห็นเป็นอย่างไร ก็เสนอต่อ สนช. แต่ถ้ามีมติไม่เห็นด้วยกับ กมธ.ร่วม ต้องใช้เสียง 2 ใน 3 มิเช่นนั้นถือว่าดำเนินการไปตามความเห็นของ กมธ.ร่วม” ประธาน สนช.ระบุ

นายพรเพชรกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ถ้าในอนาคตมีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ต้องมีการดำเนินการให้เป็นไปเพื่อกฎหมายของประเทศ ไม่ดำเนินการเพื่อองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หากร่างกฎหมายลูกเกิดปัญหา มีทางออก คือ ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ โดยมี 2 ช่องทาง คือ กรณีที่กฎหมายลูกยังไม่ได้ลงปรมาภิไธย และ 2. กฎหมายประกาศใช้แล้ว แต่ละช่องทางมีกระบวนการเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น มาตรา148 ระบุว่า ก่อนนายกรัฐมนตรีนำ พ.ร.บ.ใดขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยตามมาตรา 81 (1) ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกสองสภาฯไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภาฯ ลงความเห็นว่า พ.ร.บ.มีความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เสนอต่อประธานทั้งสองสภา จากนั้นให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและแจ้งนายกฯ ให้ทราบ
กำลังโหลดความคิดเห็น