กมธ.เผยเร่งจัดทำร่าง กม.ยุทธศาสตร์ชาติเร่งทำให้เสร็จภายในรัฐบาลนี้ ย้ำหลักการให้ ปชช.มีส่วนร่วม และมีอำนาจตาม รธน.และความจำเป็นต่อการกำหนดยุทธศาสตร์ระยะยาว
วันนี้ (28 เม.ย.) พล.อ.สุชาติ หนองบัว โฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ... แถลงว่าวันนี้ได้มีการพิจารณารายมาตราภาพรวมของร่างกฎหมายทั้งฉบับทั้ง 29 มาตรา ซึ่งพล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ สมาชิก สนช.ในฐานะกรรมาธิการ ได้กล่าวย้ำถึงการพิจารณาเนื้อหา ว่าจะอยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะเริ่มพิจารณารายหมวดรายมาตรา ก่อนจะสรุปภาพรวมอีกทีหนึ่ง แล้วนำให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.พิจารณา
ส่วนข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือรัฐบาล ในการควบคุมหน่วยงานราชการต่างๆ พล.อ.สุชาติอธิบายว่า มีความจำเป็นในการบริหารประเทศตามยุทธศาสตร์ ส่วนอำนาจจะมีมีเกินไปหรือไม่นั้นก็ต้องรอดูเมื่อถึงเวลาการพิจารณามาตราที่เกี่ยวข้อง ขณะที่อำนาจของสมาชิกวุฒิสภาที่ทำงานสอดคล้องร่วมกันกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติก็เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด พร้อมยอมรับว่าการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ด้าน พล.อ.ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ ในฐานะกรรมาธิการ กล่าวถึงกรณีข้อสังเกตว่าโครงสร้างคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ไม่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม เพราะมีเพียงสัดส่วนของกรรมการโดยตำแหน่งกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งนั้นฯ ในสัดส่วนที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ชี้แจงว่า เป็นเรื่องที่มีการตั้งข้อสังเกตกันมาก แต่ยืนยันว่าบทบัญญัติเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีกระบวนการให้รับฟังความเห็นทั้งก่อนและหลังการจัดทำยุทธศาสตร์ในแต่ละด้าน พร้อมเปิดเผยว่าระหว่างการจัดทำตัวร่างกฎหมายในชั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ก็ได้พิจารณาถึงกลุ่มประชาสังคมต่างๆ
ที่มีอยู่ในประเทศไทย และได้พิจารณาให้ประธานกลุ่มที่เหมาะสมมาเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง อย่างประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสมาคมธนาคารไทย ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
วันนี้ (28 เม.ย.) พล.อ.สุชาติ หนองบัว โฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ... แถลงว่าวันนี้ได้มีการพิจารณารายมาตราภาพรวมของร่างกฎหมายทั้งฉบับทั้ง 29 มาตรา ซึ่งพล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ สมาชิก สนช.ในฐานะกรรมาธิการ ได้กล่าวย้ำถึงการพิจารณาเนื้อหา ว่าจะอยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะเริ่มพิจารณารายหมวดรายมาตรา ก่อนจะสรุปภาพรวมอีกทีหนึ่ง แล้วนำให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.พิจารณา
ส่วนข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือรัฐบาล ในการควบคุมหน่วยงานราชการต่างๆ พล.อ.สุชาติอธิบายว่า มีความจำเป็นในการบริหารประเทศตามยุทธศาสตร์ ส่วนอำนาจจะมีมีเกินไปหรือไม่นั้นก็ต้องรอดูเมื่อถึงเวลาการพิจารณามาตราที่เกี่ยวข้อง ขณะที่อำนาจของสมาชิกวุฒิสภาที่ทำงานสอดคล้องร่วมกันกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติก็เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด พร้อมยอมรับว่าการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ด้าน พล.อ.ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ ในฐานะกรรมาธิการ กล่าวถึงกรณีข้อสังเกตว่าโครงสร้างคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ไม่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม เพราะมีเพียงสัดส่วนของกรรมการโดยตำแหน่งกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งนั้นฯ ในสัดส่วนที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ชี้แจงว่า เป็นเรื่องที่มีการตั้งข้อสังเกตกันมาก แต่ยืนยันว่าบทบัญญัติเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีกระบวนการให้รับฟังความเห็นทั้งก่อนและหลังการจัดทำยุทธศาสตร์ในแต่ละด้าน พร้อมเปิดเผยว่าระหว่างการจัดทำตัวร่างกฎหมายในชั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ก็ได้พิจารณาถึงกลุ่มประชาสังคมต่างๆ
ที่มีอยู่ในประเทศไทย และได้พิจารณาให้ประธานกลุ่มที่เหมาะสมมาเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง อย่างประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสมาคมธนาคารไทย ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย