เปิด 35 โครงการ 9 หน่วยงาน ได้ “งบกลางเพิ่มเติม ปี 60” วงเงิน 6.2 พันล้านบาท เผย “สำนักงบประมาณ” ตัดลดงบฯจากที่ขอ ครม. กว่า 1 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านเศรษฐกิจ ของกระทรวงพาณิชย์ “กลุ่มโครงการ Start-up และ Smart City” ได้งบกลางกว่า 3.5 พันล้านบาท โครงการขับเคลื่อนสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจ ได้งบกลาง 1.2 พันล้าน ส่วน “อาชีวะ” จัดโครงการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 วงเงิน 694 ล้าน ด้าน “ททท.” ได้งบ 246 ล้าน
วันนี้ (18 เม.ย.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้ทำหนังสือเวียนด่วนที่สุด ถึงหน่วยงานราชการต่างๆ ถึงการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่สำนักงบประมาณ จัดสรรให้ 9 หน่วยงาน จำนวน 35 โครงการ วงเงิน 6,281,520,100 บาท จากที่ทั้ง 9 หน่วยงานขอมายัง ครม. จำนวน 10,156,225,500 บาท ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้สำนักงบประมาณ ดำเนินการจัดสรร ประกอบด้วย
1. โครงการของกระทรวงพาณิชย์ วงเงิน 2,092,047,100 บาท จากที่ขอมา 4,511,000,000 บาท ประกอบด้วย 1.1 โครงการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการครบวงจร (Startup Complex) วงเงิน 607,507,600 บาท จากที่ขอมา 700,000,000 บาท 1.2 โครงการตลาดกลางข้าวสารสู่มาตรฐานสากล วงเงิน 323,559,200 บาท จากที่ขอ 400,000,000 บาท 1.3 โครงการพัฒนาระบบตลาดภูมิภาค รองรับตลาดประเทศเพื่อนบ้าน วงเงิน 115,395,000 บาท จากที่ขอ 300,000,000 บาท 1.4 โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ วงเงิน 70,284,000 บาท จากที่ขอ 82,000,000 บาท 1.5 โครงการส่งเสริมตลาดกลาง ตลาดชุมชนประชารัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค (Local Economiy Market) วงเงิน 948,420,000 บาท จากที่ขอมา 3,000,000,000 บาท 1.6 โครงการพัฒนาต้นแบบร้านค้าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น วงเงิน 10,868,400 บาท จากที่ขอ 12,000,000 บาท และ 1.7 โครงการเสริมสร้างศักยภาพร้านค้าชุมชนไทย วงเงิน 16,012,900 บาท จากที่ขอมา 17,000,000 บาท
2. โครงการของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โครงการตามแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจ และโครงการสมุนไพรกลุ่มจังหวัด วงเงิน 1,258,012,400 บาท จากที่ขอมา 1,503,353,000 บาท โดยจัดสรรให้ 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข วงเงิน 544,119,300 บาท จากที่ขอ 688,501,400 บาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 18,750,000 บาท จากที่ขอ 67,090,000 บาท กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วงเงิน 19,718,000 บาท จากที่ขอ 20,200,000 บาท กระทรวงพาณิชย์ วงเงิน 40,105,200 บาท จากที่ขอ 50,000,000 บาท กระทรวงอุตสาหกรรม วงเงิน 21,850,800 บาท จากที่ขอ 52,000,000 บาท กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วงเงิน 63,927,800 บาท จากที่ขอ 67,480,000 บาท กระทรวงศึกษาธิการ วงเงิน 210,907,800 บาท จากที่ขอ 217,287,800 บาท และ 18 กลุ่มจังหวัด วงเงิน 338,634,300 บาท จากที่ขอ 340,787,800 บาท
3. โครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา วงเงิน 1,422,993,000 บาท จากที่ขอ 1,500,000,000 บาท ประกอบด้วย 3.1 โครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาผลผลิตเกษตร อาหาร ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมเกษตรคุณภาพเยี่ยม และบรรจุภัณฑ์และการส่งเริม Start Up วงเงิน 295,316,500 บาท จากที่ขอ 300,000,000 บาท 3.2 โครงการสร้างศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลผลิตก๊าซไอโอมีเทนอัด (CBG) วงเงิน 76,961,900 บาท จากที่ขอ 97,996,400 บาท 3.3 โครงการศูนย์นวัตกรรมแปรรูปชีวมวลเหลือทิ้งด้วยนวัตกรรมเป็นเชื้อเพลิงแข็ง (Biochar) วงเงิน 108,757,900 บาท จากที่ขอมา 110,000,000 บาท 3.4 โครงการศูนย์นวัตกรรมน้ำมันไพโรไลซิส (Pyrolysis Oil) วงเงิน 108,633,400 บาท จากที่ขอ 110,000,000 บาท 3.5 โครงการศูนย์กลางนวัตกรรมด้านสังคมสูงอายุ (Innovation Hub -Ageing Hub) วงเงิน 297,840,000 บาท จากที่ขอ 300,000,000 บาท
3.6 โครงการ Central Smart City Innovation Hub วงเงิน 10,982,800 บาท จากที่ขอ 13,000,000 บาท 3.7 โครงการคลาด์แพลตฟอร์มเพื่อการบูรณาการเมืองอัจฉริยะ (Integrated Smart City Cloud Platform) วงเงิน 27,128,100 บาท จากที่ขอ 30,000,000 บาท 3.8 โครงการพัฒนา Smart Mobility Platform สำหรับสนับสนุนอุตสาหกรรม Transport ,Logistic และ Tourism วงเงิน 25,932,200 บาท จากที่ขอ 30,000,000 บาท 3.9 โครงการ Smart City Start up Development วงเงิน 96,183,400 บาท จากที่ขอ 100,000,000 บาท
3.10 โครงการพัฒนา Smart Living สำหรับอุตสาหกรรมบริการสุขภาพอัจฉริยะ วงเงิน 28,126,000 บาท จากที่ขอ 30,000,000 บาท 3.11 โครงการระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคอัจฉริยะ (Smart Utility) วงเงิน 28,500,000 บาท จากที่ขอ 30,000,000 บาท 3.12 โครงการ Smart Economiy วงเงิน 16,796,600 บาท จากที่ขอ 30,000,000 บาท 3.13 โครงการ Smart Environment วงเงิน 17,080,200 บาท และ 3.14 โครงการศูนย์กลางนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Innovation Hub-Creative Economy) วงเงิน 284,754,200 บาท จากที่ขอมา 300,000,000 บาท
4. โครงการของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ได้แก่ โครงการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 วงเงิน 694,462,000 บาท จากที่ขอ 700,000,000 บาท
5. โครงการของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) วงเงิน 246,349,800 บาท จากที่ขอ 300,000,000 บาท ได้แก่ โครงการ Creative Tourism District วงเงิน 48,478,400 บาท จากที่ขอ 60,000,000 บาท โครงการ Village to the World 4.0 วงเงิน 72,751,000 บาท จากที่ขอ 80,000,000 บาท โครงการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน วงเงิน 43,035,000 บาท จากที่ขอ 60,000,000 บาท โครงการอาสาสมัครเพื่อการท่องเที่ยว วงเงิน 23,548,600 บาท และโครงการต้นแบบท่องเที่ยวเพื่อเกษตรยั่งยืน วงเงิน 58,536,800 บาท จากที่ขอ 70,000,000 บาท
6. โครงการของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้แก่ โครงการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัดเสริมสร้างสังคมสุขภาวะ ในระยะ 3 ปี (2560-2561) วงเงิน 161,425,800 บาท จากที่ขอมา 450,000,000 บาท
7. โครงการของการประปาส่วนภูมิภาค วงเงิน 92,200,000 บาท จากที่ขอมา 592,200,000 บาท ทั้งนี้ ไม่อนุมัติงบประมาณ 500,000,000 บาท ให้กับโครงการเคลื่อนย้ายแนวท่อประปา แต่พบว่าอนุมัติเพียงโครงการก่อสร้างสถานีผลิตน้ำที่อ่างเก็บน้ำอำปีล และวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำไปยังโครงการพิเศษจังหวัดสุรินทร์ ในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ และตำบลเทนมีย์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ วงเงิน 92,200,000 บาท
8. โครงการของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้แก่ โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านจังหวัดและกลุ่มจังหวัด วงเงิน 70,558,000 บาท จากที่ขอมา 102,800,000 บาท
9. โครงการของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย วงเงิน 243,472,000 บาท จากที่ขอมา 497,072,500 บาท ได้แก่ งบบริหารจัดการของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย วงเงิน 243,472,000 บาท อย่างไรก็ตาม ไม่อนุมัติงบประมาณ ให้กับโครงการศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากที่ขอมา 8,528,500 บาท และไม่อนุมัติงบฯโครงการศูนย์กระจายสินค้าเกษตรปลอดภัยภาคตะวันออก ที่ขอมา 41,044,000 บาท