ตัวแทนเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน และภาคธุรกิจ ร่วมให้ข้อคิดเห็นสะท้อนปัญหาพร้อมเสนอแนะแนวทางไปสู่การปรองดอง ชี้ ที่ดินทำกินปัญหาใหญ่ แนะบูรณาการส่งเสริมธุรกิจSME แรงงานย้ำควรได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม
วันนี้ (31 มี.ค.) พล.อ.ต.รังสรรค์ เยาวรัตน์ อนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 60 ผู้แทนองค์กรภาคธุรกิจ เกษตร และแรงงาน 8 องค์กร ประกอบด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สมาคมธนาคารไทย สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ณ ศาลาว่าการกลาโหม สรุปดังนี้
ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรมีการถือครองที่ดินลดน้อยลง และได้รับการจัดสรรรายได้ที่ไม่เป็นธรรม โดยรายได้ไม่ถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน นำไปสู่การขายหรือจำนองที่ดินที่มีอยู่ให้กับนายทุน จนต้องสูญเสียที่ดินทำกินในที่สุด จึงเห็นว่า รัฐควรให้ความสำคัญกับภาคเกษตรมากขึ้น โดยการจัดสรรที่ดินทำกินให้เกิดความเป็นธรรม ควรมีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม สำหรับในส่วนของภาคธุรกิจเห็นว่าปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนเป็นปัญหาพื้นฐานที่ภาครัฐควรดูแลด้วยการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น โดยที่ภาคธุรกิจเอกชนจะเป็นส่วนช่วยเสริม เช่น กองทุนฟื้นฟูเกษตรกร เป็นต้น ขณะที่ภาคธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาการขาดแคลนเงินทุน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน ตลอดจนปัญหาเรื่องการหาตลาดยาก ดังนั้น การจัดทำแผนงานของภาครัฐในการส่งเสริมธุรกิจ SMEs จึงควรมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง
ขณะที่องค์กรภาคแรงงานเห็นว่ารัฐวิสาหกิจเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างความปรองดอง และต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการปรองดอง ซึ่งที่ผ่านมา ภาคแรงงานมักถูกมองว่าเป็นพวกที่เรียกร้องแต่ผลประโยชน์ เนื่องจากยังขาดการทำความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง ภาครัฐจึงไม่ควรละเลย และควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะแรงงานปัจจุบันที่เป็นแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ และเห็นว่า ควรได้รับผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรม ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรกำหนดทิศทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ชัดเจน โดยไม่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน และมองว่า รัฐสามารถใช้ประโยชน์รัฐวิสาหกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่งได้ ทั้งนี้ องค์กรภาคแรงงานสนับสนุนการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังในทุกด้าน รวมทั้งการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งผู้นำทุกคนจะต้องยึดถือในการบริหารประเทศตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
วันนี้ (31 มี.ค.) พล.อ.ต.รังสรรค์ เยาวรัตน์ อนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 60 ผู้แทนองค์กรภาคธุรกิจ เกษตร และแรงงาน 8 องค์กร ประกอบด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สมาคมธนาคารไทย สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ณ ศาลาว่าการกลาโหม สรุปดังนี้
ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรมีการถือครองที่ดินลดน้อยลง และได้รับการจัดสรรรายได้ที่ไม่เป็นธรรม โดยรายได้ไม่ถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน นำไปสู่การขายหรือจำนองที่ดินที่มีอยู่ให้กับนายทุน จนต้องสูญเสียที่ดินทำกินในที่สุด จึงเห็นว่า รัฐควรให้ความสำคัญกับภาคเกษตรมากขึ้น โดยการจัดสรรที่ดินทำกินให้เกิดความเป็นธรรม ควรมีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม สำหรับในส่วนของภาคธุรกิจเห็นว่าปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนเป็นปัญหาพื้นฐานที่ภาครัฐควรดูแลด้วยการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น โดยที่ภาคธุรกิจเอกชนจะเป็นส่วนช่วยเสริม เช่น กองทุนฟื้นฟูเกษตรกร เป็นต้น ขณะที่ภาคธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาการขาดแคลนเงินทุน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน ตลอดจนปัญหาเรื่องการหาตลาดยาก ดังนั้น การจัดทำแผนงานของภาครัฐในการส่งเสริมธุรกิจ SMEs จึงควรมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง
ขณะที่องค์กรภาคแรงงานเห็นว่ารัฐวิสาหกิจเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างความปรองดอง และต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการปรองดอง ซึ่งที่ผ่านมา ภาคแรงงานมักถูกมองว่าเป็นพวกที่เรียกร้องแต่ผลประโยชน์ เนื่องจากยังขาดการทำความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง ภาครัฐจึงไม่ควรละเลย และควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะแรงงานปัจจุบันที่เป็นแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ และเห็นว่า ควรได้รับผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรม ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรกำหนดทิศทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ชัดเจน โดยไม่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน และมองว่า รัฐสามารถใช้ประโยชน์รัฐวิสาหกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่งได้ ทั้งนี้ องค์กรภาคแรงงานสนับสนุนการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังในทุกด้าน รวมทั้งการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งผู้นำทุกคนจะต้องยึดถือในการบริหารประเทศตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้