xs
xsm
sm
md
lg

กฤษฎีกาชี้ “ซุ้มดูนกยูง” พ่วงให้อาหาร เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ้านโฮ่ง ลำพูน ไม่เข้าข่ายความผิด “ล่า” แม้ส่อเสียพฤติกรรมหากิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กฤษฎีกาชี้ช่องให้ประโยชน์ “มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า” ผุดซุ้มดูนกยูง-ลานรำแพน พ่วงกิจกรรมให้อาหารในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ป่าบ้านโฮ่ง ลำพูน ไม่เข้าข่ายความผิด “ล่า” ตามกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 แม้กรมอุทยานฯ วินิจฉัยเป็นการล่อนกยูงออกนอกพื้นที่ป่า หวั่นขยายพื้นที่หากินใกล้พื้นที่เกษตรกรรม เสียพฤติกรรมการหากินตามธรรมชาติ แนะสองฝ่ายหาทางออกร่วมเหตุหวั่น นกยูงเปลี่ยนพฤติกรรมหากิน

วันนี้ (29 มี.ค.) มีรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เผยแพร่บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 348/2560 ของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 7 มีนายสรรเสริญ ไกรจิติ เป็นประธาน เรื่อง การล่าสัตว์ป่าคุ้มครองตามความหมายของบทนิยามคำว่า “ล่า” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ลงนามโดยนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

“ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีหนังสือที่ ทส ๐๙๐๓.๒/๒๐๘๖๓ ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดทำโครงการศูนย์ศึกษา และอนุรักษ์นกยูงในถิ่นกำเนิดใกล้กับพื้นที่เตรียมประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ป่าบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยในพื้นที่ของมูลนิธิฯ ได้มีการจัดทำแหล่งน้ำ ปลูกพืชอาหารสัตว์ ลานรำแพน สำหรับนกยูง และซุ้มบังไพร ซึ่งจะมีกิจกรรมให้อาหารนกยูงโดยโปรยเมล็ดข้าวโพดและข้าวเปลือก ไว้ที่ลานรำแพนเพื่อให้นกยูงที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติออกมากิน และจัดให้มีการซุ้มดูนกยูงจากซุ้มบังไพร

ซึ่งสถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ทำการสำรวจแหล่งข้อมูลพบว่า แหล่งอาหารและแหล่งน้ำตามธรรมชาติในพื้นที่ลดน้อยลงทำให้นกยูงบางส่วนออกมาหากินนอกพื้นที่ และเมื่อมูลนิธิคุมครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ดำเนินกิจกรรมให้อาหารนกยูงจึงเป็นอีกปัจจัยที่เป็นการล่อนกยูง ออกนอกพื้นที่ และขยายพื้นที่หากินออกไปใกล้พื้นที่เกษตรกรรมมากขึ้น และทำให้นกยูง เสียพฤติกรรมการหากินตามธรรมชาติ

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาลักษณะกิจกรรมการให้อาหารนกยูงของมูลนิธิคุมครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ แล้วมีความเห็นเป็นสองฝ่าย ดังนี้

ฝ่ายที่หนึ่งเห็นว่า การที่มูลนิธิคุมครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์นกยูงไทยในถิ่นกำเนิดใกล้กับพื้นที่ ที่จะประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าบ้านโฮ่ง โดยมีการจัดทำลานรำแพนให้นกยูงจากพื้นที่ป่าเข้าไปกิน ถือว่าเป็นการล่อนกยูงเข้าไปในพื้นที่ของมูลนิธิฯ เข้าข่ายการล่าสัตว์ป่าคุมครอง ซึ่งเป็นความผิด ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ แม้ว่านกยูงจะไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำดังกล่าวก็ตาม แต่เป็นผลให้นกยูงเสียพฤติกรรมการหากินตามธรรมชาติ และเมื่อนกยูงคุ้นชินกับอาหารซึ่งเป็นพืชการเกษตร อาจข้ามไปหากินในพื้นที่การเกษตรแปลงอื่นๆ เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และเป็นการส่งเสริมให้นกยูงออกมาจากป่ามากขึ้น อีกด้วย

ฝ่ายที่สอง เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔ ให้คำนิยามของคำว่า “ล่า” หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตราย ด้วยประการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ และหมายความรวมถึง การไล่ การเรียก หรือการล่อ เพื่อกระทำการดังกล่าวด้วย ซึ่งจากขอเท็จจริงฟังได้ว่า มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและ พรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้มีการโปรยเมล็ดข้าวโพดและข้าวเปลือกไว้ที่ ลานรำแพนเพื่อให้นกยูงที่อาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติออกมากิน การให้อาหารนกดังกล่าวมิไดมีเจตนา เพื่อที่จะเก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายประการใดๆ แก่นกยูง โดยนกยูงยังคงอยู่อย่างอิสระ ดังนั้น การให้อาหารนกยูงของมูลนิธิฯ จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า “ล่า” ตามคำนิยามดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานล่าสัตว์ป่าแต่อย่างใด

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาขอกฎหมายอันไม่อาจพิจารณาเป็นขอยุติได้เนื่องจากเจ้าหนาที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน ดังนั้น เพื่อให้ได้ขอยุติและเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องชัดเจน จึงขอหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า พฤติกรรมการให้อาหารนกยูงของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการล่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือไม่

คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะที่ ๗) ได้พิจารณาข้อหารือของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธ์พืช โดยมีผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานปลัดกระทรวงและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดขอเท็จจริงแล้ว เห็นว่า โดยที่มาตรา ๑๖๑ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติห้ามมิให้ ผู้ใดล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นการกระทำโดยทางราชการที่ได้รับ ยกเว้นตามมาตรา ๒๖๒ โดยกรณีใดจะเข้าลักษณะเป็นการล่าหรือพยายามล่านั้น ต้องพิจารณา ความหมายของบทนิยามคำว่า “ล่า” ตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ที่บัญญัติให้หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของ และอยู่เป็นอิสระ และหมายความรวมถึงการไล่ การต้อน การเรียก หรือการล้อเพื่อการกระทำดังกล่าวด้วย

เมื่อขอเท็จจริงตามประเด็นปัญหาที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอหารือปรากฏว่า การจัดทำโครงการศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์นกยูงไทยในถิ่นกำเนิดของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งมีการจัดพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมให้อาหารนกยูง แม้จะมีลักษณะเป็นการล่อให้นกยูงซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุมครองตามบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติเข้าไปหากิน ในพื้นที่ของมูลนิธิฯ แต่การกระทำดังกล่าวก็มิได้มีเจตนาที่จะเก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตราย ด้วยประการอื่นใดแก่นกยูง และนกยูงยังคงอยู่อย่างอิสระตามธรรมชาติ

กรณีจึงไม่อยู่ในความหมาย ของบทนิยามคำว่า “ล่า” ตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตว์ป่าฯ ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมให้อาหารนกยูงของมูลนิธิฯ จึงไม่เป็นความผิดฐานล่าหรือพยายามล่านกยูง ตามมาตรา ๔ ประกอบกับมาตรา ๑๖๖ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ แต่อย่างใด”

อนึ่ง หากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เห็นว่า การดำเนินการโครงการศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์นกยูงไทยในถิ่นกำเนิดของมูลนิธิคุมครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นการล่อให้นกยูงออกมาหากินนอกพื้นที่ป่าจะทำให้นกยูงสูญเสียพฤติกรรมการหากินตามธรรมชาติ และเมื่อนกยูงคุ้นชินกับอาหารซึ่งเป็นพืชการเกษตร อาจข้ามไปหากินในพื้นที่การเกษตรแปลงอื่นๆ ซึ่งเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร ก็ควรนำปัญหาดังกล่าวหารือกับมูลนิธิฯ เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหานี้ให้เหมาะสมต่อไป.
กำลังโหลดความคิดเห็น