ไทยจัดเต็ม เตรียมให้ข้อมูลสิทธิมนุษยชนคืนนี้ ในฐานะเป็นภาคี ICCPR ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ส่งเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง 46 คน ยุติธรรม - การต่างประเทศ - ทหาร - ตำรวจ - แรงงาน - ศึกษา - พัฒนาสังคม ร่วมให้ข้อมูล
วันนี้ (13 มี.ค.) มีรายงานจากกระทรวงยุติธรรม ว่า ในเวลาช่วงดึกในเวลาประเทศไทย เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม กระทรวงต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมการติดตามผลการชี้แจงจากคณะทำงานจากเวทีการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รอบของประเทศไทย ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในสมัยประชุมที่ 119 ที่มีนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นหัวหน้าคณะ ร่วมกับคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ทั้งสิ้น 46 คน โดยไทยต้องชี้แจงในฐานะเป็นภาคี ICCPR
ทั้งนี้ เวทีการประชุมทบทวนการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รอบของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 13 - 14 มีนาคม นี้ สืบเนื่องจาก รัฐบาลไทย ในยุคพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้จัดส่งรายงานการปฏิบัติตามพันธกรณีของรัฐ ตามที่ไทยเป็นภาคีกับกติการะหว่างประเทศนี้ ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Committee) ชุด ICCPR เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 แต่เนื่องจากเป็นการส่งรายงานล่าช้าไปจากรอบกำหนดส่งตั้งแต่ปี 2552 ทำให้เนื้อหาในรายงานของรัฐบาลไทยแทบทั้งหมดเป็นการรายงานสถานการณ์ในประเทศก่อนหน้าการรัฐประหารเมื่อปี 2557 เกือบทั้งหมด
ซึ่งเวทีดังกล่าวทาง คณะกรรมการ ICCPR จะพิจารณารายงานสถานะทั้งเรื่องของรัฐ องค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ รวมถึงกลไกการติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่างๆ และการปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งมีผลต่อพลเมืองทุกๆ คนในสังคม ในระหว่างการประชุม และจะมีการตอบคำถามจากเจ้าหน้าที่ทางการไทย
อ่านรายงานการปฏิบัติตามพันธกรณีของรัฐ ตามที่ไทยเป็นภาคีกับกติการะหว่างประเทศนี้ ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติhttp://tbinternet.ohchr.org/_layouts/treatybodyexternal/SessionDetails1.aspx?SessionID=1116&Lang=en
มีรายงานว่า ประเทศไทย ในฐานะเป็นภาคี ICCPR จะชี้แจงเป็นเป็นอันดับที่ 5 ต่อจากบังคลาเทศ ที่มีผู้แทน 16 คน บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ผู้แทน 12 คน อิตาลี ผู้แทน 25 คน เซอร์เบีย ผู้แทน 33 คนส่วนประเทศสุดท้ายคือ เติร์กเมนิสถานผู้แทน 5 คน
ไทยส่งเจ้าหน้า 46 คน ยธ.-กต.-ทหาร-ตำรวจ-แรงงาน-ศึกษา ร่วมให้ข้อมูล
ขณะที่สังคมออนไลน์ เผยแพร่ ข้อมูลคณะทำงานจากเว็บไซต์ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ United Nations Human Rights Council - ohchr ในส่วนของประเทศไทย ประกอบด้วยคณะทำงานจำนวน 46 คน ดังนี้ 1. นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้าคณะ 2. นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ 3. นายศศิวัฒน์ ว่องสินสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต รองผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา 4. พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 4 และผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ตามคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เลขที่ 57/2559 ในการปรับปรุงการบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5. พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา รอง ผบ.ตร. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
6. พลโท กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ สมาชิกสภานินิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และรองเจ้ากรมพระธรรมนูญ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 7. นายประยูร รัตนเสนีย์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย 8. น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) 9. นางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สํานักงานคณะกรรมการอัยการสูงสุด 10. น.ส.อุษณี กังวารจิตต์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 11. นางกาญจนา ภัทรโชค รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ 12. พ.ต.อ.สหรัฐ ศักดิ์ศิลปชัย ผู้บังคับการคดีอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 13. พล.ต.ต. อภิชาติ สุริบุญญา ผู้บังคับการกองการต่างประเทศ (ผบก.ตท.)
14. นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สป. 15. นายวิวัฒน์ ตังหงส์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน 16. พันเอก นรินทร์พร ขุมนาค รองเสนาธิการกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ 17. พันเอก รังสฤษดิ์ นาคเมือง นายทหารยุทธการ ผยก.สยก.ฝยก.ศปก.ทบ. 18. นายเชิดศักดิ์ ศรีศักดิ์วิชัย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) 19. นายผ่านพบ ปลั่งประยูร ผู้อำนวยการ กองเศรษฐกิจ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ 20. นางสาวชุลีรัตน์ ทองทิพย์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา 21. พ.ต.อ.อภิชา ถาวรศิริ ผกก.กลุ่มงานตรวจสอบสำนวน 3 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
22. นางสาวกาญจนา พูลแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน 23. นายบรรจบ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนการทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 24. นางสาวญาณาภัค มันตารัตน์ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา 25. นายสถาพร สอนเสนา นิติกรชำนาญการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 26. น.ส.นารีรักษ์ เพียรชัยภูมิ นักวิชาการยุติธรรม ชำนาญการพิเศษ ด้านความยุติธรรมและหน่วยงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ สำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม และ คณะทำงานเทคนิคของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ 27. น.ส.วันรพี ขาวสะอาด นักวิชาการยุติธรรม ชำนาญการพิเศษ สำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม และ คณะทำงานเทคนิคของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
28. นางสาวจิตวิภา เบญจศีล ที่ปรึกษา/หัวหน้าฝ่ายมนุษยชน กระทรวงการต่างประเทศ 29. นายปรินทร อภิญญานันท์ เลขานุการเอก กระทรวงการต่างประเทศ 30. นางสาวอังคณา เตชะโกเมนท์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 31. นางสาวจิราพร งามเลิศศุภร นักการข่าวชำนาญการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และนักวิจัยภายใต้ชุดโครงการมาเลเซีย : นัยที่สำคัญต่อประเทศไทย 32. นางบุญภาดา อรุณเบิกฟ้า นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 33. นายพิชญเดช โอสถานนท์ เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน สภาความมั่นคงแห่งชาติ 34. นางสาวรัชนินท์ พงศ์อุดม นักวิเทศสัมพันธ์ ปฏิบัติการ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 35. นายพงษ์ศิริ วรพงษ์ศรี เลขานุการคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา 36. นางสาวฉลองขวัญ ธวารยุทธ เลขานุการผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา 37. นางสาวขวัญหญิง ม้านสะอาด นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
38. นางสาวนฤพร บุญญบาล นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน 39. นาย ธีรธร สุจารีกุล นักการทูต ระดับปฏิบัติการ กองสนธิสัญญา กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ 40. น.ส.Punnapa Pardungyotee นักการทูต กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ 41. นางสาวดาราริน ชุมสาย ณ อยุธยา นักการทูต กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ 42. นายณภัทร ดำขำ นักการทูต กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ 43. นายรัตนพงษ์ วงศ์กัญญา นักการทูต กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ 44. นางสาวจันทราพร ดิษฐศรีพร นักวิชาการยุติธรรม ชำนาญการพิเศษ สำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม 45. นางสาวธนารีย์รัฐ ชูฤทธิ์ เจ้าหน้าที่กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ 46. จรุงเกียรติ ภูติรัตน์ ล่ามอาชีพ
มีรายงานว่า นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานฝ่ายไทยที่จะหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การคุ้มครองสิทธิคนชายขอบ การทรมาน การบังคับบุคคลสูญหาย และการละเมิดสิทธิกลุ่มเปราะบางต่างๆ เป็นต้น
สำหรับ ICCPR เป็นคณะกรรมการภายใต้องค์การสหประชาชาติ มีหน้าที่ตรวจสอบรายงานที่ประเทศสมาชิกส่งมารายงานเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในรายละเอียดมาตราต่างๆ ในกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยเมื่อประเทศหนึ่งประเทศใดได้ยอมรับเป็นรัฐภาคีต่อกติการะหว่างประเทศฉบับนั้น จึงมีภาระหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ในการปฏิบัติตามมาตราต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศนั้นๆ
ทั้งนี้ รัฐที่เป็นภาคีของ ICCPR จะต้องจัดทำการร่างรายงานฉบับริเริ่ม (Initial Report) และจัดส่งให้คณะกรรมการประจำสนธิสัญญา ICCPR กำหนดเป็นเวลา 1 ปีหลังจากลงสัตยาบัน โดยประเทศไทยจัดส่งรายงานล่าช้า และได้จัดส่งรายงานฉบับริเริ่มเป็นครั้งแรกต่อคณะกรรมการสิทธิฯ ชุด ICCPR เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2547 นี้เอง ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ชุด ICCPR มีแนวโน้มที่จะตรวจสอบรายงานและสถานการณ์สิทธิฯ ของรัฐภาคีที่จัดส่งรายงานล่าช้าเป็นเวลานานโดยทันที เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งการจัดทำรายงานของรัฐบาลของประเทศที่เป็นภาคีไม่ใช่แต่เป็นการทำตามกฎระเบียบ แต่เป็นการดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติของรัฐเองต่อระบบกลไกสิทธิมนุษยชน กลไกระบบยุติธรรม และแนวทางการดำเนินการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประเทศการเข้าเป็นภาคีไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540