เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกาไม่ถึงเดือน โดนัลด์ ทรัปม์ กับทีมงานทำเนียบขาวของเขา ดูเหมือนจะอยุ่ในอาการร่อแร่ เพราะต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ถาโถมเข้าใส่เป็นระลอก
ทั้งหมดนี้ ต้องบอกว่า เหตุเกิดจากตัวเองทั้งนั้น ทรัมป์ เป็นนักธุรกิจที่บังเอิญชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ทางการเมือง เอาความคิด ความรู้สึกของตัวเองเป็นใหญ่ หลายๆเรื่อง พูดเอามัน ตอนหาเสียงได้ แต่ในภาคปฏิบัติทำไม่ได้ เพราะขัดแย้งกลับความเป็นจริง
ถ้าทรัมป์ คิดว่า ฝนไม่ตก เขาก็จะบอกกับทุกคนว่า ฝนไม่ตก ในขณะที่ยืนอยู่ใต้ร่ม ที่บอดี้การ์ดกางกั้นสายฝนให้
คนไทยเรา มีประสบการณ์กับ นักธุรกิจที่ชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรีมาก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว คนอเมริกัน เพิ่งจะรู้รสชาติว่า มันเป็นอย่างไร
ถ้าใช้มุมมองของโลกใต้กะลา ที่นักวิชาการเสื้อแดงของไทย ใช้เป็นคำอธิบาย กระแสต่อต้านรัฐบาลทักษิณ มรสุมที่ซัดกระหน่ำ ทำเนียบขาวอยุ่ในเวลานี้ เกิดจากการสมคบคิดกันของชนชั้นนำในวอชิงตัน ที่สูญเสียประโยชน์ จากการขึ้นมาสุ่อำนาจของทรัมป์ ที่ประกาศตัวเป็นผู้นำมวลชน เอาประเทศกลับคืนมาจากชนชั้นนำทางการเมือง
เรื่องการลาออก ของนายไมเคิล ฟลินน์ ที่ปรึกษาความมั่นคงของทรัมป์ เป็นจุดเริมต้นของพายุการเมืองลูกใหญ่ที่จะซัดให้โดนัลด์ ทรัมป์ กระเด็นออกจาทำเนียบขาว เร็วกว่าที่คาดคิด
แดน ราเธอร์ อดีตผู้ดำเนินรายการ ข่าวยามเย็น Eveningnews ของ ซีบีเอส โพสต์ใน้เฟซบุ๊คส่วนตัวว่า
จนถึงตอนนี้ กรณีวอเตอร์เกต น่าจะเป็นเรื่องการเมืองที่ฉาวโฉ่ที่สุด ในชีวิตของเขา ถ้าแบ่งระดับความรุนแรงที่ล้มรัฐบาลลงได้ ออกเป็น 10 ระดับ วอเตอร์เกต อยุ่ที่ระดับ 9 เรื่อง รัสเซียตอนนี้อยุ่ระดับ 5- 6 แต่ความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกๆชั่วโมง
แดน ราเธอร์คงหมายความว่า เรื่องที่นายฟลินน์ แอบไปคุยกับทูตรัสเซียประจำสหรัฐฯ แล้วโกหกว่า ไม่ได้คุยกันเรื่อง มาตรการคว่ำบาตร ของโอบามา แต่ถูกจับได้จนต้องลาออก หลังจากรับตำแหน่งได้เพียง 24 วันเท่านั้น ใหญ่กว่า เรื่องวอเตอร์เกต ที่ทำให้ประธานาธิบดีริชารืด นิกสันต้องลาออกจากตำแหน่งเมื่อ ปี 1974
คดีวอเตอร์เกต เริ่มต้นจาก ที่ทำการของพรรคเดโมแครต ในตึกที่ชื่อว่า วอเตอร์เกต ถูกคนร้ายงัดเข้าไป ตอนแรก ก็ดูเหมือจะเป็นเรื่อง ขโมยข้าวของธรรมดา แต่พอ นักข่าว หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ สองคน สืบสาวเรื่องไปเรือ่ยๆ โดยมีแหล่งข่าว ที่ใช้นามแฝงว่า ดีพโทรธ คอยให้เบาะแส กลับบานปลายใหญ่โต กลายเป็นเรื่อง คนรอบตัวประธานาธิบดีนิกสัน ทำการ ติดตาม ดักฟัง โจรกรรมข้อมูล ของพรรคเดโมแครต และบุคคลอื่นๆที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับตน
ประธานาธิบดีนิกสัน ปฏิเสธว่า ไม่รู่ ไม่เห็นกับ การกระทำของสต้าฟทำเนียบขาว แต่หลักฐานที่เป็นเทปลับ ซึ่งศาลฎ๊กามีคำสั่งให้เปิดเผย ชี้ชัดว่า เขารู้เห็น เป็นใจมาโดยตลอด นิกสัน ตัดสินใจลาออก เพื่อหนีการถอดถอน ซึ่งเขารู้ว่า แพ้แน่
ความผิดของนิกสันคือ โกหก และขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
สำหรับเรื่อง รัสเชี่ยน เกท (Russiangate) ในยุคของประธานาธิบดี ทรัมป์ เริ่มจาก นายไมเคิล ฟินน์ อดีตนายพลยศพลโท และอดีตผู้อำนวยการข่าวกรอง กระทรวงกลาโหม คนใกล้ชิด คู่คิดของทรัปม์ ในช่วงการหาเสียง โทรศัพท์ไปคุยกับ ทูตรัสเซีย ปประจำสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ปีที่แล้ว ก่อนที่ทรัมป์จะสาบานตัวเข้ารับตำแหน่ง และก่อนที่นายฟลินน์ จะได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกาฝ่ายความมั่นคงของประธานาธิบดี
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยออกมาโดย หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ เมื่อกลางเดือนมกราคม รองประธานาธิบดี ไมค์ เพนซ์ ออกมาแก้ตัวให้ฟลินน์ว่า คุยกับทูตรัสเซียในเรื่องทั่วๆไป ไม่ได้คุยเรื่อง มาตรการคว่ำบาตร
ก่อนหน้าที่ฟลินน์จะโทรฯไปคุยกับรัสเซีย 1 วัน ประธานาธิบดี โอบามา ขับไล่สายลับ เจ้าหน้าที่ข่าวกรอง 60 คน ของรัสเซียออกจากประเทศ และคว่ำบาตรหน่วยข่าวกรองของรัสเซีย เป็นการตอบโต้กับ การที่รัสเซียจารกรรมข้อมูล แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อช่วยให้ทรัมป์ชนะ
หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ซึ่งดักฟังการสนทนา มีข้อมูลว่า ฟลินน์ บอกกับทูตรัสเซียว่า อย่าตอบโต้รุนแรงเกินไปนะ เพราะประธานาธิบดีคนใหม่ จะเป็นมิตรกับรัสเซียมากขึ้น
การเข้าไปยุ่งเกี่ยว แทรกแซง เจรจาต่อรอง ที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ ของพลเรือนที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา
ข้อมูลจากการดักฟังว่า ฟลินน์คุยอะไรกับทูตรัสเซีย ถูกปล่อยออกมา ทางสื่อ ซึ่งถูกทรัมป์กล่าวหาว่า เป็นหนึ่งในกลุ่ม ชนชั้นนำ ที่จ้องทำลายเขา เป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้ฟลินน์ จนมุม กับข้อหาว่า เขาโกหก รองประธานาธิบดี เพื่อให้ไปโกหกกับประชาชนอีกทีหนึ่ง จนต้องยอมลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันจันทร์ ที่ผ่านมา
การลาออกของฟลินน์ เป็นจุดเริ่มต้นของมรสุมการเมืองลูกใหญ่ที่กำลังถาโถมเข้าสุ่ทำเนียบขาว
มีคำถามว่า ทรัมป์ รับรู้ไหมว่า ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงของตน ไปคุยกับทูตรัสเซีย รุ้ไหมว่า คุยกันเรื่องอะไร และรู้เมื่อไร
โฆษกทำเนียบขาว นายฌอน สไปเซอร์ บอกว่า ทรัปม์รู้เรื่องนี้ เมื่อปลายเดือนมกราคม แต่ไม่รุ้ว่า ที่ปรึกษาของตนคุยเรื่องมาตรการคว่ำบาตรกับทูตรัสเซีย ซึ่งขัดแย้งกับ การรายงานข่าวของสื่อ ที่อ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรองว่า รักษาการอัยการสูงสุด แซลลี่ เยสต์ รายงานให้ที่ปรึกษทำเนียบขาวคนหนึ่ง เพื่อให้ไปแจ้งให้ทรัมป์รู้ว่า ที่นายไมค์ เพนน์ รองประธานธิบดี แถลงแก้ตัวให้นายฟลินน์ว่า ไม่มีการคุยเรื่องการคว่ำบาตรนั้น ขัดแย้งกับข้อมูลที่หน่วยงานข่าวกรองดักฟังมา
ทรัมป์มีเวลาสองสามอาทิตย์ ที่จะจัดการกับที่ปรึกษาของตน แต่ไม่ทำอะไร จนหลักฐานข้อมูลต่างๆที่ชี้ว่า ฟลินน์โกหก ทำให้ฟลินน์ ต้องลาออกเอง
สมาชิกสภาครองเกรส พรรคเดโมแครต เรียกร้องให้มีการไต่สวน ไมเคิล ฟลินน์ เพื่อสาวให้ถึงตัวประธานิบดีว่า รับรู้ และ ร่วมกันโกหกประชาชนด้วยหรือไม่ โดยสมาชิกพรรครีพับลิกันบางคนเริ่มคล้อยตาม เพราะ เรื่อง รัสเซียนี้ ชัดจะบานปลาย ใหญ่โตเกินกว่าจะยื่นมือไปช่วยโดนัลด์ ทรัมป์
โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังตกที่นั่งเดียวกับ ริชาร์ด นิกสิน ในคดีวอตเอร์เกต เมื่อ สี่สิบกว่าปีก่อน