ฮิโรยูกิ มูราโมโต เป็น ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น เขาเสียชีวิต เมื่อตอนสามทุ่มของ คืนวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ ขณะถ่ายภาพ รายงานข่าว ความรุนแรง ในเหตุการณ์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ส่งกำลังทหาร เข้าสลายการชุมนุมของ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. บนถนนนราชดำเนินกลาง
อีก 2 คนที่เสียชีวิตในเวลาเดียว สถานที่เดียวกันกับ นายมูราโมโต คือ นายวสันต์ ภู่ทอง และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ซึ่งเป็นผู้มาร่วมชุมนุม
คำสั่งของศาลอาญา กรุงเทพใต้ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 258 ระบุว่า ผู้ตายทั้งสามเสียชีวิตเพราะถูกยิงด้วยกระสุนปืนที่มีความเร็วสูง ไม่ทราบชนิดและขนาด เข้าที่หน้าอกด้านซ้าย ศรีษะด้านหลัง และทรวงอกด้านหลังตามลำดับ แต่ไม่ทราบว่า ใครยิง และกระสุนมาจากทิศทางใด
ก่อนหน้านั้นไม่ถึงสองชั่วโมง บริเวณเดียวกัน มีระเบิดเอ็ม 79 หนึ่งลูก ถูกโยนเข้าใส่วงประชุมผู้บังคับหน่วย หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ทำให้ทหารเสียชีวิต 2 ราย หนึ่งในนั้นคือ พันเอกร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสนาธิการ กองพลทหาราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ และ พลตรี วลิต โรจนภักดี ผู้บัญชาการกองพล รวมทั้งนายทหารอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บสาหัส
ความตายของนายมูราโมโต ถูกสื่อมวลชนที่เอนเอียงไปทางกลุ่มคนเสื้อแดง และระบอบทักษิณ อย่างเครือข่าวสด - มติชน หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นใหญ่ ในเตอนนั้น และต่อมาอีก2-3 ปี เพราะว่า เขาเป็นสื่อมวลชน สำนักข่าวระดับโลก และเป็นคนต่างชาติ เป็นจุดขายที่ดี ในการตั้งประเด็นกึ่งถามกึ่งชี้นำสังคมว่า นายมูราโมโตตายเพราะใคร
เช่นเดียวกับ ความรุนแรงบนถนนราชดำเนินกลาง ในวันที่ 10 เมษายน ที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ จำนวนมาก แม้จะมีภาพเหตุการณ์ที่คนทั่วประเทศได้เห็นว่า มีชายชุดดำ ใช้อาวุธสงคราม ยิงใส่ทหาร แต่ทางฝ่ายคนเสื้อแดง นปช. พรรคเพื่อไทย นักวิชาการแอยใส่เสื้อแดง และสื่อมวลชนในสังกัดระบอบทักษิณ ต่างปฏิเสธว่า ไม่มีชายชุดดำในที่ชุมนุม บ้างก็ว่า มี แต่ไม่รู้ว่าใคร
ทั้งนี้ก็เพื่อบิดเบือน โยนความผิดให้ทหารว่า เป็นผู้ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม เป็นผู้ลั่นไกสังหารนายมูราโมโต ทั้งๆที่ กำลังทหารในวันนั้น เป็นฝ่ายถูกกระทำจนเสียชิวิต บาดเจ็บล้มตายจำนวนมกา เพราะเข้าปฏิบัติการขอคืนพื้นที่โดย ไม่ติดอาวุธ
เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 ผ่านไปเกือบจะครบ 7 ปีแล้ว ความจริงจึงได้รับการเปิดเผยออกมาว่า ชายชุดดำในที่ชุมนุมคนเสื้อแดงมีอยู่จริง เป็นชายชุดดำที่ขนอาวุธสงครามร้ายแรงเข้าไปในที่ชุมนุม
ศาลอาญาออกนั่งบัลลังก์เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา อ่านคำพิพากษา จำคุก นายกิตติศักดิ์ หรืออ้วน สุ่มศรี และนายปรีชา หรือไก่เตี้ย อยู่เย็น คนละ 10 ปี โทษฐานพกพาอาวุธ เครื่องกระสุน ระเบิดเข้าไปในที่ชุมนุม ส่วนจำเลยอีก 3 คนคือ นายรณฤทธิ์ หรือนะ สุริชา นายชำนาญ และนางปุนิกา หรืออร ชูศรี ให้ยกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่เห็นจำเลยในที่ชุมนุม จึงยกประโยชน์แหง่ความสงสัยให้จำเลย แต่ให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์
จำเลยทั้ง 5 คน ให้การรับสภารภาพในชั้นสอบสวน ว่า มีการวางแผนจัดเตรียมอาวุธไปในที่ชุมนุมโดย นายกิติตศักดิ์ จำเลยที่ 1 จะใช้อาวุธปืนเอ็ม 79 นายปรีชา จำเลยที่ 2 จะใช้ปืนอาก้า นายชำนาญ จำเลยที่ 4 จะใช้ปืนเอ็ม 16 นางปนิกา จำเลยที่ 5 ถือระเบิดเพลิง ส่วน นายรณฤทิ์ จำเลยที่ 3 เป็นคนส่งอาวุธให้
เมื่อถึงชั้นศาล ทั้ง 5 คน กลับคำให้การ โดยยอ้างว่า ถูกข่มขู่ ถูกซ้อม ให้รับสารภาพในชั้นสอบสวน แตศาลไม่เชื่อ เพราะไม่มีร่องรอยการซ้อม และโจทก์มีพยานในที่เกิดเหตุ มีการนำผู้ต้องหาทั้งห้าคน ไปชี้จุดเกิดเหตุ สอดคล้องกันกับคำให้การของพยาน จึง มีน้ำหนักรับฟังได้
พยานที่เป็นทหารม้า ขับรถฮัมวี่ จอดอยู่ เห็นรถตู้ โตโยต้า สีขาว ขับผ่านม แล้วชะลอรถ มีชายคนหนึ่งเปิดประตูเลื่อน โผล่หน้ามาด่าพยาน จึงเห็นว่า ในรถตู้มีอาวุธปืน และให้การกับศาลว่า ชายคนนั้นคือ นายกิตติศักดิ์
พยานอีกคน เป็นพี่สาวของผู้ใกล้ชิดนายกิตติศักดิ์ ให้การในศาลว่า นายกิตติศักดิ์ มีอาชีพขับรถตู้รับจ้างเช่นเดียวกับน้องชายซึ่งเคยพากันไปชุมนุมหลายครั้ง ก่อนเกิดเหตุเห็นช่วยกันขนกระเป๋าสีดำจากรถยนต์ฮอนด้า สีขาว ที่จอดไว้บริเวณบ้านริมน้ำมายังที่ห้องพักโดยพยานเห็นปากกระบอกปืนโผล่ออกมาจากกระเป๋า จากนั้นก่อนไปชุมนุมได้ขนกระเป๋าและลังสีน้ำตาลใส่รถตู้สีขาวเพื่อจะพาไปยังที่ชุมนุม
ศาล จึงเห็นว่าพยานปากนี้คุ้นเคยกับจำเลยที่ 1 ไม่มีเหตุจะปรักปรำให้ต้องรับโทษ ส่วนที่อ้างว่าพยานถูกข่มขู่ ถ้าเป็นจริงพยานก็น่าจะเบิกความพาดพิงจำเลยคนอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีเจ้าของรถตู้ที่เบิกความว่าจำเลยที่ 1 ได้เช่ารถไปใช้ต่อ
สำหรับนายปรีชา จำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ มีพยานเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นายที่แฝงตัวอยู่ในชุมนุม เบิกความว่าตามวันเวลาเกิดเหตุ มีกลุ่มชายชุดดำที่มีอาวุธปืนอาก้าเข้ามาในที่ชุมนุม ซึ่งการ์ด นปช.ได้ขอตรวจบัตร แต่กลุ่มชายชุดดำอ้างว่าไม่ได้นำมา จังหวะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่แฝงตัวอยู่ในที่ชุมนุมจึงได้ถอดหมวกไหมพรมของหนึ่งในชายชุดดำออกก่อนที่จะยึดอาวุธปืน ก็พบว่าเป็นใบหน้าจำเลยที่ 2 แต่ขณะที่กำลังจะถอดหมวกไหมพรมชายชุดดำคนที่ยืนถัดไปได้เพียงครึ่งหน้า ก็ปรากฏว่าเกิดเหตุระเบิดขึ้นบริเวณที่ชุมนุมทำให้ชายชุดดำดังกล่าววิ่งออกไป
ส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าไม่ได้ไปที่ชุมนุม แต่ไปรับจ้างเดินสายไฟที่อาคารศูนย์ราชการนั้นก็ไม่ได้มีพยานบุคคลรวมทั้งสัญญาจ้างมากล่าวอ้าง ทั้งที่สามารถหาพยานบุคคลได้โดยง่าย และที่อ้างว่าภาพถ่ายจำเลยที่ 2 ขณะเปิดหมวกไหมพรมนั้นเป็นภาพตัดต่อก็ไม่ปรากฏข้อพิรุธในภาพถ่ายของโจทก์ ดังนั้นพยานโจทก์ที่นำสืบในส่วนของจำเลยที่ 1-2 จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าร่วมกันกระทำผิด
แม้ว่า คดีนี้ยังไม่ถึงที่สุด ต้องรอดูว่า ศาลอุทธรณ์จะเห็นด้วยกับศาลชั้นต้นหรือไม่ อย่างไร แต่อย่างน้อยที่สุด คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ก็น่าจะพิสูจน์ได้ชั้นต้นนี้แล้วว่า ชายชุดดำในกลุ่มคนเสื้อแดง มีอยู่จริงหรือไม่ และเป็นผู้ยิงปืนอาก้า เอ็ม 16 ปาระเบิด9 ใส่ทหาร และผู้ชุมนุม จริงหรือไม่
และกระสุนความเร็วสูง ไม่ทราบชนิดและขนาด ที่พุ่งข้าทรวงอกด้านซ้ายส่วนบนของนายฮิรายูกิ มูราโมโต ทำลายปอดและหลอดเลือดแดงใหญ่ ก่อนกระสุนทะลุออกต้นแขนขวาด้านหลัง ปลิดชีวิตช่างภาพรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น ในคีนวันที่ 10 เมษายน 2553 มาจากกระบอกปืนของชายชุดดำในกลุ่มคนเสื้อแดง หรือมาจากทหาร