xs
xsm
sm
md
lg

สปท.ปัดแก้ กม.อุทยานฯ เอื้อนายทุน แจงเพิ่มอำนาจอธิบดีรื้อถอนรีสอร์ต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายดำรงค์ พิเดช สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ  (แฟ้มภาพ)
กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสารธารณสุขฯ แถลงปัดแก้กฎหมายอุทยานฯเปิดช่องเอื้อนายทุน “ดำรงค์” ยันเพิ่มอำนาจอธิบดีรื้อถอนรีสอร์ท ไม่มีเอื้อนายทุนเช่าทำประโยชน์

วันนี้ (31ม.ค.) นางพรพันธุ์ บุณยรัตนพันธุ์ ประธานกรรมาธิการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) นาย ขวัญชัย ดวงสถาพร โฆษกกรรมาธิการฯ นาย ดำรงค์ พิเดช อนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปทรัพยากรธรรชาติ ใน กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสารธารณสุขฯ ร่วมกันแถลง 1 มาตรการ และปรับปรุงกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ และเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศ

โดยนายขวัญชัยกล่าวว่า ข้อเสนอของ สปท. มีเป้าหมายหยุดยั้งและป้องกันการทำลายทรัพยากรป่าไม้ เพิ่มพื้นที่ป่าและจัดระเบียบการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างเหมาะสม คือ 1.ให้มีการออกมาตรการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยด่วน ซึ่งคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 ได้กำหนดให้สามารถเสนอมาตราการจาก คสช.ได้ ซึ่งมาตรการนี้จะไม่อนุญาตให้บุคคลดังนี้สามารถใช้ที่ดินป่าอนุรักษ์ได้โดยเด็ดขาด คือ ผู้บุกรุกครอบครองที่ดินที่เป็นนายทุน หรือผู้บุกรุกรายใหญ่ ไม่ว่าจะบุกรุกในช่วงปีใดก็ตาม รวมทั้งราษฎรที่บุกรุกที่ดินใหม่ภายหลังคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ที่ออกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2557

2. ปรับปรุงพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ที่มีการใช้มานานกว่า 50 ปี ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีมาตรการริบทรัพย์สินที่เกิดจากการกระทำความผิดให้ศาลสั่งให้ตกเป็นของแแผ่นดิน โดยพื้นที่ของอุทยานฯ บรรดาอสังหาริมทรัพย์จำพวกสิ่งปลูกสร้างที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ โดยให้มีการพิจารณารื้อถอนหรือกรมอุทยานฯ อาจนำมาใช้ประโยชน์ในภารกิจเพื่อการคุ้มครองรักษาพื้นที่ป่าโดยกรมอุทยานฯ แต่ต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและใช้ได้ในเขตการจัดการที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวจะไม่มีการอนุญาตให้เอกชนมาดำเนินกิจการรีสอร์ทในทุกกรณีเพราะจะขัดบทบัญญัตินี้ และขัดต่อเจตนารมรณ์ของการจัดการป่าอนุรักษ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย โดยต้องการดำเนิการต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ส่วนในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์ฯ ได้กำหนดห้ามนำบรรดาอสังหาริมทรัพย์จำพวกสิ่งปลูกสร้างที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วมาใช้ในทุกกรณี รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และกำหนดโทษให้เหมาะสมกับปัจจุบันด้วย

ด้านนายดำรงค์ กล่าวว่า ตนดีใจที่สังคมตื่นตัวในเรื่องนี้ แต่มันเป็นการเข้าใจผิดที่ปล่อยกระแสออกไปว่า เปิดให้นายทุนเข้ามาครอบครองพื้นที่ โดยเฉพาะ มาตรา46และมาตรา 52 ของร่าง พ.ร.บ.อุทยานฯ ตนเป็นอนุกรรมการและได้ร่วมทำมาในส่วนนี้ ดังนั้นตนจะไม่ยินยอมเอาทรัพย์สินส่วนรวมของชาติไปให้นายทุนทั้งสิ้น ตนดูอย่างละเอียดรอบคอบทุกอย่างหมดแล้ว เพียงแต่เพิ่มอำนาจให้อธิบดีอย่างมาตรา 46การริบทรัพย์สินของกลาง ซึ่งต้องผ่านอัยการให้ยื่นฟ้อง ตอนนี้เรามีหน้าที่แจ้งอัยการแจ้งศาลให้ริบทรัพย์ เพราะผู้กระทำความผิดพัฒนาไปเรื่อยๆ ตัดไม้พะยูงก็ไปเช่ารถมาเจ้าของรถไม่มีส่วนรู้เห็นก็คืนของกลางก็ไม่มีจบสิ้น เราก็แก้จุดนี้ในจุดอ่อนที่เกิดขึ้น ส่วนรีสอรท์ที่ยึดมาอธิบดีมีอำนาจใช้มาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ ในการรื้อถอนเหมือนเดิม ถ้าไม่พบตัวผู้กระทำผิดติดประกาศ30วันรื้อถอนได้ทันที แต่ถ้าเขามีหลักฐานก็สู้กันในชั้นศาลสั่งรื้อถอน อธิบดีก็มาพิจารณาว่าตึกอาคาร 3 ชั้น ถ้ามาทำเป็นศูนย์อบรมของพิทักษ์ป่าหรือใช้เป็นสถานที่อะไรมันมีประโยชน์ต่อราชกการก็ให้ดุลยพินิจอธิบดีทำได้ แต่ไม่ใช้ไปให้นายทุนทำรีสอรท์เช่าต่อไม่ได้ อุทยานไม่มีเปิดโอกาสให้เช่าอะไรทั้งสิ้น

นายดำรงค์ กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรา 52 เรื่องที่ทำกินเป็นเรื่องของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งบนที่สูง วันนี้เราพูดกันในเรื่องป่าอนุรักษ์ เราจะแก้ไขกันอย่างไร มติครม. 30 มิ.ย. 41 มาถึงวันนี้ 19 ปียังไม่ได้ทำอะไรเลย หลังปีปี 45- 46 อีก 2ล้านกว่าไร่ ก็ยังไม่ได้ทำอะไร จนกระทั้งมาปี57 ก็ผ่อนผันคนยากคนจนไม่ใช่นายทุนทั้งหลาย กันพวกข้างล่างขึ้นมาสวมสิทธิ์ใช้คนจนบังหน้า เราต้องมาจัดระบบกันใหม่ ฉะนั้นเรากันจุดนี้ ให้เข้าทำกินอยู่ตามอัตภาพ อันไหนมันล่อแหลมก็จัดที่ให้ใหม่ เช่นอาจจะไปอยู่ขอบเชิงเขา รักษาส่วนยอดเขาเอาไว้ไม่ใช้ปล่อยให้ยอดเขาก็โล้น ข้างล่างก็โล้น ปลูกข้าวโพดกันสุดลูกหูลูก อันนี้ขอให้พี่น้องสื่อมวลชนเข้าใจ 2 จุดนี้ ไม่มีเปิดโอกาสให้นายทุนเข้ามาดำเนินกิจการอะไรทั้งสิ้น เป็นเรื่องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
กำลังโหลดความคิดเห็น