เลขาฯ ป.ป.ช.งง! TI นำเรื่องความเป็นประชาธิปไตยมาใช้ในการจัดอันดับความโปร่งใสนานาชาติ ทำไทยคะแนนความโปร่งใส ปี 2559 วูบ! ได้ 35 คะแนน อยู่อันดับที่ 101 ของโลก รับผิดหวังตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 38 คะแนน ระบุต้องกลับไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับการประเมินในครั้งนี้
วันนี้ (25 ม.ค.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า ป.ป.ช.ได้รับทราบรายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ประกาศคะแนนดัชนีการจัดอันดับความโปร่งใส หรือ Corruption Perceptions Index (CPI) ปี 2016 ที่ประเทศไทย ได้35 คะแนน อยู่อันดับที่ 101 ของโลก ซึ่ง ป.ป.ช.พบว่า มีการนำเรื่องความเป็นประชาธิปไตยมาใช้ในการจัดอันดับด้วย จากนี้ไป ป.ป.ช.จะนำมาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ต่อไป
“ดูจากคะแนนและผลการจัดอันดับที่ออกมา ป.ป.ช.ก็ผิดหวัง เพราะเราคาดการณ์ว่าเราจะได้เกินกว่า 38 คะแนน แต่กลับตกมาที่ 35 คะแนน ก็รู้สึกผิดหวัง โดยต้องกลับไปดูอีกทีว่าเกิดอะไรขึ้นกับการประเมินในครั้งนี้”
ทั้งนี้ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ได้ประกาศค่าคะแนน Corruption Perceptions Index (CPI) ของปี 2559 ในวันพุธที่ 25 มกราคม 2560 นี้ โดยประเทศไทยได้คะแนน 35 จาก 100 คะแนนเต็ม อยู่ที่ 101จากจำนวน 176 ประเทศ อยู่ในระดับเดียวกันประเทศฟิลิปปินส์ และติมอร์ เลสเต้ ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับที่ 6 จาก 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน รองจากสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ก่อนหน้านั้น ป.ป.ช.ได้ทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ค่าคะแนน CPI ที่วัดดัชนีการรับรู้การทุจริตประเทศไทย (Corruption Perceptions Index : CPI) จำนวน 8 ตอนเผยแพร่ในเว็บไซต์
มีรายงานว่า สำหรับรายงานของ CPI ตอนหนึ่งที่กล่าวถึงประเทศไทย โดยอ้างถึงความเป็นประชาธิปไตย มีใจความว่า
Thailand dropped to 35 in its score this year, reinforcing the link between perceived corruption and political turmoil. Government repression, lack of independent oversight, and the deterioration of rights eroded public confidence in the country.
Thailand's new constitution, while it places significant focus on addressing corruption, entrenches military power and unaccountable government, undermining eventual return to democratic civilian rule. Free debate on the constitution was impossible; campaigning in opposition was banned and dozens of people were detained. The military junta also prohibited monitoring of the referendum. There is a clear absence of independent oversight and rigorous debate.
ขณะที่รายงานดังกล่าวมีการอ้างถึงบทความในประเด็นการเมืองในวาระต่างๆ ทั้งการเลือกตั้ง การเข้าบริหารของรัฐบาลทหาร จากองค์กรต่างๆ และสื่อมวลชน เช่น สำนักข่าวบีบีซี ยูเอ็นนิวส์ ฮิวแมนไรต์วอตช์
บทความของยูเอ็นนิวส์ “Thailand: UN rights expert warns against curbs on free speech ahead of major vote” เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2559 http://www.un.org/apps/news/story.asp?NewsID=54556#.WIhsyxuLTIV
บทความของฮิวแมนไรต์วอตช์ “Thailand: Junta Bans Referendum Monitoring Generals Gag Criticism of Draft Constitution” เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 https://www.hrw.org/news/2016/06/21/thailand-junta-bans-referendum-monitoring
บทความของสื่อเดอะการ์เดียน “Thailand votes in favour of military-backed constitution” เผยแพร่วันที่ 7 กันยายน 2559 https://www.theguardian.com/world/2016/aug/07/thailand-votes-in-favour-of-military-backed-constitution
บทความของบีบีซี “Thai referendum: Military-written constitution approved” เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 http://www.bbc.com/news/world-asia-36972396