xs
xsm
sm
md
lg

เมื่อแม่น้ำโขงจะกลายเป็นคลองส่งน้ำ คำสั่งจากจีนที่รัฐบาลไทยไม่กล้าปฏิเสธ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ก่อนสิ้นปี 2559 ไม่กี่วัน คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง พ.ศ.2558-2568 เพื่อจะใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ให้เกิดความสะดวก ปลอดภัย และเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิก

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้สนใจติดตาม สิ่งที่เกิดขึ้นกับแม่น่ำโขง ในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา คงไม่รู้ว่า มติ ครมใ นี้ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในแง่ที่จะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขง ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยุ่ของประชาชนริมแม่น่ำทั้ลงสองฝั่ง และคงไม่เข้าใจว่า ทำไม กลุ่มแอ็นจีโอ ภาคประชาชนต้องคัดค้านเรื่องนี้

แม่น้ำโขงมีความยาวเกือบ 5 ,000 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยาวเป้นอันดิบสิบของโลกแ ไหลผ่าน 6 ประเทศ จากจีน ผ่านพม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีประชาชนมากกว่า 60 ล้านคน ได้อาศัยแม่น่ำสายนี้ ในการดำรงชีวิต มาอย่างยาวนาน

หลายปีมานี้ แม่น่ำโขงมีความเปลี่ยนแปลงผิดปกติ น้ำขึ้นลงเร็วกว่าที่เคยเป็น ทำให้ตลิ่งพัง บ้านเรือน ของประชาชนสองฝั่ง เกิดความเสียหาย เก ดน้ำท่วมใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน น้ำในแม่น้ำขุ่นข้น กว่าเดิม เพราะมีตะกอนมากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากโครงการส้รางเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตไฟฟ้า ของจีน ในแม่น้ำโขงตอนบน ซึ่งอยุ่ในดินแดนของประเทศจีน และยังมีการระเบิดเกาะแก่งในลำน้ำโขง เพื่อให้การเดินเรือสะดวกขึ้น

แผนกรพัฒนาการเดินเรือในแม่น้ำโขง ที่ ครม. อนุมัติไปนั้น เป็นแม่น้ำโขงตอนล่าง ระยะทาง 631 กิโลเมตร จากชายอดนจีน พม่า ถึงเมืองหลวงพระบางของลาว ซึ่งมีส่วนที่ไหลผ่านประเทศไทย คือ จากเชียงแสน ถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

สิง่ที่เรียกว่า การพัฒนาการเดินเรือก็คือ การปรับปรุงร่องน้ำ แลพะเกาะแก่ง เพื่อให้เรือขนาด 500 ตัน เดินเรือได้อย้างปลอดภัย จากปัจจุบัน ที่สามารถเดินเรือได้เฉพาะเรือขนาด 50-150 ตันเท่านั้น

วิธีการพัฒนาก็คือ การระบิดเกาะแก่ง ในแม่น่ำโขง ซึ่งเป็นวิธีที่จีนใช้กับแม่น่ำโขงตอนบน และจีนจะทำอย่างนี้กับแม่น้ำโขงช่วงีท่ไหลผ่านลาวและไทย เพราะเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำได้ แต่ต้องให้รัฐบาลไมยและลาวเห็นชอบด้ว ยเพราะไม่ได้อยู่ในดินแดนของจีนแล้ว แต่เป็นสายน้ำช่วงที่เป้นอธิปไตยของไทยและจีน

เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง และองค์กรภาคีเครือข่ายลุ่มน้ำโขง ได้ยื่นหนังสือถึ
พลเอกประยุทธ์ จันทรื โอชา นายกรัฐมนตรี คัดค้านมติ ครม. ด้วยเหตุผลว่า จะสร้างผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ดังนี้

1. ทำลาย “แก่งคอนผีหลง” ซึ่งเป็นแก่งขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขง บริเวณพรมแดนไทย-ลาว ที่ จ. เชียงราย มีความยาว 1.6 กิโลเมตร และแก่งอื่น ๆ ในแม่น้ำโขง ที่ เป็นมรดกทางธรรมชาติอันทรงคุณค่า มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์และสลับซับซ้อน มีความสำคัญต่อวงจรชีวิตและเป็นแหล่งอาศัยและวางไข่ของ ปลา และ นก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่หาปลาของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง การทำลายแก่งเท่ากับทำลาย บ้านของปลา บ้านของนก และแหล่งอาหารของชุมชนริมฝั่งโขงทั้งสองประเทศ

2.ทำลาย แหล่งพืชพรรณบนแก่ง ริมฝั่งน้ำ และหาดแม่น้ำโขง ที่มีความสำคัญต่อการชะลอการไหลหลากของแม่น้ำโขง และเป็นอาหารสำคัญของปลาชนิดกินพืช รวมถึง “ไก” สาหร่ายแม่น้ำที่มีเฉพาะถิ่น ซึ่งอาศัยแก่งใต้น้ำบริเวณหาดเป็นแหล่งเจริญเติบโต และเป็นรายได้สำคัญของคนริมฝั่งโขงในช่วงฤดูแล้ง 3. เกิดการพังทลายของชายฝั่ง และทำลายการเดินเรือของประชาชนริมฝั่งโขงทั้งไทยและลาว

3. การระเบิดแก่งในแม่น้ำโขงออก จะทำให้เกิดกระแสน้ำที่ไหลแรงและเร็วมากขึ้น อาจจะทำให้เกิดการกัดเซาะริมตลิ่ง ซึ่งจะทำให้แม่น้ำกว้างขึ้นอีกด้วย อันจะส่งผล ให้การเดินเรือสัญจรและการทำประมงของชาวบ้านในเขตอำเภอเชียงแสน เชียงของ และเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีความยากลำบาก นอกจากนี้ โครงการดังกล่าว ได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปทำการที่กีดขวางการเดินเรือพาณิชย์ อาทิ ห้ามวางอวนจับปลาในแม่น้ำโขง ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านสองฝั่งโขง ประสบปัญหาในการประกอบอาชีพประมงเป็นอย่างมาก

ที่สำคัญ คือ การเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน เนื่องจากการปักปันเขตแดน ไทย-ลาว ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส ใช้ร่องน้ำลึกเป็นตัวชี้วัด หากมีการระเบิดแก่ง ปรับปรุงร่องน้ำ ก็จะทำให้ไทยสูญเสียดินแดนเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเหตุผลข้อนี้เอง ที่ก่อนหน้านี้ในปี 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ชะลอโครงการและให้มีการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและเสนอให้กระทรวงกลาโหมจัดทำข้อตกลงกับประเทศลาวให้แล้วเสร็จในปี 2546 และทำให้โครงการยุติมาจนปัจจุบัน

การระเบิดแก่งหินในแม่น่ำโขงตอนล่างนี้ ประเทศที่ได้รับประโยชน์เต็มที่คือ จีน เพราะจะเป็นเส้นทางขนส่งคนและสินค้าจากมณฑลยูนนาน มาขึ้นฝั่งที่อำเภอ เชขียงแสน และเชียงของของไทย ด้วยเรือที่มีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบัน4-5 เท่าตัว ในเวลาที่สั้นลง เพราะแม่น้ำโขงที่คดเคี้ยว เต็มไปด้วยเกะแก่งที่เป้นฌเขดหิน จะถูกระเบิดทำลสย เพื่อให้กลายเป็นคลองส่งน้ำขนาดใหญ่ ที่สามารถควบคุมระดับน้ำให้เหมาะสกมับการเดินเรือได้ตลอดปี โดนเขื่อนต่างๆที่จีนสร้างไว้ในแม่น้ำโขงตอนบน


กำลังโหลดความคิดเห็น