xs
xsm
sm
md
lg

“รองวิษณุ” ไฟเขียวงบลงทุนปี 60 ลง 76 จังหวัด 7,463 ล้าน 639 โครงการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เปิดงบลงทุน 76 จังหวัด วงเงิน 7,463 ล้านบาท 639 โครงการ “รองวิษณุ” ไฟเขียวจัดสรรก่อหนี้รายการงบประมาณรายจ่ายในลักษณะงบลงทุนงบรายจ่ายที่ยังไม่ได้ก่อหนี้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โคราช 343 ล้าน แม่ฮ่องสอน 226 ล้าน อุบล 276 ล้าน สามจังหวัดได้งบลงทุนสูงสุด

วันนี้ (8 ม.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (อ.ก.น.จ.) ให้ความเห็นชอบแผนการก่อหนี้รายการงบประมาณรายจ่ายในลักษณะงบลงทุนงบรายจ่ายที่ยังไม่ได้ก่อหนี้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ โครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย

กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนบน 1 จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 279,256,900 บาท ได้แก่ โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว วงเงิน 95,430,000 บาท โครงการพัฒนาระบบการผลิตและธุรกิจอาหารปลอดภัย วงเงิน 20,239,900 บาท โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน วงเงิน 34,100,000 บาท โครงการติดตามระบบตรวจวัดคุณภาพส่งแวดล้อมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 13,000,000 บาท โครงการพัฒนาลำคลองต่อเชื่อมแม่น้ำสายหลัก 111,000,000 บาท โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก 5,487,000 บาท

จ.นนทบุรี จำนวน 22 โครงการ วงเงิน 151,136,400 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างและปรับปรุงถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก งานวางท่อระบายน้ำ จ.ปทุมธานี จำนวน 11 โครงการ วงเงิน 168,456,700 บาท พบว่า มีโครงการแก้ปัญหาการจราจรเร่งด่วน โดยขยายทางผิวจราจรความกว้าง 3.50 เมตร ระยะทาง 1 กิโลเมตร และปรับปรุงผิวจราจรพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร พร้อมรื้อสะพานลอยคนข้าม รื้อย้ายศาลาที่พักผู้โดยสาร ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี วงเงิน 30,000,000 บาท โครงการศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะและการผลิตเชื้อเพลิง (RDF) เป็นระบบผลิตเชื้อเพลิงจากขยะและปุ๋ยอินทรีย์ ก่อสร้างอาคารโรงผลิต ต.บึงบา อ.หนองเสือ วงเงิน 14,928,000 บาท โครงการก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ ต.บึงบา อ.หนองเสือ วงเงิน 15,000,000 บาท โครงการก่อสร้างถนนโครงข่ายแก้ปัญหาจราจรเลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ วงเงิน 19,990,100 บาท โครงการก่อสร้างบ่อสูบน้ำ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี 34,800,000 บาท เป็นต้น

จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 166,322,000 บาท เช่น โครงการส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยว 10,500,000 บาท โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์มรดกโลก 66,070,000 บาท โครงการฟื้นฟูแหล่งน้ำ 27,974,000 บาท โครงการจัดระเบียบศูนย์จำหน่ายสินค้าหลังวัดมงคลบพิตร 1,717,000 บาท จ.สระบุรี 4 โครงการ 59,064,000 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนบน 2 จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 93,764,200 บาท มีโครงการส่งเสริมพลังงานทดแทนสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จ.ลพบุรี และ จ.สิงห์บุรี วงเงิน 13,800,000 บาท เพิ่มระบบประสิทธิภาพการขนส่งพื้นที่ จ.ชัยนาท และ จ.อ่างทอง วงเงิน 34,817,000 บาท ปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววัดธรรมมูลวรวิหาร จ.ชัยนาม และเส้นทางเสร็จประพาสต้น จ.สิงห์บุรี วงเงิน 20,292,900 บาท จ.ลพบุรี 67,155,600 บาท จ.อ่างทอง 2,010,000 บาท จ.สิงห์บุรี 99,287,600 บาท จัดกิจกรรมเมืองสิงห์บุรีน่าอยู่ 1,061,200 บาท โครงการแก้ปัญหาอุทกภัยตลิ่งทรุด 25,00,000 บาท โครงการฟื้นฟูปลาช่อน ในลำน้ำแม่ลา 1,048,900 บาท เป็นต้น

กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 209,623,800 บาท ส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงถนน จ.นครนายก จำนวน 10 โครงการ วงเงิน 142,288,400 บาท เช่น โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขุนด่านแลนด์ วงเงิน 25,000,000 บาท เส้นทางท่องเที่ยวอ่างเก็บน้ำห้วยปรือ วงเงิน 44,628,400 บาท จ.ปราจีนบุรี 12 โครงการ วงเงิน 46,178,400 บาท จ.สมุทรปราการ 11 โครงการ วงเงิน 144,955,100 บาท จ.สระแก้ว 3 โครงการ วงเงิน 40,900,000 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนล่าง 1 จำนวน 15 โครงการ วงเงิน 254,813,400 บาท เช่น โครงการก่อสร้างทางจักรยานกลุ่มทวาราวดี วงเงิน 50,000,000 บาท จ.กาญจนบุรี 7 โครงการ วงเงิน 77,626,950 บาท พบว่า มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่รอบเขตเศรษฐกิจพิเศษ วงเงิน 58,600,000 บาท โครงการเสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาคุณภาพชีวิต วงเงิน 61,848,000 บาท จ.นครปฐม 9 โครงการ วงเงิน 73,744,400 บาท จ.ราชบุรี 5 โครงการ วงเงิน 143,836,100 บาท จ.สุพรรณบุรี 26 โครงการ วงเงิน 200,265,600 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนล่าง 2 จำนวน 2 โครงการ วงวงเงิน 171050,000 บาท เป็นโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทย 69,500,000 บาท โครงการป้องกันกัดเซาะอ่าวไทย 101,550,000 บาท จ.ประจวบคีรีขันธ์ 1 โครงการ วงเงิน 10,000,000 บาท จ.เพชรบุรี 7 โครงการ 124,487,000 บาท เช่น โครงการป้องกันน้ำกัดเซาะตลิ่ง แม่น้ำ ลำคลอง 33,496,000 บาท สร้างแนวรั้วป้องกันช้างป่าแก่งกระจาน 13,926,200 บาท จ.สมุทรสงคราม 15 โครงการ 218,013,900 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 5 โครงการ วงเงิน 81,522,300 บาท เช่น โครงการพัฒนาระบบแพทย์ฉุกเฉินพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลและเกาะ จ.ชุมพร 4 โครงการ วงเงิน 30,483,300 บาท จ.นครศรีธรรมราช 5 โครงการ วงเงิน 51,536,600 บาท จ.พัทลุง 8 โครงการ วงเงิน 127,174,500 บาท พบว่า มีโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม 12,107,800 บาท จ.สุราษฎร์ธานี 8 โครงการ วงเงิน 115,724,900 บาท มีแผนพัฒนากุ้ยหลินเมืองไทย 4,033,000 บาท ปรับภูมิทัศน์บึงขุนทะเล 30,000,000 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน 9 โครงการ วงเงิน 327,649,800 บาท เช่น โครงการถนนสายประวัติศาสตร์ 39,810,700 บาท โครงการสวนเฉลิมพระเกียรติ 90 พรรษมหาราชา 49,500,000 บาท พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเกาะพีพี 49,980,500 บาท ปรับภูมิทัศน์วังนกน้ำ 25,000,000 บาท จ.กระบี่ 5 โครงการ วงเงิน 52,279,000 บาท เช่น พัฒนาแหล่งแช่น้ำพุร้อนเค็ม 15,000,000 บาท จ.ตรัง 14 โครงการ 132,943,000 บาท เช่น โครงการภูมิทัศน์วัฒนธรรมควนตำหนักจันทร์ อ.กันตัง 13,128,000 บาท โครงการสวนเฉลิมพระเกียรติ 90 พรรษามหาราชา (ระยะ 3) อ.นาโยง 26,277,000 บาท ศูนย์บริการเผาขยะพร้อมเตาเผาขยะ 15,900,000 บาท จ.พังงา 8 โครงการ 162,112,000 บาท เช่น โครงการติดตั้งทุ่นผูกเรือแบบทุ่นลอยในแหล่งท่องเที่ยว 48,257,000 บาท ปรับปรุงภูมิทัศน์ริมเรือนศูนย์ราชการใหม่ 36,000,000 บาท ซ่อมท่าเทียบเรือโล๊ะจาก 36,600,000 บาท จ.ภูเก็ต 9 โครงการ 80,195,000 บาท จ.ระนอง 12 โครงการ วงเงิน 114,251,900 บาท (พบว่า 12 โครงการของบเท่ากัน 14,463,100 บาท)

กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ 5 โครงการ วงเงิน 137,316,300 บาท มีแผนพัฒนาท่องเที่ยว 27,711,700 บาท โครงการพัฒนาเชื่อมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน - มาเลเซีย 75,715,000 บาท จ.นราธิวาส 2 โครงการ วงเงิน 21,411,900 บาท จ.ปัตตานี 3 โครงการ วงเงิน 56,417,000 บาท จ.สงขลา 80,444,500 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 11 โครงการ วงเงิน 227,016,700 บาท จ.จันทบุรี 18 โครงการ วงเงิน 135,347,000 บาท จ.ชลบุรี 7 โครงการ 79,871,800 บาท จ.ตราด 15 โครงการ 160,210,200 บาท จ.ระยอง 5 โครงการ 56,218,300 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1 จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 71,000,000 บาท จ.เลย 5 โครงการ 32,651,500 บาท จ.หนองคาย 1 โครงการ 2,700,000 บาท จ.หนองบัวลำภู 2 โครงการ วงเงิน 193,734,00 บาท จ.อุดรธานี 3 โครงการ 25,831,600 บาท จ.บึงกาฬ 5 โครงการ 51 ,856,400 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน จำนวน 6 โครงการ 141,836,000 บาท จ.นครพนม 15 โครงการ 165,925,600 บาท จ.มุกดาหาร 11 โครงการ 186,109,400 บาท จ.สกลนคร 3 โครงการ 22,461,300 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนกลาง 6 โครงการ วงเงิน 121,738,450 บาท จ.กาฬสินธุ์ 5 โครงการ 43,917,000 บาท เช่น โครงการป้องกันน้ำท่วมในเขตเศรษฐกิจ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ 26,876,000 บาท ขุดลอกหนองจาน 6,381,000 บาท จ.ขอนแก่น 6 โครงการ วงเงิน 137,386,800 บาท เช่น โครงการเพิ่มศักยภาพข้าวครบวงจร 23,028,500 บาท โครงการพืชพลังงานทดแทน 34,005,100 บาท โครงการระบบส่งน้ำไฟฟ้า 39,830,000 บาท จ.มหาสารคาม 3 โครงการ 8,946,700 บาท จ.ร้อยเอ็ด 26 โครงการ วงเงิน 225,515,000 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1 จำนวน 5 โครงการ วงเงิน 203,193,800 บาท เช่น โครงการพัฒนาแหล่งน้ำทางการเกษตร 87,000,000 บาท โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเพื่อการท่องเที่ยว วงเงิน 54,928,800 บาท โครงการะบบราง และ โลจิสติกส์ 57,872,000 บาท จ.ชัยภูมิ 1 โครงการ 2,500,000 บาท จ.นครราชสีมา 4 โครงการ 343,763,100 บาท เช่น โครงการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต 213,100,300 บาท โครงการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าการเกษตร 78,100,300 บาท โครงการพัฒนาทางคมนาคมแก้ไขความเดือดร้อนประชาชน 44,972,000 บาท จ.บุรีรัมย์ 3 โครงการ วงเงิน 169,520,000 บาท เช่น โครงการเพิ่มศักยภาพศูนย์กลางอารยธรรมขอม เขาพนมรุ้ง 39,920,000 บาท พัฒนาระบบโลจิสติกส์ 69,790,000 บาท พัฒนาระบบคมนาคม 59,810,000 บาท จ.สุรินทร์ 4 โครงการ 195,000,000 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 จำนวน 3 โครงการ วงเงิน 274,893,400 บาท จ.ยโสธร 10 โครงการ 192,241,600 บาท จ.ศรีสะเกษ 13 โครงการ 64,273,600 บาท จ.อำนาจเจริญ 12 โครงการ 125,581,300 บาท จ.อุบลราชธานี 12 โครงการ 276,441,900 บาท เช่น ก่อสร้างทางจักรยาน 22,500,000 บาท พัฒนาโครงส้ารงพื้นฐาน 132,606,000 บาท ติดระบบซีซีทีวี 7,000,000 บาท

กลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 115,142,800 บาท เช่น โครงการปรับปรุงถนนสายเลียบรถไฟ เชียงใหม่ - ลำพูน 50 ล้านบาท โครงการเมืองล้านนาน่ามอง 13,473,200 บาท ติดตั้งกล้องซีซีทีวี 36,816,000 บาท จ.เชียงใหม่ 7 โครงการ 61,608,600 บาท จ.แม่ฮ่องสอน 6 โครงการ 226,908,700 บาท จ.ลำปาง 7 โครงการ 95,907,000 บาท จ.ลำพูน 23 โครงการ 93,644,500 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 12 โครงการ วงเงิน 268,704,270 บาท จ.เชียงราย 11 โครงการ 117,147,400 บาท เช่น โครงการพัฒนาให้เชียงรายเป็นแหล่งผลิตลำไย 14,000,000 บาท โครงการพัฒนาชากาแฟพืชเฉพาะถิ่น 12,500,000 บาท พัฒนาปลานิลถิ่นล้านนาสู่สากล 22,165,700 บาท จ.น่าน 7 โครงการ วงเงิน 96,670,151 บาท จ.พะเยา 16 โครงการ วงเงิน 57,193,900 บาท จ.แพร่ 17 โครงการ 108,033,900 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนล่าง 1 จำนวน 11 โครงการ วงเงิน 293,884,000 บาท จ.พิษณุโลก จำนวน 31 โครงการ วงเงิน 169,511,500 บาท จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 28 โครงการ วงเงิน 181,069,333 บาท จ.สุโขทัย จำนวน 12 โครงการ วงเงิน 57,225,800 บาท จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 11 โครงการ 95,736,300 บาท

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 จำนวน 13 โครงการ วงเงิน 256,500,700 บาท จ.กำแพเพชร 7 โครงการ วงเงิน 109,264,000 บาท จ.นครสวรรค์ 4 โครงการวงเงิน 15,703,000 บาท จ.พิจิตร จำนวน 3 โครงการ วงเงิน 4,947,700 บาท จ.อุทัยธานี 4 โครงการ วงเงิน 29,419,000 บาท

ดูแผนการก่อหนี้รายการงบประมาณรายจ่ายในลักษณะงบลงทุนงบรายจ่ายที่ยังไม่ได้ก่อหนี้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 http://www.pad.moi.go.th/images/stories/DATA2017/January/Project612560.pdf


กำลังโหลดความคิดเห็น