กสม.ออกแถลงการณ์ จี้ “บริษัท ทุ่งคำ” ทบทวนกรณีดำเนินคดีอาญาเด็ก ม.4 กรณีเสนอผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากเหมืองแร่ทองคำ ชี้สังคมไม่ได้ประโยชน์ ซ้ำกระทบต่อพัฒนาการด้านจิตใจเด็ก
วันนี้ (23 ธ.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยต่อกรณี เด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นำเสนอการออกค่ายของกลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิดเจ้าของ ตอนนักสืบลำน้ำฮวยแท้ๆ แน๊ว ซึ่งรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในฐานะนักข่าวพลเมือง ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จนเป็นเหตุให้บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำซึ่งได้รับประทานบัตรทำเหมืองทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย ดำเนินคดีอาญาต่อเด็กในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยเห็นว่า การดำเนินคดีอาญาที่มีสาเหตุมาจากการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยหากปรากฏว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยด้วยความบริสุทธิ์ใจ และมีจิตสำนึกที่รักชุมชนสังคม ดูแลและปกป้องชุมชนของตนเองในฐานะพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เด็กมีความห่วงใยในผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชนของตนถือเป็นสิ่งดีและควรสนับสนุน แต่ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอาจไม่รอบด้าน เพียงพอ และครอบคลุมทุกมิติในการนำเสนอข่าว ประกอบกับข้อจำกัดทางวัยวุฒิและคุณวุฒิของเด็ก
ดังนั้น เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เคารพสิทธิมนุษยชน กสม.จึงขอให้องค์กรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่สร้างความเข้าใจต่อสังคม กรณีใช้สิทธิในการมีส่วนร่วม และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและเป็นอิสระของเด็กต้องได้รับความคุ้มครอง ทั้งตามหลักรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแล้วซึ่งกำหนดสาระสำคัญว่า รัฐภาคีจะต้องให้หลักประกันแก่เด็กซึ่งสามารถมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นโดยเสรีในทุกๆ เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก และเด็กมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก สิทธินี้จะรวมเสรีภาพที่จะแสวงหา ได้รับ หรือถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร และความคิดทุกลักษณะโดยไม่ถูกจำกัดโดยเขตแดน แม้จะมีข้อจำกัดการใช้สิทธิบางประการในการใช้สิทธิ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องนำหลักการสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจตามกรอบงานขององค์การสหประชาชาติในการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา เพื่อกำหนดให้องค์กรธุรกิจมีนโยบายและกระบวนการที่เหมาะสมกับขนาดและสภาพแวดล้อมขององค์กรธุรกิจ และนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินการใดๆ
ทั้งนี้ เป็นไปตามความรับผิดชอบของภาคธุรกิจในการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน และขอให้บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ทบทวนการดำเนินคดีอาญาต่อเด็ก โดยให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ เนื่องจากการดำเนินคดีอาญาต่อเด็ก จะไม่เกิดประโยชน์ใดแก่สังคม และทุกภาคส่วน แต่กลับจะส่งผลกระทบต่อการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจของเด็ก ทั้งยังอาจส่งผลต่อการศึกษาและพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะทางจิตใจ โดยทุกฝ่ายควรหาทางออกร่วมกันด้วยการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
วันนี้ (23 ธ.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยต่อกรณี เด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นำเสนอการออกค่ายของกลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิดเจ้าของ ตอนนักสืบลำน้ำฮวยแท้ๆ แน๊ว ซึ่งรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในฐานะนักข่าวพลเมือง ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จนเป็นเหตุให้บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำซึ่งได้รับประทานบัตรทำเหมืองทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย ดำเนินคดีอาญาต่อเด็กในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยเห็นว่า การดำเนินคดีอาญาที่มีสาเหตุมาจากการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยหากปรากฏว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยด้วยความบริสุทธิ์ใจ และมีจิตสำนึกที่รักชุมชนสังคม ดูแลและปกป้องชุมชนของตนเองในฐานะพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เด็กมีความห่วงใยในผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชนของตนถือเป็นสิ่งดีและควรสนับสนุน แต่ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอาจไม่รอบด้าน เพียงพอ และครอบคลุมทุกมิติในการนำเสนอข่าว ประกอบกับข้อจำกัดทางวัยวุฒิและคุณวุฒิของเด็ก
ดังนั้น เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เคารพสิทธิมนุษยชน กสม.จึงขอให้องค์กรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่สร้างความเข้าใจต่อสังคม กรณีใช้สิทธิในการมีส่วนร่วม และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและเป็นอิสระของเด็กต้องได้รับความคุ้มครอง ทั้งตามหลักรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแล้วซึ่งกำหนดสาระสำคัญว่า รัฐภาคีจะต้องให้หลักประกันแก่เด็กซึ่งสามารถมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นโดยเสรีในทุกๆ เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก และเด็กมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก สิทธินี้จะรวมเสรีภาพที่จะแสวงหา ได้รับ หรือถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร และความคิดทุกลักษณะโดยไม่ถูกจำกัดโดยเขตแดน แม้จะมีข้อจำกัดการใช้สิทธิบางประการในการใช้สิทธิ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องนำหลักการสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจตามกรอบงานขององค์การสหประชาชาติในการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา เพื่อกำหนดให้องค์กรธุรกิจมีนโยบายและกระบวนการที่เหมาะสมกับขนาดและสภาพแวดล้อมขององค์กรธุรกิจ และนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินการใดๆ
ทั้งนี้ เป็นไปตามความรับผิดชอบของภาคธุรกิจในการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน และขอให้บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ทบทวนการดำเนินคดีอาญาต่อเด็ก โดยให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ เนื่องจากการดำเนินคดีอาญาต่อเด็ก จะไม่เกิดประโยชน์ใดแก่สังคม และทุกภาคส่วน แต่กลับจะส่งผลกระทบต่อการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจของเด็ก ทั้งยังอาจส่งผลต่อการศึกษาและพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะทางจิตใจ โดยทุกฝ่ายควรหาทางออกร่วมกันด้วยการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ