“ธนาคารแห่งประเทศไทย” ประกาศ 15 วันหยุด-ชดเชยตามประเพณีของสถาบันการเงิน ปี 2559 ระบุเป็นไปตามประเพณีไทย ส่วนพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ให้หยุดในวันตรุษจีน วันตรุษอีดิ้ลฟิตรี (วันรายอปอซอ) และวันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา (วันรายอฮัจยี) ตามประกาศสํานักจุฬาราชมนตรี
วันนี้ (21 ก.ค.) มีรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องวันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจําปี 2559 ดังนี้
“๑. เหตุผลในการออกประกาศเพื่อกําหนดวันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. อํานาจตามกฎหมายอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. ขอบเขตการบังคับใช้ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
๔. วันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกอบด้วย ๑. วันศุกร์ ๑ มกราคม วันขึ้นปีใหม่ ๒. วันจันทร์ ๒๒ กุมภาพันธ์ วันมาฆบูชา ๓. วันพุธ ๖ เมษายน วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชและวันที่ระลึก มหาจักรีบรมราชวงศ์ ๔. วันพุธ ๑๓ เมษายน วันสงกรานต์ ๕. วันพฤหัสบดี ๑๔ เมษายน วันสงกรานต์ ๖. วันศุกร์ ๑๕ เมษายน วันสงกรานต์ ๗. วันจันทร์ ๒ พฤษภาคม วันหยุดชดเชยวันแรงงานแห่งชาติ(วันอาทิตย์ที่ ๑ พฤษภาคม)
๘. วันพฤหัสบดี ๕ พฤษภาคม วันฉัตรมงคล ๙. วันศุกร์ ๒๐ พฤษภาคม วันวิสาขบูชา ๑๐. วันศุกร์ ๑ กรกฎาคม วันหยุดภาคครึ่งปี ๑๑. วันอังคาร ๑๙ กรกฎาคม วันอาสาฬหบูชา ๑๒. วันศุกร์ ๑๒ สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ๑๓. วันจันทร์ ๒๔ ตุลาคม วันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช
(วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม) ๑๔. วันจันทร์ ๕ ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๑๕. วันจันทร์ ๑๒ ธันวาคม วันหยุดชดเชยวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ (วันเสาร์ที่ ๑๐ ธันวาคม)
สําหรับสถาบันการเงินในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และ จังหวัดสงขลา ให้หยุดในวันตรุษจีน วันตรุษอีดิ้ลฟิตรี (วันรายอปอซอ) และวันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา (วันรายอฮัจยี) ตามประกาศสํานักจุฬาราชมนตรี หากวันตรุษดังกล่าวไม่ตรงกับวันหยุดตามที่กล่าวข้างต้น หรือวันหยุดประจําสัปดาห์
๔. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย”