xs
xsm
sm
md
lg

วิกฤตหนี้กรีซ ยังไม่จบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ลุกขึ้นแจงระหว่างศึกอภิปรายข้อตกลงช่วยเหลือตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้นานาชาติ ก่อนที่รัฐสภาจะมีมติเห็นชอบด้วยคะแนน 229 ต่อ 64 เสียงและงดออกเสียง 6 คน
สภาผู้แทนราษฎร กรีซ ลงมติ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา เห็นชอบมาตรการรัดเข็มขัด ของเจ้าหนี้ แลกกับเงินกู้ 86 พันล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือกรีซให้พ้นจากวิกฤติหนี้ มาตรการที่ว่านี้ หลักๆแล้วประกอบด้วย การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกเลิกการลดภาษี 30 % ให้กับเกาะ การยืดอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 67 ปี ในปี 2022 ฯลฯ

คนกรีกเพิ่งจะลงประชามติ ไม่เอากับมาตรการรัดเข็ดขัดของเจ้าหนี้ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม แต่ ในการประชุมสุดยอดผู้นำยูโรโซน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กค. เพื่อพิจารณาคำขอกู้เงินรอบ ที่ 3 ของ กรีซ เสียงของขาวกรีซ 61 % ที่ไปลงคะแนนไม่เอามาตรการของเจ้าหนี้ ไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะมันยังคงเป็นเงื่อนไขหลัก ที่เจ้าหนี้ต้องการให้กรีซทำตาม แลกกับเงินกู้ก้อนใหม่

ที่หนักหนามากขึ้นกว่าการเจรจาก่อนหน้านี้คือ คราวนี้ ประเทศเจ้าหนี้ ซึ่งมีเยอรมัน ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่เป็นผู้นำ กำหนดเงื่อนไขให้ กรีซโอนทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ ให้มาอยู่ภายใต้กองทุนซึ่งตั้งขึ้นใหม่ ที่จะทำหน้าที่ขายทรัพย์สิน เพื่อนำเงินมาชำระหนี้

กองทุนนี้ แม้ว่า จะบริหารโดยรัฐบาลกรีซ แต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประเทศเจ้าหนี้ นี่ก็คือ การบังคับให้ กรีซ แปรรูปรัฐสาหกิจ ตามคำสั่งของประเทศเจ้าหนี้

เพื่อป้องกันไม่ให้ รัฐบาลกรีซเบี้ยว และเพื่อไม่ให้มีการอ้างประชามติในภายหลัง ประเทศเจ้าหนี้จึงให้ นายอเล็กซีส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ นำมาตรการรัดเข็มขัด นี้ เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติ เห็นชอบเสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยมาตั้งโต๊ะเจรจากันต่อไปว่า เงินกู้รอบที่ 3 ที่กรีซต้องการนั้น จะตกลงดำเนินการกันอย่างไร

ตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งกรีซเริ่มมีปัญหา กลุ่ม “ สามประสาน “ หรือ Troika อันได้แก่ คณะกรรมาธิการอียู ธนาคารกลางอียู และไอเอ็มเอฟ ได้ อัดฉีดเงินเพื่ออุ้มกรีซไปแล้ว 2 ครั้ง รวมเป็นยอดหนี้สูงถึง 320 พันล้านยูโร ( สามแสนสองหมื่นล้านยูโร) แต่กรีซก็ไม่ฟื้น กลับย่ำแย่ลงกว่าเดิม เศรษฐกิจหดตัวลงไปถึง 25 % ในรอบ 5 ปี ตั้งแต่เกิดวิกฤติจนถึงปัจจุบัน เพราะเงื่อนไขที่มาพร้อมกับเงินกู้ บีบบังคับให้รัฐบาลกรีซ ตัดค่าใช้จ่าย ขึ้นภาษี เพื่อให้มีเงินชำระหนี้คืน เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ คนว่างงานเป็นจำนวนมาก

แต่สาเหตุสำคัญน่าจะมาจาก ปัญหาของกรีซเอง ที่ไม่ตั้งใจ จริงจัง กับการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เข้มข็ง เมื่อถึงเวลาใช้หนี้คืน จึงไม่มีเงินไปชำระหนี้ กรีซผิดนัดชำระหนี้ ไอเอ็มเอฟ 1.5 พันล้านยูโร ซึ่งถึงกำหนดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ขณะเดียวกัน กองทุนการเงินเพื่อเสถียรภาพยุโรป หรือ EFSF ( European financial stability facility) ซึ่งเป็นกลไกให้เงินกู้ประเทศสมาชิกยูโร ปฏิเสธไม่ให้เงินกู้ที่ยังค้างอยู่แก่กรีซ โดยอ้างว่า รัฐบาลกรีซ ของนายกรัฐมนตรี อเล็กซีส ซีปราส ไม่ยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้ ส่งผลให้ กรีซต้องปิดธนาคาร เพราะไม่มีเงินสดพอที่จะจ่ายให้ผู้ฝากเงินที่แห่กันมาถอนเงิน มีการ “ ปันส่วน” ให้ประชาชนถอนเงินสดจาเอทีเอ็มได้สัปดาห์ละ 120 ยูโรเท่านั้น และ รัฐบาลควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน

ในสถานการณ์ที่ ธนาคารปิดทำการไปแล้ว สองสัปดาห์ และยังไม่มีกำหนดว่าจะเปิดได้เมือ่ไร เพราะไม่มีเงิน หากปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยิ้อไปกว่านี้ สิง่ที่จะเกิดขึ้นคือ การพังทลายของระบบการเงินชนิดที่ไม่สามารถกอบกู้คืนมาได้ นายซีปราส ซึ่งหวังจะใช้เสียงประชาชนมาต่อรองกับเจ้ากนี้ ไม่สามารถปฏิเสธความจริงของชีวิตได้ ต้องยอมศิโรรายให้กับเจ้าหนี้แบบไร้ข้อต่อรอง

เมื่อกรีซ ทำตามเงื่อนไขเบื้องต้นของเจ้าหนี้คือ สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบกับมาตรการรัดเข็มขัด ปฏิรูปเศรษฐกิจแล้ว ต่อจากนี้ไป ก็เป็นภาระของประเทศเจ้าหนี้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป แรงกดดันที่มีต่อนายซีปราส ถูกโยนกลับไปให้กับฝ่ายเจ้าหนี้แบกรับแทน

ในเมื่อลูกหนี้ยอมตามข้อเรียกร้องของเจ้าหนี้ทุกอย่าง ถึงเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องทำตามที่รับปากไว้ หากยังขืนชักช้า ตั้งแง่ ไม่ยอมปล่อยเงินให้กรีซ ทำให้ธนาคารยังเปิดไม่ได้ ประชาชนต้องไปเข้าคิวถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม ย่อมไม่พ้นที่เจ้าหนี้จะถูกประณามว่า ไม่ทำตามพันธะสัญญาที่มีต่อลูกหนี้

ในหมู่เจ้าหนี้เอง ก็มีความเห็นที่แตกต่างกัน นอกจาก เยอรมัน กับฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในกลุ่มยูโร จะคิดไม่เหมือนกันแล้ว ไอเอ็มเอฟ หนึ่งในสามเจ้าหนี้ ในกลุ่ม สามประสาน ก็แสดงท่าทีอย่างเป็นทางการว่า ไม่เห็นด้วยกับ แผนการแก้ไขปัญหาของยูโร โดยไอเอ็มเอฟเสนอว่า ควรจะลดหนี้ ให้กรีซ เพราะมูลหนี้ที่สูงถึง 3 แสนล้านยุโร เป็นภาระที่หนักอึ้ง และทำให้การฟิ้นฟูเศรษฐกิจเป็นไปไม่ได้เลย ในขณะที่เยอรมัน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด ยืนยันมาโดยตลอดว่า ไม่ยอมลดหนี้ให้

วิกฤตหนี้กรีซ ยังไม่จบลงเพียงเท่านี้


เหล่าผู้ประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดที่อยู่ในอารมณ์เดือดดาล ขว้างปาระเบิดเพลิงด้านหน้าอาคารรัฐสภากรีซในวันพุธ(15ก.ค.) ท่ามกลางความโกรธแค้นต่อข้อตกลงเงินกู้รอบใหม่ตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศที่ทะลักลงสู่ท้องถนนสายต่างๆของเมืองหลวง
เหล่าผู้ประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดที่อยู่ในอารมณ์เดือดดาล ขว้างปาระเบิดเพลิงด้านหน้าอาคารรัฐสภากรีซในวันพุธ(15ก.ค.) ท่ามกลางความโกรธแค้นต่อข้อตกลงเงินกู้รอบใหม่ตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศที่ทะลักลงสู่ท้องถนนสายต่างๆของเมืองหลวง
เหล่าผู้ประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดที่อยู่ในอารมณ์เดือดดาล ขว้างปาระเบิดเพลิงด้านหน้าอาคารรัฐสภากรีซในวันพุธ(15ก.ค.) ท่ามกลางความโกรธแค้นต่อข้อตกลงเงินกู้รอบใหม่ตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศที่ทะลักลงสู่ท้องถนนสายต่างๆของเมืองหลวง
เหล่าผู้ประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดที่อยู่ในอารมณ์เดือดดาล ขว้างปาระเบิดเพลิงด้านหน้าอาคารรัฐสภากรีซในวันพุธ(15ก.ค.) ท่ามกลางความโกรธแค้นต่อข้อตกลงเงินกู้รอบใหม่ตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศที่ทะลักลงสู่ท้องถนนสายต่างๆของเมืองหลวง
กำลังโหลดความคิดเห็น