กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง รวมตัวยื่นหนังสือ “ประยุทธ์” ขอเร่งช่วยแก้ราคาตกต่ำ แนะให้มีโครงการรักษาเสถียรภาพราคา เสริมสภาพคล่องผู้ส่งออก แก้โรคกุ้งตาย ขอให้ดูแลสินค้าเป็นพิเศษ ดันกุ้งเป็นวาระแห่งชาติ
วันนี้ (29 เม.ย.) ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย และนายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย และนายมานิตย์ จิตรชุ่ม นายกสมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วน หลังประสบวิกฤตปัญหาการเลี้ยงกุ้งและปัญหาราคากุ้งตกต่ำ โดยมีข้อเสนอ 4 ข้อ คือ 1. ขอให้มีโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไมฯ ปี 2558 เพื่อแก้ไขวิกฤติปัญหาราคากุ้งตกต่ำโดยให้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) กระทรวงพาณิชย์ อนุมัติงบประมาณเข้าแทรกแซงราคา โดยให้รัฐรับชดเชยราคาส่วนต่างและเริ่มโดยเร็วที่สุดภายใน 1 เดือน 2. ให้เสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ส่งออกทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นให้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยพิเศษ ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ รวมถึงส่งเสริมการส่งออก 3. ช่วยแก้ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน ให้กรมประมงแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาวิธีการจัดการเลี้ยงที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ และ 4. ขอให้กุ้งและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกุ้ง เป็นสินค้าที่ได้รับการดูแลพิเศษจากภาครัฐและให้บรรจุเรื่องกุ้งเป็นวาระแห่งชาติ ผ่านนายสาธิต สุทธิเสริม นิติกรชำนาญการ ศูนย์บริการประชาชน โดยนายสุทธิเสริมกล่าวว่า เมื่อรับเรื่องดังกล่าวแล้วก็จะส่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการต่อไป
วันนี้ (29 เม.ย.) ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย และนายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย และนายมานิตย์ จิตรชุ่ม นายกสมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วน หลังประสบวิกฤตปัญหาการเลี้ยงกุ้งและปัญหาราคากุ้งตกต่ำ โดยมีข้อเสนอ 4 ข้อ คือ 1. ขอให้มีโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไมฯ ปี 2558 เพื่อแก้ไขวิกฤติปัญหาราคากุ้งตกต่ำโดยให้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) กระทรวงพาณิชย์ อนุมัติงบประมาณเข้าแทรกแซงราคา โดยให้รัฐรับชดเชยราคาส่วนต่างและเริ่มโดยเร็วที่สุดภายใน 1 เดือน 2. ให้เสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ส่งออกทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นให้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยพิเศษ ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ รวมถึงส่งเสริมการส่งออก 3. ช่วยแก้ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน ให้กรมประมงแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาวิธีการจัดการเลี้ยงที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ และ 4. ขอให้กุ้งและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกุ้ง เป็นสินค้าที่ได้รับการดูแลพิเศษจากภาครัฐและให้บรรจุเรื่องกุ้งเป็นวาระแห่งชาติ ผ่านนายสาธิต สุทธิเสริม นิติกรชำนาญการ ศูนย์บริการประชาชน โดยนายสุทธิเสริมกล่าวว่า เมื่อรับเรื่องดังกล่าวแล้วก็จะส่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการต่อไป